Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด, อ้างอิง สาขาวิชาการพยาบาลมารดา…
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด
นิยามการคลอด และระยะของการคลอด
นิยามการคลอด
ทารก รก เยื่อหุ้มทารก และสายสะดือ ออกมาอยู่นอกมดลูก โดยเกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้นตอนเริ่มตั้งแต่มีการเจ็บครรภ์ หรือการที่มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอกระตุ้นให้เกิดการบางและเปิดขยายของปากมดลูก และผลักดันให้ทารกเคลื่อนต่ำเข้าสู่ช่องเชิงจนกระทั่งทารกคลอดออกมาได้เองทางช่องคลอด จากนั้นรกและเยื่อหุ้มทารกมีการคลอดตามออกมา
ชนิดของการคลอด
การคลอดปกติ (Normal Labor)
อายุครรภ์ครบกำหนด คือ อายุครรภ์ตั้งแต่ 38 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 42 สัปดาห์
ทารกมีหนึ่งคน มียอดศีรษะเป็นส่วนน้ำ (Vertex presentation) หรืออยู่ในทรงก้มเต็มที่ (Flexion attitude) และขณะคลอดท้ายทอยอยู่ใต้โค้งกระดูกหัวเหน่า หรืออยู่หน้าต่อช่องเชิงกรานของมารดา (Occiput anterior)
ระยะเวลาของการคลอด ตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนถึงรกคลอดรวมกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นในระยะคลอด เช่น การตกเลือดก่อนคลอด หรือ หลังคลอด รกค้าง
กระบวนการคลอดทั้งหมดเป็นไปตามธรรมชาติ (Spontaneous Labor) ไม่ต้องใช้หัตถการใดๆช่วย ในการทำคลอด
การคลอดผิดปกติ หรือการคลอดยาก (Abnormal labor or dystocia)
การคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคลอด เช่น การคลอดที่มีระยะเวลาคลอดยาวนานกว่าปกติ การคลอดที่สิ้นสุดลงด้วยการใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือการคลอดโดยใช้คีมช่วยคลอด การคลอดด้วยการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง
การคลอดทารกที่มีส่วนนำผิดปกติ เช่น ทารกท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลัง (Occiput posterior position : OPP) ทารกที่มีส่วนนำเป็นหน้า (Face presentation) ทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น (Breech presentation) ทารกที่มีศีรษะไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน (Cephalopelvic disproportion : CPD)
การคลอดที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน ธัยรอยด์ หอบหืด โรคหัวใจ เป็นต้น
มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ขณะตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ (Placenta previa) รกบอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio-placenta หรือ Placenta abruption)
การคลอดที่เกิดก่อนทารกอายุเกิน 42 สัปดาห์ หรือการคลอดเกินกำหนด (Post term labor) ก็จัดเป็นการคลอดผิดปกติด้วย
ระยะของการคลอด
ระยะเตรียมเข้าสู่กระบวนการคลอด
ระยะปากมดลูกเปิดช้า
ปากมดลูกค่อยๆบางลง (effacement) จนบางลงมากที่สุด จากคอมดลูก (cervical canal) ซึ่งปกติยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เหลือน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร และค่อยๆ เปิดขยาย (cervical dilatation) จากไม่เปิดเลย ถึง 3-4 เซนติเมตร ระยะนี้การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ (descending of presenting part) มีเพียงเล็กน้อย ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมง นานเต็มที่ 20 ชม. ในครรภ์แรก และ 14 ชม.ในครรภ์หลัง
ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
Acceleration phase
ปากมดลูก เปิดจาก 3-4 เซนติเมตร เป็น 4-5 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ในครรภ์แรก
Phase of maximum slope
ปากมดลูก เปิดเร็วมาก จาก 4-5 เซนติเมตร เป็น 9 เซนติเมตร
Deceleration phase
ปากมดลูกเปิดช้าลง ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในครรภ์แรก
ระยะเตรียมพร้อมก่อนการเจ็บครรภ์คลอด
นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดถึงทารกคลอดทั้งตัว มดลูกจะหดรัดตัวห่างขึ้น ความนาน และความรุนแรงลดลง
ระยะเจ็บครรภ์คลอด
นับตั้งแต่ทารกคลอดทั้งตัวถึงรกคลอด อาจใช้เวลา 3-5 นาที เฉลี่ย 10-15 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที
ระยะฟื้นตัวหลังคลอด
ระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังรกคลอด เป็นระยะพักฟื้น เพื่อให้ร่างกายผู้คลอดกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล
ทฤษฎีที่อธิบายการเจ็บครรภ์คลอด
Oxytocin theory
ภาวะเครียดของร่างกายที่ทำให้ผู้คลอดหลั่งออกซิโทซินออกมามากขึ้น ออกซิโทซินรีเซพเตอร์ (Oxytocin receptor) ในกล้ามเนื้อมดลูกทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก และยังช่วยกระตุ้น เดซิดวล (deciduas) ให้สร้าง โพรสตาแกลนติน (porostaglandin)
Progesterone deprivation theory
โปรเจสเตอโรนที่ลดลงและเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ปริมาณออกซิโทซิน รีเซพเตอร์เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัว
Prostaglandin theory
การหดรัดตัวของมดลูกเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างต่อมหมวกไตของทารกกับมดลูก โดยต่อหมวกไตจะหลั่งสารที่กระตุ้นให้เยื่อหุ้มทารกชั้น Chorion, Amnion รวมทั้ง Decidua ของผู้คลอดสร้าง Prostaglandin ออกมา ส่งผลให้มีการหดรัดตัวของมดลูกและมีอาการเจ็บครรภ์คลอด
Estrogen stimulation theory
Estrogen ที่เพิ่มขึ้นจำทำให้มดลูกหดรัดตัว และยังช่วยเพิ่ม Oxytocin receptor และช่วยให้เกิดการสังเคราะห์ Prostaglandin ที่รกและเยื่อหุ้มทารกเพิ่มขึ้น
Fetal cortisol theory
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตเต็มที่ ต่อมหมวกไตจะไวต่อ adeno corticotropic hormone ที่สร้างจากต่อมใต้สมองเพิ่มมากขึ้น จะกระตุ้นให้ต่อมต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน Cortisol มากขึ้น Cortisol มีผลทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเริ่มกดรัดตัวและเกิดการเจ็บครรภ์คลอด
Uterine stretch theory
เมื่อครบกำหนด การคลอดจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมดลูกมีการยืดขยายถึงจุดสูงสุดไม่สามารถขยายได้อีกแล้ว จะเกิดการประสานกันของมดลูกส่วนบนและส่วนล่าง (Depolarization) กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
Pressure theory
ส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงมากดบริเวณมดลูกส่วนล่าง จนไปกระตุ้นตัวรับรู้ความดัน (Pressure receptor) จะส่งสัญญาณไปต่อมใต้สมองให้มีการหลั่งออกซิโทซินออกมาจนถึงระดับหนึ่ง ออกซิโทซินจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวและเกิดการคลอด
Placental aging theory
หลังอายุครรภ์ 40 สัปดาห์การไหลเวียนของเลือดบริเวณรกจะลดลง ทำให้เนื้อเยื่อของรกเสื่อมสภาพ เป็นผลให้ผลิตฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนลดลง
ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการคลอด
ช่องทางคลอด (Passage)
ช่องเชิงกรานหรือช่องทางคลอดที่เป็นกระดูก (Bond pelvis)
ช่องเชิงกรานเทียม (False pelvis)
ไม่มีความสำคัญต่อการคลอด
ช่องเชิงกรานแท้ (True pelvis)
ช่องกลาง (Pelvic cavity , Mild pelvic)
Interspinous diameter ยาว 10 เซนติดเมตร เป็นส่วนที่แคบที่สุดของเชิงกราน การวัดช่องกลางยาวประมาณ 10.5 เซนติเมตร
ช่องทางออก (Pelvic outlet)
การประเมินความกว้างของช่องทางออกที่สำคัญ คือ การวัดมุมของ Pubic arch หรือเรียกว่า Subpubic angle โดยไม่ควรน้อยกว่า 90 องศา
การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องทางออก็มีความสำคัญทางคลินิก เส้นผ่านศูนย์กลางขวาง คือ เส้นที่วัดระหว่าง Ischial tuberosities โดยมีความไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร
ช่องทางเข้า (Pelvic inlet)
Anteroposterior diameter: A-P diameter
True conjugate
Obstersic conjugate
Diagonal conjugate
Transverse diameter ของ Inlet วัดส่วนที่กว้างที่สุดของ Linea terminalis ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง มีค่าประมาณ 13 เซนติเมตร
รูปร่างของเชิงกราน
Anthropoid pelvis
เป็นรูปไข่ Transverse diameter ของช่องเข้าสั้นกว่า Antero-posterior diameter, Ischial spine มักจะยื่นออกมา และมี Subpubic angle ค่อนข้างแคบ พอคลอดได้
Android pelvis
รูปสามเหลี่ยมหรือรูปหัวใจ มี Ischial spine ที่แหลม Sacral curve มักจะตรง และ Subpubic angle แคบมาก เป็นลักษณธเชิงกรานที่ไม่เหมาะสมกับการคลอด
Gynecoid pelvis
รูปกลม Transverse diameter ของช่องเข้ายาวกว่าหรือเท่ากับ Antero-posterior diameter, Ischial spine ไม่ยื่นออกมา Subpubic angle กว้าง เป็นลักษณะของเชิงกรานที่เป็นผลดีต่อการคลอด
Platypelloid pelvis
มี Subpubic angle กว้าง แต่ลักษณะเชิงกรานแบนกว่า มี Sacral curve ค่อนข้างสั้น และ Pelvis ค่อนข้างตื้น เป็นเชิงกรานที่ไม่เหมาะสมกับการคลอด
ช่องทางคลอดที่ยืดขยายได้ (Soft passage))
ช่องทางผ่านที่เป็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ทารกจะสามารถผ่านออกมาได้ เพราะส่วนนี้ยืดขยายได้ หรือตัดให้ขาดได้ หรือมีการฉีกขาดได้ ส่วนที่สำคัญที่สุดของพื้นเชิงกราน ได้แก่ Levator ani muscle & Fascia มีรูปร่างคล้ายเปลญวณ มีช่อง 3 ช่อง ทะลุผ่านออกไป คือ ด้านหลังเป็นทวารหนัก (Rectum) ด้านหน้ามีช่องคลอด (Vagina) และท่อปัสสาวะ (Urethra) ในเดือนท้ายๆของการตั้งครรภ์ Pelvis floor อ่อนนุ่มมาก และอ่อนตัวลงเนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขณะตั้งครรภ์
สิ่งที่คลอดออกมา (Passenger)
ขม่อม (Fontanelles)
ขม่อมหน้า (Anterior fontanelle หรือ Bregma) ปิดเมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน
ขม่อมหลัง (Posterior fontanelle) จะปิดเมื่ออายุ - 8 สัปดาห์ ขม่อมหลังเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะอ้างถึงกระดูกท้ายทอย ว่าอยู่หน้า (Anterior)หรือหลัง (Posterior)
คลำได้รูปตัว "Y" อยู่ทางด้านหน้าต่อช่องเชิงกราน คลอดได้ตามปกติ
เส้นผ่าศูนย์กลางของศีรษะทารก
Bi-parietal diameter ความยาวประมาณ 9.25 เซนติเมตร เป็นส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะทารกเมื่อมองในแนวระนาบ
