Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดชอบของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า " นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น " ที่ว่า " นายจ้าง " "ลูกจ้าง "
หมายถึงบุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างเเรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. ลักษณะ 6 ตั้งเเต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586
บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างเเรงงานในมาตรา 575 มีความว่า " อันว่าจ้างเเรงงานนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ " ฉะนั้น คำว่านายจ้างลูกจ้้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึงหมายถึงสัญญาจ้างเเรงงาตามมาตรา 575 มิใช่สัญญาจ้างทำของดังบัญญัติไว้ในมาตรา 587
อุทาหรณ์ : ฎ.1425/2539
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างต้องวิเคราะห์ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะงานที่จ้างเป็นอย่างไรเสียก่อนเเล้วจึงพิจารณาต่อว่าละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่
อุทาหรณ์ : ดำเป็นลูกจ้างของขาว ดำมีหน้าที่ซ่อมตู้เย็น โดยมีคนว่าจ้างขาวให้ซ่อมโดยประมาทเลินเล่อขณะที่การซ่อมเป็นหน้าที่ของดำ ดำได้กระทำตู้เย็นของลูกค้าเสียหายขาวจึงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าด้วย
ลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฏิบัติตามหน้าที่ การที่ลูกจ้างได้กระทำไปนั้นต้องการปฏิบัติให้ลุล่วงไปด้วยดี
และเหตุที่เกิดขึ้รเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานนั้น มิใช่เป็นแต่เพียงเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่รู้จักกระทำการปฏิบัติงานที่จ้างอยู่นั้น
ลูกจ้างต้องอยู่ในการควบคุมดูเเลของนายจ้าง
วิธีการปฏิบัติ : ในการกระกิจการงานใดนั้น ย่อมมีวิธีการในการที่จะปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกัน
หากนายจ้างไม่ได้แสดงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ดูตามการปฏิบัติตามลูกจ้างอาจจะใช้วิธีตามที่เห็นอันเเก่สมควรเพื่อทำให้กิจการนั้นลุล่วงไปและส่งผลประโยชน์ของนายจ้าง
นายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะกระทำการบางอย่างที่ตนได้ได้สร้างหรือมอบอำนาจให้กระทำอีกด้วย แม้จะเป็นการกระทำที่ตนไม่ได้ให้อำนาจกับการกระทำที่ตนให้อำนาจซึ่งอาจจะเป้นวิธีการใดก็ได้แม้จะไม่เป็นอันสมควร
อุทาหรณ์ : ฎ.1241/2512
ถ้าไม่อยู่ในเวลาที่จ้างไม่เข้า มาตรา 425
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติไว้ว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่ราสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดชอบร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความผิดต่อผู้เสียหาย
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
อุทาหรณ์ : ฎ.648/2522
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวเเทน
ลักษณะตัวการตัวเเทน
ตัวเเทนคืออะไรนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 797 บัญญัติไว้ว่า อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวเเทนมีอำนาจกระทำการแทน บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวการและตกลงจะกระทำการดังนั้น
ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป
ตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศเช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน
จึงต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกัน พึงสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวเเทน
เช่น เป็นการใช้หรือวานคนรู้จักดังนี้มิใช่ตัวเเทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ผู้รับใช้หรือรับวานทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สาม
อุทาหรณ์ : ฎ.1049/2505
ความรับผิดของตัวการ
ตัวอย่าง : เป็ดตกลงซื้อรถต่อจากไก่ ห่านเป็นตัวแทนไก่และกรรมสิทธิ์รถได้โอนมายังเป็ดทันที ห่านในฐานะเป็นตัวเเทนของไก่ได้นำรถมาส่งมอบให้เเก่เป็ดเพื่อรับเงินราคาค่ารถจากเป็ด และห่านได้ทำรถพังโดยประมาทเลินเล่อ รถจึงได้เสียหายดังนี้เป็นการที่ห่านกระทำละเมิดต่อเป็ดในฐานที่ห่านเป็นตัวแทนของไก่ในการส่งมอบรถให้แก่เป็ดและไก่ต้องรับผิดชอบต่อเป็ดร่วมด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บะญญัติไว้ว่า ให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยอนุโลม
อุทาหรณ์ : ฎ.648/2522
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญํติไว้ว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหคุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นเเต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ดูเเลซึ่งทำอยู่นั้น
ที่ว่ามานี้หมายความว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้นเเหละที่จะถือว่าเป็นการจงใจ
ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตนย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ เเต่ถ้ารู้ได้ว่าได้กระทำอะไรลงไปเพียงเเต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือหากยังไม่ได้อาจเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้
