Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา425 วางหลักไว้ว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตามและหากลูกจ้างนี้ได้ทำ ละเมิด ก็ไม่มีประเด็นให้ต้องพิจารณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมมือรับผิดหรือไม่
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
เราจะต้องเข้าใจ ต่อไปว่าลูกจ้างทำละเมิดขึ้นนายจ้างจะต้องรับผิดด้วยลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไรถ้าไม่ใช่การกระทำของนายจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบร่วม ตามมาตรา430
วิธีปฏิบัติ ย่อมมีวิธีในการที่จะปฏิบัติงาน ให้ลุล่วงเพื่อประโยชน์ ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกันนายจ้างไม่แจกแจงมีการกระทำ ให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตามลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไป และนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการกระทำบางอย่างที่ตนได้สั่งหรือมอบอำนาจให้ แม้จะเป็นการกระทำที่ตนไม่ได้ให้อำนาจแต่เป็นแฟนคลับที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ตนให้อำนาจซึ่งอาจเป็นวิธีการก็ได้แม้จะเป็นวิธีการที่ไม่สมควร
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน ในกรณีถือว่าลูกจ้างปฏิบัติงาน ของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้วไม่ลูกจ้างจะได้กระทำ ติดส่วนตัวในขณะเดียวกัน นั้นจนเกิดละเมิดขึ้นก็ถือว่าเป็นเหตุเกิดในทาง การจ้าง เพราะลูกจ้างปฏิบัติส่วนตัวด้วยนั้น อ่าเต็มเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เพื่อ นายจ้างโดยประมาทเลินเล่อ น เช่น ขณะขับรถ ได้ถือโอกาสหนึ่งสุราไปด้วยจนเกิดชนคนชราโดยประมาท
การที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม การกระทำอันเป็นการละเมิด ไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
การละเมิดโดยจงใจ เป็นที่เห็นได้ว่าการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นแตกต่างกับการกระทำละเมิดโดยจงใจซึ่งรวมถึงขนาดที่ว่าเป็นเจตนาชั่วร้าย
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา426 วางหลักไว้ว่า นายจ้างจึงได้อนุเสาศิลปะ ได้ละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
โดยเหตุที่การละเมิด นั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกอิงโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดชอบร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดชอบต่อผู้เสียหายแต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างกระทำละเมิดนั้นด้วย
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวกลางตัวแทน ตัวแทนจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับให้ซื้อของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทาง ปฏิบัติของตัวแทนโดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดและผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้นตัวแทนคืออะไรนั้น ปพพ. มาตรา797 วางหลักไว้ว่า อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกตัวการและตกลงจะทำการดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับร่างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ความรับผิดของตัวการ ขอบเขตแห่งการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทน ได้ทำการเป็นตัวแทนฉะนั้นในเมืองแรกจึงต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียง เท่าไร เช่นแจ้งให้คนขับรถมาส่ง แก้ตัวการ แต่ไม่มีอำนาจที่จะเอารถยนต์นั้นไปโอนขายได้อีก
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ ละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะชดใช้จากตัวแทนเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรับผิดแทนกันซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความลับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะว่า ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็น งานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนั้นนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ถ้าผู้ว่าจ้างมาจ้างผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิดเสมอไปถ้าผู้ว่าจ้างไม่มี ส่วนผิดกล่าวคือมิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา420 แล้วดังนี้ผู้ว่าจ้างก็ต้อง หาต้องรับผิดไม่ เช่นผู้ว่าจ้างมาจ้างผู้รับจ้างก็เอาทรัพย์สินซึ่งตนรู้อยู่แล้วเป็นสัมภาระในการทำงานที่รับจ้า งแต่ผู้จ้างไม่รู้เห็นด้วย ผู้รับจ้างก็ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดด้วย
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาที่มีต่อกันเช่นจ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนเอง เป็นอันละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ การนำที่สั่งให้คำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นส้มให้ผู้อื่นเสียหายได้เช่นแนะนำให้ทำรางน้ำชายคาบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอัน ควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ ทำให้เกิดฝนความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่ทำไม้แน่นหนาจึงทำให้ บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา429 วางหลักไว้ว่าบุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือกลจิต ก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นวางเรื่องต้องรับจุดร่วมกับเขาด้วยปืนต่อจากพิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต จะความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา420 กล่าวคือจะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหว อิริยาบถ โดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น ถือว่าเป็นการจงใจ ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลที่จิตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตนย่อมถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อแต่ถ้ารู้ว่าได้ทำอะไรลงไปเพียงแต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือยับยั้งไม่ได้อาจเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้ เพราะผู้เยาว์หรือบุคคลกลจิตย่อมมีฐานะทางจิตใจอยู่หลายระดับต่างกันไป
ความรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นนี้ ว่าย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าคนนั้นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลเมื่อมีดามารดาหรือผู้อนุบาล ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะชดใช้ จากผู้เยาว์ดูบุคคลวิกลจริต
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา430 วางหลักไว้ว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลไร้ความสามารถตามมาตรานี้คือครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นที่ซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าวหากไม่ได้รับดูแลเป็นกรณีที่ไม่ต้องได้หน้าตานี่ เช่นจ้างครูพิเศษต่อยสอนเด็กที่บ้าน เด็กอยู่กับบิดามารดาเห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดาหาอยู่กับครูพิเศษนั้นไม่
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความรับผิดตามมาตร 430
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับการดูแลบุคคลไร้ความสามารถ เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลและความสามารถ ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้ให้แก่บุคคลไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ชดใช้