Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
[ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง](
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ทางการที่จ้าง หมายถึง การทำงานตามที่นายจ้างมอบหมายหรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับงานที่ได้รับมอบหมาย และวัตถุประสงค์ที่ทำไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
เมื่อลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างร่วมรับผิดตามมาตรา 425 แต่มีสิทธิไล่เบี้ยลูกจ้างตามมาตรา 426
สิทธิไล่เบี้ย
สิทธิไล่เบี้ย คือ สิทธิในการเรียกร้องให้รับผิดในการชำระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลำดับ กล่าวคือ ผู้ทรงอาจใช้สิทธิบังคับการจ่ายเงินจากลูกหนี้ต่างๆเมื่อตนไม่สามารถเรียกให้ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินชำระเงินตามตั๋วแลกเงินได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 797 ที่บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
จะเห็นได้ว่า ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า“ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
บุคคลไร้ความสามารถตามความหมายของมาตรานี้ แตกต่างจากคำส่า "คนไร้ความสามารถ" ซึ่งปรากฎอยู่ในหมวดทั่วไปว่าด้วยบุคคลและซึ่งถูกกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม เพราะบุคคลผุ้ไร้ความสามารถนี้หมายถึงผู้เยาว์และผู้วิกลจริตเท่านั้น (ไม่รวมถึงผู้เสมือนไร้ความสามารถ)
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนท าละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น”
ความรับผิดของบิดามารดาขึ้นอยู่กับการใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ข้อยกเว้นความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล คือ การอ้างว่าตนเองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมความแก่หน้าที่ดูแลซึ่วทำอยู่แบ้ว โดยบิดามารดาหรือผู้อนุบาลนั้นต้องมีหน้าที่พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังเพียงใด
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า“ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
บุคคลที่ต้องรับผิดตามมาตรา 430
ครูบาอาจารย์ มุ่งหมายถึงผู้ผู้รับดูแลเด็กนักเรียนที่เป็นผู้ไร้ความสามารถ เช่น เด็กโรงเรียนอนุบาล เด็กประถม เด็กมัธยม ที่ยังเยาว์วัยในเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะจะรับผิดชอบตัวเองได้อย่างเพียงพอ
นายจ้าง คือในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างที่เป็นผู้ไร้ความสามารถ เช่น นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถเช่นเด็กเล็กๆ ไปทำงาน และถ้าลูกจ้างคนนั้นไปทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ผู้เป็นนายจ้างก็อาจจะต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 430
บุคคลที่รับดูแลผูไร้ความสามารถ เช่น ปู้ ย่า ตา ยาย รับเลี้ยงหลานหรือสถานที่เลี้ยงดูเด็กเล็กๆทซึ่งพ่อแม่เด็กจะเอามาไว้ตอนเช้าแล้วตอนเย็นก็มารับเด็กกลับ
ข้อยกเว้น
การอ้างข้อยกเว้นความรับผิดมีอยู่กรณีเดียวคือ ผู้เสียหายพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุคคลซึ่งต้องรับผิตามมาตรา 430 นี้มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มีใช่เรื่องความรับผืดในการกระทำของบุคคลอื่น
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานสั่งให้ทำ หมายถึง งานที่ทำนั้นโดยสภาพแล้วเป็นการทำละเมิด เมื่อผู้ว่าจ้างสั่งให้ทำการงานนั้น ไม่ว่าจะสั่งโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ผู้ว่างจ้างก็ต้องรับผิดในผลนัน้
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในคำสั่งที่ผู้ว่าจ้างได้ให้ไว้ หมายความว่า งานที่จ้างนั้นโดยสภาพแล้วไม่เป็นละเมิด แต่มีเหตุละเมิดเกิดขึ้นเนื่องจากคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
ผู้ว่างจ้างเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง หมายถึง งานที่จ้างให้ทำนั้นโดยสภาพและคำสั่งของผู้ว่าจ้างไม่เป็นละเมิด แต่มีความเสียหายแก่ผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อให้เกิด และเหตุที่เกิดขึ้รสืบเนื่องมาจากการเลือกหาผู้รับจ้างไม่เหมาะสมกับสภาพงาน