เช่น เด็ก 11 ปี ชกต่อยกบรุ่นพี่ย่อมถือว่าเด็กคนนั้นกระทำการละเมิดแล้ว
อุทาหรณ์ : ฎ.815/2498 และ ฎ.847/2498
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรืออนุบาล
มาตรา 421 และ มาตรา 426
เมื่อบิดามารดาหรืออนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนใหแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตเเละไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูเเลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูเเลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลไร้ความสามารถตามมาตรานี้คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลบุคคลดังกล่าวหากไม่ได้รับดูเเลเป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้จะดูเเลอยู่เป็นนิจหรือชั่วครั้งชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นกัน
เช่น เด็กอายุ 11 ปี มาพักอยู่กับน้าเเละอา เป็นผู้ดูแล
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
อุทาหรณ์ : ฎ.356/2511
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 431 และ มาตรา 426
อาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ชดใช้เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา 429
อุทาหรณ์ : ฎ.1315/2520
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
เหตุที่เข้าใจกันดังนี้ก็เป็นเพราะการบัญญัติกฎหมายโดยเรียง มาตรา 425 - 427 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นไว้ก่อนมาตรา 429 - 431 เมื่อมาตรา 428 บัญญัติอยู่กลางๆประกอบกับบทมาตรา 428 กล่าวถึงผู้ว่าจ้างทำของและความเสียหายที่ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นเเก่บุคคลภายนอก
ซึ่งถ้าอ่านโดยไม่พิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วนทำให้เกิดการเข้าใจไปว่าความผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามาตรา 428 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นซึ่งเข้าใจดังนี้ว่าถูกต้องหรือไม่
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้กระทำละเมิด มิใช่รับผิดร่วมกับผู้รับจ้างเเละเเม้บางกรณีจะถือว่าผู้ว่าจ้างเองกระทำละเมิดโดยลำพังอีกด้วยก็ตาม
มีเหตุผลที่แสดงให้เห็นวาความรบของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรัผิดนการกระำองบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดได้กล่าวมาเเล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ก็เมื่อตัวเเปลได้ควมหมายว่าผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิดถ้าหากเป็นผู้ผิดเเล้วฉะน้นความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมาตรา 428 จึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระำของบุคคลอื่น
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่าความเสียหายหาได้คำว่า การกระทำละเมิดหรือละเมิดอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 429 และ 430 ไม่โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างยังจะต้องรับผิดเพราะมีส่วนผิด
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ใช้คาสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกได้รับคามเสียหายไปแล้วจึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำขอบุคคลอื่นก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงานจึงถือเป็นงานของผู้รับจ้างเอง
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับูกจ้างในสัญญาจ้างแรงาน
มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้าได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในสวนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกเเล้วก็เป็นเรื่อที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้นไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
อุทาหรณ์ : ฎ.1176/2510 และ ฎ.1982/2522
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณี
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนที่สั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำความสะอาดกำแพงบ้านเเต่น้ำกระเด็นเข้าไปในบ้านผู้อื่นอันเป็นละเมิด
อุทาหรณ์ : ฎ.940/2501
2.ความผิดในคำสั่งทีตนให้ไว้
คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อนเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น
เช่น เเนะนำให้ทำทางบ้านเข้าผ่านที่ดินของผู้อื่น
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในทางเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง คือ จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการทำงานที่จ้างให้ทำ
เช่น จ้างทำถนนไปจ้างผู้ที่ถมถนนไม่เเน่นหนาพอจึงเป็นผลให้ถนนพังทรุดลงทำให้รถของผู้อื่นเสียหาย
อุทาหรณ์ : ฎ.1289/2522
การกระทำละเมิดร่วมกันย่อมบังคับกันตามบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องลูกหนี้ร่วมกัน คือต้องร่วกันรับผิดต่อผู้เสียหายจนกว่าจะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเสร็จสิ้นแล้ว