Sub-Occipital Bregmatic (SOB) diameter มีความยาวประมาณ 9.5 เซนติเมตร คลอดปกติทรกที่อยู่ในทรงก้มเต็มที่และมียอดศีรษะ เป็นส่วนนำ จะใช้เส้นผ่าศูนย์กลาง SOB ผ่านช่องทางคลอดออกมา SOB เป็นเส้นผ่าศูนย์กลางที่สั้นที่สุด
Occipital Frontal (OF) ความยาวประมาณ 11.75 เชนติเมตร
Sub-Occipital Frontal (SOP) ความยาวประมาณ 9.5 - 10.5 เชนติเมตร
Sub-Mento Bregmatic (SMB) ยาวประมาณ 9 - 9.5 เชนติเมตร
Occipito-Mental (OM) ยาว ประมาณ 13.5 เชนติเมตร
รอยต่อระหว่างกระดูก (Suture)
Sagittal suture หรือ รอยต่อแสกกลาง สำคัญมากที่สุด
Lambdoidal suture
Coronal suture
Frontal suture
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนของทารกและมารดาที่มีผลต่อการคลอด
ส่วนนำ (Presentation)
ส่วนนำที่เป็นศีรษะ (Cephalic presentation)
ขม่อมหน้าเป็นส่วนนำ (Bregma presentation)
ขม่อมหน้าเป็นส่วนที่ลงมา ต่ำสุดในช่องเชิงกราน อยู่ในทรงเงยเล็กน้อย และมี OF ผ่านช่องเชิงกราน คลอดได้
หน้าผากเป็นส่วนนำ (Brow presentation หรือ Sinciput presentation)
หน้าผากเป็นส่วนที่ลงมาต่ำสุดในช่องเชิงกราน อยู่ในทรงเงยปานกลาง และมี OM ผ่านช่องเชิงกราน ไม่สามารถคลอดผ่านช่องคลอดได้
ยอดศีรษะเป็นส่วนนำ (Vertex presentation)
ทารกจะมียอดศีรษะเป็นส่วนนำได้จะต้องอยู่ในทรงก้มเต็มที่ และมี SOB ผ่านช่องเชิงกราน คลอดปกติ
หน้าเป็นส่วนนำ (Face presentation)
ทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ถ้าคางอยู่ทางด้านหน้า (Mentum anterior)
ส่วนนำที่เป็นกัน (Breech presentation)
กัน (Buttocks) ทารกมีข้อสะโพกและข้อเข่างอ คล้ายนั่งขัดสมาธิ เรียกว่า Completed breech presentation
เท้า (Foot) ทารกมีข้อสะโพกและข้อเข่าเหยียด โดยเท้าข้างหนึ่งลงสู่ช่องเชิงกราน เรียกว่า Single footling presentation
เข่า (Knees) ทารกมีข้อสะโพกเหยียด แต่ข้อเข่างอ ถ้าข้อเข่างอข้างเดียว เรียกว่า Single kneeling presentation
จุดอ้างอิงบนส่วนนำ (Denominator)
4.1 Vertex presentation ใช้ส่วนท้ายทอย (Occiput) หรือ O เป็นจุดอ้างอิง
4.2 Brow presentation ใช้กระดูก Frontal หรือ Fเป็นจุดอ้างอิง
4.3 Face presentation ใช้คาง (Mentum) หรือ M เป็นจุดอ้างอิง
4.4 Breech presentation ใช้กระดูก Sacrum หรือ S เป็นจุดอ้างอิง
4.5 Shoulder presentation ใช้กระดูก Scapula (Sc) หรือ Acromion (Ac) เป็นจุดอ้างอิง
ทรงของทารก (Attitude)
ทรงก้มเต็มที่ (Flexion attitude)
ทารกก้มเต็มที่จะมียอดศีรษะเป็นส่วนนำ (Vertex presentation) และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง S0B ผ่านช่องทางคลอด ทารกจะคลอดปกติได้
ทรงเงย (Deflexion attitude)
เงยเล็กน้อย (Slightly degree of deflexion) Bregma presentation เส้นผ่าศูนย์กลาง OF จะผ่านช่องทางคลอดออกมา ทารกสามารถคลอดทางช่องคลอดได้
เงยปานกลาง (Moderate degree of deflexion) Brow presentation หรือ Sinciput presentation เส้นผ่านศูนย์กลาง OM คลอดไม่ได้ ถ้า ศีรษะไม่ก้มลงมาเพิ่มขึ้น
เงยเต็มที่ (Marked degree of deflexion หรือ Complete extension) Face presentation เส้นผ่าศูนย์กลาง SMB
ท่าของทารก (Position)
กรณีทารกมี Vertex presentation จะมี Occiput
(ใช้ตัวย่อว่า "O") เป็นจุดอ้างอิง
Occiput อยู่ในช่องบนซ้ายของเชิงกรานมารดา ท่าของ
ทารก คือ LOA (Left occiput anterior)
Occiput อยู่ในช่องบนขวาของเชิงกรานมารดา ท่าของ
