Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Bacterial Meningitis with Septic Shock 13FF8886-BCA0-49DD-9520…
Bacterial Meningitis
with Septic Shock
Meningitis
หมายถึง โรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
พยาธิสภาพ
พยาธิกำเนิดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกิดจากการได้รับเชื้อก่อโรคเข้าสู่subarachnoid space ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายทาง ได้แก่ การรับเชื้อจากกระแสเลือดโดยที่มีแหล่งติดเชื้อที่ร่างกายส่วนอื่นก่อน การลุกลามเข้ามาจากการอักเสบของอวัยวะข้างเคียงบริเวณศีรษะ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และการรับเชื้อก่อโรคโดยตรงจากภายนอกเข้าสู่ subarachnoid space เช่น ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดสมองแล้วเกิดการติดเชื้อในภายหลัง ผู้ป่วยที่มีอุบัติเหตุบริเวณศีรษะแล้วมีการแตกที่ฐานของกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดกระบวนการอักเสบในร่างกาย ซึ่ง กระบวนการอักเสบจัดเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งที่จะทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ผลของการอักเสบจะทำให้เกิดการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคออกไปนอกจากนี้ยังกำจัดเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บหรือตายจากการเข้ามาของสิ่งแปลกปลอมดังกล่าว หากไม่มีกระบวนการอักเสบเกิดขึ้น ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไปได้ เนื้อเยื่อจะเกิดการบาดเจ็บโดยที่ไม่มีการซ่อมแซม ทำให้การทำงานของเนื้อเยื่อนั้นๆ ผิดปกติไป
สาเหตุ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดมีหนอง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอกกัส สเตรปโตคอคคัส อีโคไล และเมนิงโกคอคคัส มักเกิดอาการเฉียบพลันทันทีและมีความรุนแรงเป็นอันตราย ในเวลารวดเร็ว เชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากแหล่งติดเชื้อที่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ปอดอักเสบ คออักเสบ ผ่านกระแสเลือดมาที่เยื่อหุ้มสมอง
ผู้ป่วยมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ( Bacterial meningitis )
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปในร่างกาย แล้วทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อที่พบบ่อย คือ Meningococci (Neisseria meningitis), Pneumococci (Streptococcus pneumonia) และ Hemophilus influenza. โดยพบมีการติดเชื้อในร่างกาย มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง มีพยาธิสภาพในระบบต่าง ๆ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค เกิดจากเชื้อวัณโรค มักแพร่กระจายจากปอดหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาที่เยื่อหุ้มสมองโคยผ่านทางกระแสเลือด อาการค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรง จึงทำให้มีอันตรายและ พิการค่อนข้างสูง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบมากในเค็กอายุ 1-5 ปี
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส เกิดจากเชื้อคางทูม เชื้อเอนเทอโรไวรัส เชื้อโรคจะแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด จะมีการอักเสบของสมองร่วมกับเยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา ที่พบบ่อยมีสาเหตุจากเชื้อคริปโตคอคคัส ซึ่งพบในอุจจาระของนกพิราบ ไก่ และพื้นดิน เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าทางปอด ผ่านกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง อาการค่อยๆเกิดอย่างช้าๆ มักพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ ที่พบบ่อยได้แก่ ตัวจี๊ดและพยาธิแองจิโอ โรคอาจมีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง ถ้ามีเลือดคั่งในสมองหรือสมองส่วนสำคัญถูกทำลาย อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ถ้าอาการ ไม่รุนแรงจะหาย
ปัจจัยเสี่ยง
เป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็ก (โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี), ผู้สูงอายุ (โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป), ผู้ติดสุรา, ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว (เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เอสแอลอี มะเร็ง โรคเอดส์)
เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดม้าม เช่น การผ่าตัดม้ามเพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมีย เพราะม้ามเป็นอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้กับร่างกาย
เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เช่น ในผู้ป่วยทางเดินน้ำไขสันหลังอุดตันจากมะเร็งที่ต้องผ่าตัดระบายน้ำไขสันหลังเข้าสู่ช่องท้อง จึงทำให้เชื้อโรคจากช่องท้องเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองและสมองจากทางระบายนี้ได้ง่าย
เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบหรือหูน้ำหนวก) หรือไซนัส (ไซนัสอักเสบ) เรื้อรัง
การอยู่ร่วมกันอย่างแออัด
อาการและอาการแสดง
อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะแรกเริ่มอาจคล้ายคลึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยจะแสดงอาการมากขึ้นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมงหรือเป็นเวลา 2-3 วันแล้ว อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
คอแข็ง มีอาการสับสน ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ ง่วงซึม หรือเรียกตื่นยาก
ชัก ตาไม่สู้แสง หรือสู้แสงได้น่อย
ผู้ป่วยมีอาการคอแข็งเกร็ง ความรู้สึกตัวลดลง มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนพุ่ง สับสน ซึ่งเป็นอาการของภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายดูอาการของการติดเชื้อรอบ ๆ ศีรษะ ใบหู ลำคอ และผิวหนังตามแนวกระดูกสันหลัง และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น CBC เพื่อตรวจดูภาวะติดเชื้อ
การตรวจดูอาการทางระบบประสาทต่าง ๆ เช่น อาการคอแข็ง หรือระดับสติสัมปชัญญะ แต่การตรวจที่สำคัญ คือ การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) จะมี ความดันน้ำไขสันหลังสูงกว่าปกติ น้ำไขสันหลังขุ่น (ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดเป็นหนอง) มีการเปลี่ยนแปลงชองระดับน้ำตาลและโปรตีน มีการเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณของเม็ดเลือดขาว ตรวจพบเชื้อก่อโรคจากการนำน้ำไขสันหลังไปตรวจย้อมสีหรือเพาะเชื้อ การตรวจหาเชื้อโดยวิธี poly- merase chain reaction (PCR)
การถ่ายภาพสมองที่อาจมีอาการบวมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพรังสีบริเวณปอดหรือไซนัสเพื่อตรวจดูการติดเชื้อในบริเวณอื่นที่อาจเกี่ยวเนื่องกับเนื่อหุ้มสมองอักเสบ
5.การตรวจอื่นๆ สามารถช่วยในการหา เชื้อที่เป็นสาเหตุได้ เช่น การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การเพาะเชื้อจากสารในในร่างกาย (body fluid) หรือการเพาะเชื้อจากเลือด
ผู้ป่วยได้รับการตรวจ : ประเมินสภาพร่างกาย ตรวจ CBC,BUN,Cr,LFT,Electrolyte, และตรวจ CT Brain with contrast, ส่งตรวจCSF , Gram stain,AFB Stain
การรักษา
การรักษาเฉพาะด้วยยาปฏิชีวนะ เลือกชนิดยาที่เหมาะสม หลักการที่สำคัญ คือ ยาที่ใช้ต้องมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโดยตรงสามารถผ่านเข้าสู่น้ำไขสันหลังในระดับที่สูงพอที่จะกำจัดเชื้อได้ดีและรวดเร็ว มีผลข้างเคียงน้อยเนื่องจากต้องใช้ยาขนาดที่สูงกว่าปกติและเป็นเวลานาน
การรักษาประดับประคอง ได้แก่
2.1. ดูแลสัญญาณชีพให้ปกติ ควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ให้ไข้สูง
2.2. ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ดูดเสมหะและให้ออกซิเจนเพียงพอ
2.3. ให้สารน้ำและเกลือแร่อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
2.4. ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวพิจารณาให้อาหารทางสายยาง
การรักษาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
3.1. อาการชัก ควรฉีดยาไดอะซีแพมเข้าทางหลอดเลือดคำช้าๆและต้องควบคุมอาการชักด้วยยากันชักชนิดอื่นๆที่เหมาะสม
3.2.ภาวะใต้ชั้นดูราบวม (subdural effusion) และหนองใต้ชั้นดูรา (subdural empyema) ควรเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อระบายน้ำออกบ่อยๆ อาจต้องผ่าตัดทำท่อระบายน้ำออกเพื่อป้องกันความพิการทางสมองหรือต้องผ่าตัดกะโหลกศีษะเพื่อล้างหนองออก
ผู้ป่วยได้รับยา Cef-3 2 g IV q 6hr. , Dimen 1
3 ac. , plasil 1
3 pc. , Air-x 1
3 pc. Paracetamol 500mg 1 tab prn q 4-6hr. Valium 10mg IV ถ้ามีอาการชัก. Amlodipine 5 mg 1
2 pc. , Dopamine [2:1] vein drip 15 mcg/kg/min.
ได้รับสารน้ำ 0.9% NSS 1000 ml IV 1000 ml in 15 min.
