Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น, 1.2ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้…
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
การกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดต่อบุคคลอื่น
มีความสัมพันธ์เป็นนายจ้างและลูกจ้างกันในขณะกระทำละเมิด
การกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดในทางการที่จ้าง
1.3สิทธิไล่เบี้ย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อ
ละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้แก่ผู้เสียหายหมายรวมถึงดอกเบี้ยใน
จำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ด้วยแต่ไม่รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมและค่า
ทนายควมในการต่อสู้คดีของนายจ้าง
1.4ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427 บัญญัติว่า บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
หมายความว่า ให้นำบทบัญญัติเรื่องความรับผิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 425 และมาตรา 426 มาบังคับกัเรื่องตัวการตัวแทนด้วย กล่าวคือ ตัวการจะต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนในกรณีที่ตัวแทนได้กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นในฐานะตัวแทนเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้ตัวการร่วมรับผิดด้วยเพราะตัวแทนกระทำตามที่ตัวการมอบหมาย ซึ่งทำนองเดียวกันกับลูกจ้างได้กระทำตามคำสั่งนายจ้างนั่นเอง
การที่ตัวการจะต้องร่วมรับผิดกับตัวแทน จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
ตัวแทนต้องกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
ตัวแทนได้กระทำละเมิดในระหว่างที่เป็นตัวแทน
ตัวแทนกระทำละเมิดในขอบเขตอำนาจของการเป็นตัวแทน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ
เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก
ในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้
ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้
หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ทั้งนี้โดยลักษณะของสัญญาจ้างทำของผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ในการออก
คำสั่งหรือบังคับบัญชาในการทำงานของผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์ควมคุมวิธิการทำงานดังเช่นนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
อย่างไรก็ดีผู้ว่าจ้างอาจมีความรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อ
ขึ้นได้หากว่าตัวผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้ผิดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตามมาตรานี้มิใช่เป็นความรับผิดเพื่อ
ละเมิดซึ่งเกิดจากการทำการกระทำของบุคคลอื่น
หากแต่เป็นความรับผิดในฐานะที่ตัวผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้ผิดโดยมี
ผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพื่อความเสียหานอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างมร 3 ประการ
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนของการงานที่สั่งให้ทำ
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในคำสั่งที่ผู้ว่าจ้างได้ให้ไว้
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
เช่น งานสร้างตึกสูง 100 ชั้น แต่ผู้ว่าจ้างไปว่าจ้างผู้รับจ้างรายเล็กที่ไม่มีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ หรือเครื่องมือทันสมัยเพียงพอเป็นเหตุให้ตึกพังทับผู้อื่นบาดเจ็บดังนี้ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพราะตนเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ตัวอย่าง จ้างให้ขับรถไปส่งปลายทาง เห็นว่าโดนสภาพของการขับรถรับจ้างไม่เป็นการละเมิดแต่ถ้าหากผู้ว่าจ้างสั่งให้ผู้รับจ้างขับรถด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยเร็ว และผู้รับจ้างขับรถเร็วตามค าสั่งของผู้ว่าจ้าง เป็นเหตุให้ชนผู้อื่นบาดเจ็บ เช่นนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเพราะการที่ผู้ว่าจ้างมีค าสั่งผู้ว่าจ้างจึงต้องรับผิดตามมาตรา 428 ผู้รับจ้างก็ต้องรับผิดตามมาตรา 420 ด้วย
เช่น ว่าจ้างให้ผู้ที่รับจ้างไปขุดดินจากที่ดินของผู้อื่นมาถมที่ดินของตน ส่วนปัญหาว่าผู้รับจ้างจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับจ้างได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว หรือควรจะรู้ได้หรือไม
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่งทำอยู่นั้น
มาตรา 429 กำหนดให้บิดามารดาร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วยเห็นได้ว่าความรับผิดตามมาตรานี้เป็นเรื่องที่บิดามารดามีส่วนผิดอยู่ด้วยเพราะเหตุว่าบิดามารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์อีกทั้งกฎหมายยังให้อำนาจบิดามารดาในการใช้อำนาจปกครองซึ่ง
ทำให้ผู้เยาว์ต้องอยู่ในความเชื่อฟังคำสั่งด้วย
คำว่า ผู้เยาว์ตามเป้าหมายในมาตรา 429หมายถึง ผู้เยาว์ในระดับใดก็ได้ที่สามารถรู้สำนึกในการกระทำของตนเองแล้วและสามารถกระทำการอันเป็นละเมิดตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อละเมิดได
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9184/2539 จ าเลยที่ 2 เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้เยาว์ การที่จำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา429 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดด้วยหรือไม่ไม่ได้แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองดูแลจำเลยที่1ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา430 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊ปไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3 และจ าเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการทำละเมิดต่อโจทก์
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแล
บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดีชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับ
ผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงใน
ระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้
ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
บุคคลที่ต้องรับผิดตามมาตรา 430
ครูบาอาจารย์
นายจ้าง
บุคคลที่รับดูแลผู้ได้ไร้ความสามารถ
เช่น ปู่ ย่า ตา ยายพี่เลี้ยง
รับจ้างบิดามารดาดูแลผู้เยาว์ชั่วคราวบิดาที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย
เช่น นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถที่เป็นเด็กไปทำงานและถ้าลูกจ้างนั้นไปทำให้เกิดความเสียหายขึ้นผู้เป็นนายจ้างก็ต้องอาจต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 430
เช่น เด็กโรงเรียนอนุบาล เด็กประถม เด็กมัธยมที่ยังเยาว์ไวในเรื่องประสบการณ์ต่างๆซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะจะรับผิดชอบตัวเองได้อย่างเพียงพอ แต่ไม่หมายรวมถึงเด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่ค่อนข้างจะเป็นผู้ใหญ่และช่วยตัวเองได้แล้ว
1.2ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การละเมิดของลูกจ้างนี้ นายจ้างต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นใน
การกระทำนั้น และต้องไม่มีส่วนผิดในเหตุนั้นด้วย
หมายถึง การทำงานโดยวิธีใดก็ได้ที่ทำให้แก่นายจ้างและเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง และเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานนั้น โดยมุ่งพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในทางการที่จ้างว่ามีในขณะกระทำละเมิดหรือไม่ ความสัมพันธ์ในทางการที่จ้างนั้นขาดตอนไปถาวะหรือชั่วขณะหรือไม่
นายอารุณโรจน์ พลหาญ รหัสนิสิต 64012310176 เลขที่ 68