ทารก คือ ROA (Right occiput anterior)
Occiput อยู่ในช่องล่างซ้ายของเชิงกรานมารดา ท่าของทารก คือ LOP (Left occiput posterior)
Occiput อยู่ในช่องล่างขวาของเชิงกรานมารดา ท่าของทารก คือ ROP (Right occiput posterior)
ส่วนนำ Denominator เป็น Mentum (ใช้ตัวย่อว่า "M")
หลังทารกอยู่ด้านซ้ายมือของมารดา และ Mentum อยู่ช่องซ้ายบนของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ LMA
หลังทารกอยู่ด้านขวามือของมารดา และ Mentum อยู่ช่องขวาบนของเชิงกราน ท่าของทารกทารกในครรภ์คือ RMA
Mentum อยู่ช่องขวาล่างของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ RMP
Mentum อยู่ช่องซ้ายล่างของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ LMP
กรณีที่ทำของทารกเป็น LMP หรือ RMP จะไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
กรณีกันเป็นส่วนนำ Denominator เป็น Sacrum (ใช้ตัวย่อว่า "S")
ถ้าหลังทารกอยู่ด้านซ้ายมือของมารดา และ Sacrum อยู่ช่องซ้ายบนของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ LSA. - ถ้าหลังทารกอยู่ด้านขวามือของมารตา และ Sacrum อยู่ช่องขวาบนของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ RSA
ถ้า Sacrumอยู่ช่องขวาล่างของเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ RSP
Sacrum อยู่ช่องซ้ายเชิงกราน ท่าของทารกในครรภ์คือ LSP
แนวของทารกในครรภ์ (Lie)
แนวตามยาว (Longitudinal lie)
แนวตามขวาง (Transverse lie)
กระดูกกะโหลกศีรษะ
Frontal bones มี 2 ชิ้น
Parietal bones มี 2 ชิ้น
Temporal bones มี 2 ชิ้
Occipital bones มี 1 ชิ้น
Sphenoid bone
ส่วนต่างๆ บนศีรษะทารก ที่มีความสำคัญต่อการคลอด
Occiput บนกระดูกท้ายทอย
Vertex ส่วนยอดศีรษะ
Bregma บริเวรขม่อมหน้า
Sinciput or Brow หน้าผาก
Face หน้า
Sub occiput
แรงในการคลอด (Power)
การหดรัดตัวของมดลูก (Uterine contraction หรือ Primary power)
แรงที่เกิด
จากการหดรัดตัวของมดลูก เป็นแรงที่ทำให้ปากมดลูกเปิดขยายและหดสั้น ช่วยผลักดันทารกออกสู่ภายนอก
แรงเบ่ง (Bearing down effort หรือ Secondary power)
เป็นแรงที่เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลม ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น แรงเบ่งมีความสำคัญต่อระยะ ที่ 2 ของการคลอด โดยเสริมแรงการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้แรงดันภายในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น 1-2 เท่า (ประมาณ 110-130 มิลลิเมตรปรอท) จึงสามารถผลักดันทารกและรกออกจากโพรงมดลูกได้
สภาพจิตใจของผู้คลอด (Psychological condition หรือ Psyche)
ผู้คลอดมีความวิตกกังวล และมีความเครียดสูง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามปกติของ
กระบวนการเจ็บครรภ์และการคลอด เนื่องจากร่างกายจะหลั่งอิพิเนฟฟริน (Epinephrine) หรือแคททิโคลา
มีน (Catecholamines) ไปกระตุ้นตัวรับรู้ของกล้ามเนื้อมดลูกและรบกวนจังหวะการเจ็บครรภ์คลอดตาม
ธรรมชาติ มีผลทำให้รูปแบบการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีและเป็นผลให้การเจ็บครรภ์คลอดยาวนานขึ้น
ความวิตกกังวลยังทำให้การรับรู้ความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการในการใช้ยาแก้