การพยาบาล
ประเมินอาการและสาเหตุการติดเชื้อของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสม
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ และยากันชักตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดคำ และดูแลให้รับประทานอาหารที่เหมาะสม
ประเมินและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท และบันทึกสัญญาณชีพ
เตรียมไม้กดลิ้นและอุปกรณ์การให้ออกซิเจนไว้ให้พร้อมเพื่อใช้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก
จัดให้ผู้ป่วยนอนพัก จัดสิ่งแวคล้อมให้สงบ และอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันการกระตุ้นการชัก และยกไม้กั้นเตียงทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ช่วยแพทย์ในการเตรียมตรวจ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือส่งตรวจพิเศษตามแผนการรักษาและติดตามผลการตรวจ
จัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เช่น เด็กใช้การเล่านิทาน ผู้ใหญ่ให้อ่านหนังสือธรรมะ
เปิดโอกาสและส่งเสริมให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล และนำไปปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยกลับบ้านได้
ภาวะแทรกซ้อน
ความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนสามารถมีได้หลากหลาย ดังนี้
มีอาการชัก
มีปัญหาด้านความทรงจำ สมองและการจดจ่อสมาธิ
มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การประสานงาน และความสมดุลของร่างกาย
อาจสูญเสียการได้ยิน อาจได้ยินเพียงบางส่วนหรือไม่ได้ยินเลย
อาจสูญเสียการมองเห็นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure, IICP) คือมีอาการคอแข็งเกร็ง ปวดศีรษะแบบรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนที่มีลักษณะพุ่งออกมาอย่างแรง ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพซ้อน
1 more item...
Septic Shock
หมายถึง ภาวะอาการที่เกิดหลังการติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีระดับความดันโลหิตลดต่ำผิดปกติจนเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะทำงานลดลงหรือทำงานผิดปกติและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
พยาธิสภาพ
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ เป็นส่วนหนึ่งของภาวะช็อกที่เกิดจากการทำหน้าที่ของหลอดเลือดผิดปกติ (distributive shock) เริ่มมาจากแบคทีเรียปล่อย endotoxin เข้ามาในกระแสเลือดมีผลต่อร่างกายโดยเกิดการอักเสบที่เกิดขึ้นเฉพาะจุด โดยเกิดจากเนื้อเยื้อบริเวณนั้นถูกทำลายผล ของการตอบสนองต่อการอักเสบเฉพาะที่นี้ส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณนั้น และมีการเคลื่อนที่ของWBCต่างๆไปยังอวัยวะเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงของระบบ metabolism และ catabolism ของบางอวัยวะเกิดขึ้น เช่น ตับ, ม้าม และlymphatic tissue และมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในร่างกายหลังจากนั้นจะเข้าสู่ภาวะ Acute phase reaction โดยระยะนี้จะมีการหลั่งสาร proinflammatory cytokines จำนวนมากออกมาหลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งสารฮิสตามีนและไคนิน มีผลทำให้ความตึงตัวของหลอดเลือด(permeability) เพิ่มขึ้น มีการคั่งค้างของเลือดในหลอดเลือดดำมากขึ้น ส่งผลทำให้เลือดดำที่ย้อนไหลกลับไปที่หัวใจ (venusreturn) ลดลงและเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiacoutput) ลดลงตามด้วยในที่สุดความดันโลหิตก็จะต่ำลงและส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่ำงๆของร่างกายไม่เพี่ยงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะช็อกขึ้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ภาวะ Septic Shock เป็นผลมาจากการติดเชื้อขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส โดยมักเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบย่อยอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดภาวะพิษจากการติดเชื้อ
ผู้ป่วยมีภาวะอักเสบติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมอง ( Bactaerial Meningitis )
อาการและอาการแสดง
สับสนเฉียบพลัน เวียนศีรษะ ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ
มีปัญหาในการหายใจอย่างรุนแรง อัตราการหายใจ >20 ครั้ง/นาที
หรือ PaO2 < 32 mmHg
มีไข้สูง > 38 องศาเซลเชียส หรือ < 36 องศาเซลเชียส ตรวจพบ
WBC > 12,000 Cell/cu.m.m<4,000 Cell/cu.m.m
