Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การค้ากับการขนส่งระหว่างประเทศ, Screenshot 2022-08-23 091716,…
บทที่ 1 การค้ากับการขนส่งระหว่างประเทศ
1.1 การขนส่งกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้า
การขนส่งนั้นถือว่ามีความเฉพาะ เนื่องจากการขนส่งไม่เพียงเป็นกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจที่ขาดมิได้ การขนส่ง ยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมด้านการขนส่งและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า สายการบิน สายเรือ บริษัทรถบรรทุก รถไฟ
ระบบการขนส่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการผลิตและกระจายสินค้า ทั้งการผลิตขนาดใหญ่และการ
กระจายสินค้าจำนวนมากที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งสองไม่อาจจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพหากปราศจากการขนส่งที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพ
1.2 การขนส่งและราคา
เป็นต้นทุนของการผลิตสินค้า
เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแข่งขันของตลาดสินค้านั้นขึ้น
1.3 การขนส่งระหว่างประเทศ
อุปสงค์การขนส่งระหว่างประเทศเป็นอุปสงค์ที่เกี่ยวเนื่องจากการที่มีความต้องการบริโภคสินค้าในประเทศหนึ่งและมีการผลิตสินค้าในอีกประเทศหนึ่ง การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงวัตถุดิบหรือสินค้าได้
การจัดการการขนส่งระหว่างประเทศมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการบริหารจัดการขนส่งภายในประเทศ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
สกุลเงิน
ภาษา
ระบบเศรษฐกิจ
ระยะทาง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.4 รูปแบบการค้าโลกกับการขนส่ง
1
ปัจจัยการผลิตเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
ค.ศ.1970 - 1979 เป็นช่วงที่แต่ละประเทศมีกฏระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศทั้งที่อยู่ในรูปแบบของการกำหนดโควตา กำแพงภาษี และที่ไม่ใช่อัตราภาษี
2
ปัจจัยการผลิตมีการเคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้น
ค.ศ.1980 - 1989 เป็นช่วงที่ปัจจัยการผลิตมีการเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงแรก เช่น การไหลของเงินทุกมีความคล่องตัวและสะดวกมากขึ้น
3 การใช้เครือข่ายการผลิตโลก
ค.ศ.1990 - 1999 เป็นช่วงแห่งการเติปโตของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น
1.5 ห่วงโซ่การค้าระหว่างประเทศ
ห่วงโซ่สินค้าที่ถูกขับเคลื่อนโดยผู้ผลิต
เป็นแกนกลางในการประสานเครือข่ายการผลิต
ห่วงโซ่สินค้าที่ถูกขับเคลื่อนโดยผู้ซื้อ เป็นผู้มีบทบาทหลักในการกระจายการผลิตไปในเครือข่ายต่างประเทศ
แนวคิดห่วงโซ่สินค้าโลก
หรือ Global Commodity Chains (GCC) เป็นเครือข่ายของแรงงานและกระบวนการต่างๆ ขององค์กรที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรและทำการเปลี่ยนทรัพยากรเหล่านี้ไปเป็นสินค้าสำเร็จรุป
นางสาวชนากานต์ หมื่นจำเริญ 13 116310509496-0 Sec C