ปวดหรือยาระงับความรู้สึกเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของผู้คลอด ได้แก่ การขาดความรู้ ความกลัวความเจ็บปวด มีภาวะเครียด ขาดการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้สึกสูญเสียการควบคุม ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคลอด พื้นฐานทางวัฒนธรรมและความกังวลต่อความปลอดภัยของตนเอง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในการคลอด
ท่าของผู้คลอด (Position)
ท่านอน (Recumbent position)
ท่านอนหงาย
ไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์และคลอด
ท่านอนหงายยกศีรษะสูง 30 องศา
ช่วยลดความรุนแรงของภาวะ Supine hypotension
syndrome ได้ดีกว่าท่านอนหงายศีรษะราบ
ท่านอนตะแคง
ดีกว่าท่านอนหงายยกศีรษะสูง 30 องศาและท่านอนหงาย เพราะออกชิเจนจะไปเลี้ยงทารกได้มากขึ้น สามารถใช้ใด้ในระยะเบ่งคลอด
ท่ายกศีรษะสูง (Upright position)
ท่านั่ง
ช่วยเพิ่มความสุขสบาย
ท่านั่งยอง ๆ
ผู้คลอดสามารถมีส่วนร่วมในการคลอด สะดวกต่อ
การนวดหลังมีความสุขสบายเพิ่มขึ้น และช่วยเสริมแรงในการเบ่งคลอดแต่มีข้อ เสีย คือ ยากต่อการฟังอัตรา การเต้นของหัวใจทารก และมองไม่เห็นผีเย็บเวลาจะใช้เครื่องมือช่วยคลอด และทำให้เกิดแรงกดบริเวณฝีเย็บทำให้ฝีเย็บบวมได้
ท่าคุกเข่า
ช่วยลดภาวะอันตรายต่อทารก แต่มีข้อเสียคือ อาจเกิดการปวดเมื่อยบริเวณข้อมือ และไม่สะดวกต่อการฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารก
สภาพร่างกายของผู้คลอด (Physical condition)
ปัจจัยภายนอก
บุคลากรทีมสุขภาพ (Professional providers) ได้แก่ แพทย์ พยาบาล หรือผดุงครรภ์
สถานที่คลอด (Place of birth)
ขั้นตอนการปฏิบัติต่อผู้คลอด (Procedures)
บุคคลรอบข้าง (People: Nonprofessionals)
นโยบายและรูปแบบของการให้บริการ (Politics: Social context)
การเผชิญความกดดัน (Pressure interface)
กลไกการคลอดของทารกท่าปกติ
Engagement
การเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะของทารก (Molding)
การตะแคงของศีรษะ (Asynclitism)
Descent
ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงไปในช่องเชิงกราน
Flexion
แรงต้านทานเสียดสีของช่องทางคลอด ส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ศีรษะทารกก้ม
แรงผลักดันจากยอดมดลูกที่พุ่งตรงมาตามแนวกระดูกสันหลังของทารกขณะมดลูกหดรัดตัว ลำตัวของทารกที่อยู่ในรูปทรงไข่ (Fetal ovoid) เหยียดยาวออกและเคลื่อนต่ำลง
ลักษณะของช่องเชิงกราน ทารกนอนคว่ำหน้าอยู่ในท่า Occiput anterior position เคลื่อนผ่านลงไปในช่องเชิงกรานที่มีความลาดเอียงทางด้านหลัง จะเกิดแรงถ่วงจากน้ำหนักของศีรษะทารก ทำให้ศีรษะทารกก้มลง
แรงบีบจากผนังช่องทางคลอดโดยรอบศีรษะ บริเวณหน้าผากและท้ายทอย ซึ่งมีแรงกดจากผนังช่องทางคลอดมากกว่าบริเวณอื่น แรงนี้จะช่วยให้ศีรษะทารกก้มได้มากขึ้น
Internal rotation
เมื่อทารกเคลื่อนต่ำลงมาถึงช่องออกเชิงกราน ทารกต้องหมุนท้ายทอยไปทางด้านหน้า OA เพื่อให้รอยต่อแสกกลางอยู่ในแนวหน้า-หลัง เพื่อให้สัมพันธ์กับแนวที่กว้างที่สุดของช่องออกเชิงกรานและสามารถคลอดปกติได้เช่น
ท่า LOA ศีรษะจะมีการหมุนภายในแบบทวนเข็ม นาฬิกา หรือหมุนมาทางด้านขวามือของมารดา 45 องศา
LOT ศีรษะจะมีการหมุนภายในทวนเข็มนาฬิกา 90 องศา
Extension
เมื่อมีการหมุนภายในของศีรษะทารกแล้ว ทารกจะใช้ส่วน Subocciput เป็นจุดหมุน ยันกับใต้รอยต่อกระดูกหัวหน่าว ศีรษะทารกจะคลอดโดยการเงยหน้าเอา Suboccipito-bregmatic (SOB) Suboccipitofrontal (SOF) และ Suboccipito-mentum (SOM) ผ่านช่องทางคลอดออกมา