ความรู้สึกตัวลดลง ริมฝีปากเขียวคล้ำ ผิวหนังชีดและเย็น
อัตราการเต้น้ของหัวใจ > 90 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต < 90/60 mmHg
ผู้ป่วยมีอาการสับสน ปวดศีรษะมาก ปัสสาวะออกน้อย
ความดันโลหิต systolic 70-88 mmHg. Diastolic 55-67 mmHg
อุณหภูมิร่างกาย 38 องศาเซลเซียส
การวินิจฉัยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
การตรวจเลือด เป็นการตรวจเบื้องต้นที่จะช่วยระบุความผิดปกติต่าง ๆ ได้ เช่น ตรวจหาเชื้อก่อโรคในเลือด ตร่วจการแข็งตัวของเลือดตรวจของเสียในเลือด ตรวจการทำงานของตับและไต ตรวจหาปริมาณออกซิเจนที่ลดลงตรวจหาระดับเกลือแร่ที่ไม่สมดุล
การตรวจตามปัจจัยเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาจากอาการและผลตรวจเลือดของผู้ป่วย จากนั้นจึงตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อระบุตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดบาดแผลว่ามีการติดเชื้อหรือไม่และเจาะตรวจของเหลวในไขสันหลัง
การตรวจทางรังสีวิทยา หากวิธีการตรวจข้างต้นยังไม่สามารถระบุตำแหน่งการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน แพทย์อาจใช้วิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ การทำCT scan การทำ MRI Scan หรือการอัลตราชาวด์
ผู้ป่วยมีผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ พบ CBC: WBC =28,500cell/cu.m.m,Neutrophil =84% ผล Gram stain specimen พบ Cerebrospinal fluid Gram Positive Cocci in single pairs and short chains เจาะน้ำไขสันหลังพบ CSF ขุ่น พบ sugar (fluid) = 0 mg%(40-70mg%) และ protein = 261.2 mg/dl(15-45mg/dl)
การรักษาภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับผู้ป่วย โดยการได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มที่มีอาการจะช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น
ดูแลรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เป็นปกติ โดยการให้สารน้ำเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานเป็นปกติ แต่หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยากระตุ้นความดันโลหิต ยากระตุ้นหัวใจ
รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้อินซูลิน ให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจ แพทย์อาจให้ออกชิเจนแก่ผู้ป่วยผ่านท่อหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยได้รับยา Dopamine [2:1] vein drip 10 mcg/kg/min.
ได้รับ 5% D/NSS 1000 ml vein 80ml/hr. และ 0.9% NSS 1,000 ml vein drip 80 ml/hr.
On ET-tube เบอร์ 7.5 depth 22 with ventilator A/C mode TV 600 ml RR 16 bpm PEEP 3 cmH2O FiO2 0.4
On CVP keep 6-8 cmH2O
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกชิเจนอย่างเพียงพอ เช่น ดูแลให้เลือดทดแทน ให้ ออกชิเจนทาง Nasal cannula, mask หรือ Endotrachial tube ดูแลทางเดิน หายใจให้โล่ง กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ เปลี่ยนท่าการเคลื่อนไหวร่างกายทุก 1 ชั่วโมง บันทึกระดับความรู้สึกตัว การหายใจ ติดตามผล Arterial blood gas
ดูแลการไหลเวียนของเลือดให้เพียงพอ โดยให้สารน้ำและอิเล็กโทรไลด์ ทดแทน จัดให้ผู้ป่วยนอนราบเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจ ปรับอัตราการไหลของสารน้ำให้ได้ความดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure; CVP) 10-12 ชม.น้ำ สังเกตและบันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง หากปัสสาวะน้อยกว่า 30 มล./ชม.
ดูแลติดตามวัดความดันเลือด ทุก 1 ชั่วโมง หาก Pulse pressure แคบกว่า 30 มม1ปรอท แสดงว่าปริมาณ เลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ดูแลให้ได้สารอาหารอย่างเพียงพอทางหลอดเลือดดำ และจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักผ่อน
นางสาวกนกวรรณ เอี่ยมยิ้ม รหัสนักศึกษา 6248100078 ชั้นปี 4
อ้างอิง
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน อาคม อารยาวิชานนท์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อรพรรณ ศรีขาว ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 5 ฝ่ายการพยาบาล วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลสำนักการแพทย์
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ สมคิด เผ่าผา พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลขอนแก่น 2562
ภาวะช็อก นายแพทย์ พงศ์เทพ ธีระวิทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 2560