Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
นายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
นายจ้าง ลูกจ้างนั้นหมายถึง บุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันนธ์กัน
มาตรา 575 มีความว่า อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตาม มาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
อุทาหรณ์
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นการละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบ
ลูกจ้างทำการละเมิดในทางที่จ้าง
การกระทำละเมิดนั้นต้องเกิดในทางการที่นายจ้าง นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะลักษณะละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะก่อขึ้นแก่ผู้ใด หากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วก็ไม่ต้องร่วมรับผิด
อุทาหรณ์
ข เป็นลูกจ้างของ ก มีหน้าที่ซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีผู้มาจ้าง ก ซ่อมโดยประมาทเลินเล่อขณะที่ทำการซ่อมตามหน้าที่ ข ทำเครื่องรับโทรทัศน์ของลูกค้าของ ก เสียหาย ก ต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าด้วย
หลักกฎหมายทั่วไปว่า ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง แต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แก่การกระทำในทางการที่จ้าง ซึ้งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำแต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน เช่นขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วย จนเกิดชนคนข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ เป็นต้า
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดเชยจกาลูกจ้างนั้น
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
นายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้น นายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าจนกว่านี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง
อุทาหรณ์ ฎ.648/2522 ลูกจ้างทำการละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใข่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน เหตุที่ตัวแทนไม่ใช้ลูกจ้าง โดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดเเต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลของการละเมิดที่ตัวเเทนอาจก่อขึ้น
ตัวเเทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งเเละเป็นเอกเทศสัญญา เช่นเดียวกับจ้างเเรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างรายจ้าง เช่น เป็นเเต่การใช้หรือวานคนรู้จักกันให้ขับรถยนต์พาภริยาไปซื้อของ ดังนี้มิใช่เป็นการตั้งตัวเเทนเพราะมิใช่เป็นกิจการ
ความรับผิดของตัวการ เหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตเเห่งการปฎิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวเเทนได้ทำการเป็นตัวเเทน
เป็ฯตัวเเทนในการซื้อรถยนต์ ก็ย่อมมีอำนาจทำการใดที่จะให้ได้รถยนต์นั้นมาเป็นของตัวการ เช่น จ้างคนขับรถมาส่งให้เเก่ตัวการเป็นต้น
ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่ผู้ทำละเมิดได้ขับรถยนต์คันเกืดเหจุโดยได้รับความยินยอม จากเจ้าหน้าที่วิทยาลัยการปกครอง ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า วิทยาลัยต้องรับผิดในผลเเห่งละเมิดต้วยมาตรา427 เพราะเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยเป็นตัวเเทนของวิทยาลัย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา427 บัญญัติในมาตรา 426 มาใช้บังคับเเก่ตัวการโดนอนุโลม เมื่อตัวการได้ใช่ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวเเทนทำไปนั้นก็ชอบที่จะไดเชดใช้จากตัวเเทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดชอบในการกระทำของบุคคลอื่น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างทำของเป็นเป็นความรับผิดชอบในการกระทำของบุคคลอื่นหรือไม่
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงว่าจ้างผู้เป็นผู้ผิด 2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า ความเสียกาย หาได้ใช้คำว่ากระทำละเมิดหรือละเมิดอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 429 เเละ 430 ไม่โดยที่ความเสียหายที่่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิดเเต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิเพราะได้มีส่วนผิด ที่เห็นได้ชัดว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น
หลักความรับผิดชอบของผู็ว่าจ้าง มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธฺควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็ฯงานของผู็รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างกับลูกจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างเเรงงาน
มาตรา 428 บัญญัติไว้ว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นเเก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นเเต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหารับผู้รับจ้าง
มาตรานี้เราจะเห็นได้ว่า โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหานที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นเเก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลการกระทำมาจากผู้รับจ้าง
อุทาหรณ์ ฎ 1982/2522 จำเลยจ้าง พ ไปยึดรถของจำเลยคืน พ ไปจ้าง ธ ไปยึดอีกต่อหนึ่งความสำเร็จของงานเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญา สัญญาระหว่างจำเลยกับ พ เป็นจ้างของจำเลยกับ ธ ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ธ ขับรถมาส่ง พ ระหว่างทางได้ชนรถของโจทก์เสียหาย จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
อุทาหรณ์ ฎ.457/2514 ไม่ว่าจะปรากฏผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างดอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
1.บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือคนวิกลจริตในผลที่ตนทำเป็นละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลย่อมรับผิดร่วมกับเขาด้วย
2.ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์หรือชั่วคราวต้องรับผิดร่วมกับคนไร้ความสามารถในการทำละเมิด
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนท าละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น
อุทาหรณ์เกี่ยวกับความระมัดมะวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ฎ.847/2498 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึงแล้วสั่งให้ ก ให้เก็บปืนไว้เฉยๆ มิได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์ออกไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก แล้วยิ่งบุตรโจกท์ตาย เรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า“ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ความรับผิดตามมาตรา 430 ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 4229 ที่ว่ามาตรา 429 บัญญัติ ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความรับผิดแต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช่ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล
อุทาหรณ์กรณีเดียวดับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลที่ทำอยู่ ฎ.356/2511 (เป็นฎีกาเดียวกับที่กล่าวมาแล้วเดี่ยวกับมาตรา 429 ) ในตอนเช้า ครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนั่งเรียนเอากระบอกพลุมาเล่นกันเกรงว่าจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กมิให้เล่นอีกต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียน ถือว่าได้ใช้ความสมความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
อุทาหรณ์ ฎ.1315/2520 บิดาเคยใช่บุตรขับขี่รถจักยานยนต์ำปซื้อของและทำธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว บิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบัตรตามมาตรา 429