Restitution
เพื่อให้สัมพันธ์กับส่วนของทารกที่อยู่ภายในช่องทางคลอด หลังจากที่ศีรษะทารกมี Internal rotation โดยสมบูรณ์แล้ว ศีรษะทารกจะเงยขึ้น (Extension) ทารกจะอยู่ในลักษณะคอบิดผิดธรรมชาติ เพราะไหล่ซึ่งอยู่ในแนวเฉียงไม่ได้หมุนตามศีรษะการหมุนนี้จะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนภายในของศีรษะในระยะทางที่เท่ากัน เช่น
กลไกการคลอดปกติท่า LOA ศีรษะมีการหมุนกลับมาทางซ้ายมือมารดาหรือหมุนตามเข็มนาฬิกา 45 องศา
External rotation
การหมุนของศีรษะภายนอกช่องคลอดเพื่อให้ศีรษะและไหล่ตั้งฉากกันตามธรรมชาติ ศีรษะทารกที่อยู่ภายนอก ช่องคลอดมีการหมุนตาม (External rotation โดยหมุนไปในทิศทางเดียวกับการหมุนของไหลในระยะทางที่เท่ากัน
คลอดท่า LOA ศีรษะมีการหมุนต่อจาก Restitution อีก 45 องศา โดยหมุนไปในทิศทางเดียวกับ Restitution คือ หมุนตามเข็มนาฬิกา หรือ หมุนไปทางซ้ายมือผู้คลอด 45 องศา
Expulsion
การขับเคลื่อนเอาตัวทารกออกมาทั้งหมด
สรุป
กลไกการคลอดที่ทารกผ่านช่องเชิงกรานตอนบน
Engagement
Flexion
กลไกการคลอดที่ทารกผ่านช่องเชิงกรานตอนล่าง
Internal rotation
Extension
กลไกที่เกิดขึ้นกับส่วนของทารกภายนอกช่อง
คลอดRestitution และ External rotation
Explusion
สรีรวิทยาขอวการคลอดและการตอบสนองทางด้านร่างกายและกระบวนการคลอด
การตอบสนองทางด้านร่างกายและจิตสังคมต่อกระบวนการคลอด
การตอบสนองทางด้านร่างกายของผู้คลอดต่อกระบวนการคลอด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system)
CO เพิ่มขึ้น เกิดจากผลของความเจ็บปวดและการหดรัดตัวของมดลูกทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
เจ็บครรภ์คลอดผู้คลอดมีกิจกรรมทางด้านร่างกายสูงขึ้น ทำให้เพิ่มการใช้ออกชิเจนมากขึ้น ถ้าผู้คลอดหายใจเร็วและตื้น จะขับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากขึ้น
ระบบทางเดินอาหารและลำไส้ (Gastrointestinal system)
ระหว่างเจ็บครรภ์คลอดอาจมีผลทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้มีการเคลื่อนไหวและการดูดซึมลดลง และทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน
ระบบทางเดินปัสสาวะ (Renal system)
กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะถูกศีรษะทารกกด ความไม่สุขสบายจากการเจ็บครรภ์ ยาสลบที่ผู้คลอดได้รับ และอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้ถึง 1+ ซึ่งเป็นผลจากการถูกทำเนื้อเยื่อจากกาทำงานของร่างกายขณะเจ็บครรภ์คลอด
การตอบสนองทางด้านร่างกายของทารกต่อกระบวนการคลอด
ความสมดุลกรด-ด่าง (Acid-base balance)
ในขณะใกล้คลอด PH จะลดลงเพราะการหดรัดตัวของมดลูกจะขัดขวางการแลกเปลี่ยนออกชิเจนของรกและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากค่า pH ของมารดาในระยะนี้ลดต่ำลงด้วย
การหายใจและการเคลื่อนไหว (Breathing and movement)
การเคลื่อนไหวลำตัวทารกไม่ทำให้การหายใจเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกไปแล้วอาจทำให้การหายใจลดลง ระหว่างทารกหลับสนิท อัตราการเต้นของหัวใจทารกอาจเปลี่ยนแปลงและการหายใจของทารกจะลดลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system)
ทารกที่มีสุขภาพดีจะมีออกซิเจนสำรองในมดลูกอัตราการเต้นของหัวใจทารกอาจจะลดลงระหว่างมดลูกหดรัดตัว
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของผู้คลอดระยะคลอด
ความวิตกกังวลและความกลัว (Anxiety & Fear)
