Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น, ความรับผิดของครูบาอาจารย์…
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายข้าง
ม.425
นายจ้างและลูกจ้างนั้นหมายถึงบุคคล2ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงานใน ม.575
ข้อสังเกต
ข่าราชการในกระทรวง ทบวง กรม ไม่ได้เป็นนายจ้างซึ่งกันและกัน
ตัวอย่าง การที่ลูกจ้างได้ขับรถไปส่งของให้นายจ้างในขณะที่ขับรถนั้นลูกจ้างมีอาการหลับในทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บการกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดนายจ้างจึงต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ม.430
ขณะที่มีการละเมิดนั้น ลูกจ้างได้ปฏิบัติตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องในงานของนายจ้างหรือไม่ ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้าง ความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฏิบัติตามหน้าที่
นายจ้างไม่ต้องรับผิดในกสรละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง ดำจ้างเขียว เป็นลูกจ้างไว้คอยตัดหญ้าบริเวณบ้านแต่ เขียว ดันไปตัดหญ้าที่นายขาวปลูกไว้พื้นที่อยู่ข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อย่อมถือเป็นเหตุที่เกิดในทางการที่จ้าง ดำ ต้องรับผิดในการกระทำของเขียว
สิทธิไล่เบี้ย
ม.426
การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ตต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
ตัวอย่าง ดำทำละเมิดโดยการทำร้ายร่างกายลูกค้า นายแดงผู้จ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ม.427
ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
การที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย่อมเป็นงานของนายจ้าง ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ
ตัวอย่าง เจ้าของรถยนต์ขับรถยนต์ไม่เป็นจึงให้ ข.ขับรถยนต์ไปรับลูกที่สนามบิน โดยที่เจ้าของรถนั่งไปด้วย ดังนี่ ข.เป็นตัวแทน เจ้าของรถต้องรับผิดร่มกับ ข.ที่ขับรถเฉี่ยวชน ค.ได้รับบาดเจ็บ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วย แม้ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองกระทำละเมิดโดยลำพังอีกด้วยก็ตาม
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ม.428
มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้จ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
เว้นแต่
1.ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
2.ในประการที่ตนสั่งให้ทำ
3.ในการที่ตนเลือกหาผู้รับจ้าง
ตัวอย่าง ค. จ้าง ก. ทำเตียงนอนให้แต่ ก. ไม่มีไม้เป็นสัมภาระ จึงเอาไม้ของ ง. มาทำโดยที่ ค. ไม่รู้เห็นด้วย ดังนี้ ก. ต้องรับผิดต่อ ง. แต่เพียงผู้เดียว
ความรับผิดของบิดามาราดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ม.429
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ม.420 จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ตัวอย่าง แดงเคยใช้บุตรขับขี่รถยนต์ไปซื้อของและทำเป็นไปทำธุระ ดังนี้ นอกจากแดงจะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว แดงกลับสนับสนุนให้บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ขับขี่รถยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตร
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ม.430
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้น ความรับผิดอยู้ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าวจะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล
ตัวอย่าง แดงเป็นผู็เยาว์อายุ 16 ปี นำรถยนต์ในบ้านออกมาขับขี่ไปไหนมาไหนได้เองโดยที่ ดำและขาว ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ควบคุมดูแลแดงให้ดี เช่นนี้ ถือว่าดำและขาว ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เมื่อแดงขับรถเฉี่ยวชนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บเป็นการกระทำละเมิด ดำและขาว ย่อมต้องรับผิด