สาเหตุของความวิตกกังวลมีดังนี้
สิ่งแวดล้อมในห้องคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะคลอด
ความเจ็บปวดจากการที่มดลูกหดรัดตัว
การขาดความรู้หรือรู้ผิด ๆ จากการคิดไปเอง
ความกลัวเกี่ยวกับตนเอง
ตื่นเต้นและไม่แน่ใจ (Excitement and Uncertainty)
การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ (Alterations in Body Image)
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavioral changes)
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงภายในถุงน้ำคร่ำ
น้ำส่วนที่อยู่เหนือส่วนนำ เรียกว่า Hind water
น้ำส่วนที่อยู่ใต้ส่วนนำ เรียกว่า Fore water เป็นเสมือนลิ่มช่วยถ่างขยายปากมดลูกในระยะแรก ๆ ของการคลอด
การที่ส่วนนำลงมาอุดกั้นน้ำคร่ำออกเป็น 2 ส่วน ก่อให้เกิดประโยชน์คือ ทำให้แรงดันที่เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเอ็นต่าง ๆ ที่ยึดมดลูก
Round ligament ซึ่งยึดระหว่างด้านหน้าของมดลูกบริเวณต่ำกว่า Cornu ผ่านช่วงขาหนีบไปติดต่อบริเวณข้างของกระดูกหัวเหน่า จะถูกดึงยึดตึงขณะมดลูกหดตัวยกสูงขึ้น ทำให้ช่วยดึงยอดมดลูกไปด้านหน้า ในกรณีที่เกิด Band's ring จะคล้ำ Round ligament ได้อย่างชัดเจนใต้ผนังหน้าท้อง
การเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก
การสั้นบางของปากมดลูก คอมดลูก (Cervical canal) สั้นลง เกิดเนื่องจากกล้ามเนื้อคอมดลูกถูกตึงรั้งขึ้นไปตามการยืดขยายของมดลูกส่วนล่าง
การเปิดขยายของปากมดลูก การเปิดกว้างออกของรูปากมดลูก
แบบแผนการเปิดขยายของปากมดลูก
การเกิดมูกหรือมูกเลือด เกิดการเจ็บครรภ์จริงขึ้นแล้ว และการมีมูกนการคลอดมีความก้าวหน้าขึ้นบอกให้รู้ว่าปากมดลูกเปิดมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่ศีรษะทารก
เปลี่ยนแปลงของลำตัว ลักษณะงองุ้ม เป็นผลจากแรงผลักจากยอดมดลูก กดลงมาบริเวณกันของเด็กแล้วผ่านลงมาตรง ตามแนวกระดูกสันหลัง โดยที่ศีรษะยังคงอยู่ในลักษณะเดิม
การเคลื่อนต่ำของทารก
เปลี่ยนแปลงของศีรษะทารก การเกิดก้อนโนและ การเกยกันของกระดูกศีรษะ
การหดรัดตัวของมดลูก
อยู่นอกอำนาจจิตใจ ผู้คลอดไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นหรือยับยั้งไม่ให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้
ใยกล้ามเนื้อมดลูกมีลักษณะพิเศษคือ ภายหลังจากการหดรัดตัวแต่ละครั้ง ใยกล้ามเนื้อจะคลายออกไม่เท่าความยาวเดิม
การหดรัดตัวของมดลูกเกิดเป็นระยะ
ความรุนแรงของการหดรัดตัวของมดลูก
อาการและอาการแสดงที่เข้าสู่ระยะคลอด
อาการท้องลด
อาการเจ็บครรภ์เตือน
ปากมดลูกนุ่มและบางตัว
ปากมดลูกนุ่มและบางตัว
มีสารคัดหลั่งจากช่องคลอด
ถุงน้ำทูนหัวแตก
อาการน้ำหนักลดและเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร
อ้างอิง
สาขาวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์. (2565). เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชา 10230159 การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2. (หน้า 1 - 62) .
https://healthjade.net/breech-birth/
https://medicalguidelines.msf.org/en/viewport/ONC/english/7-10-brow-presentation-51417609.html
https://www.merckmanuals.com/professional/multimedia/figure/position-and-presentation-of-the-fetus
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/download/162592/117372/450588
นางสาวจรัญญา อายุยืน 63010113 เซค 03