Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำผู้อื่น, นาย สรวิศ จิตรักษ์ 64012310169…
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำผู้อื่น
1) ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
เมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแล้ว นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยสินไหมทดแทน
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
1.ผู้ทำละเมิดเป็นลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 575
2.ทำละเมิดระหว่างเป็นลูกจ้าง
3.ลูกจ้างทำละเมิดในการที่จ้างหรือทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ผล คือ ตามมาตรา 575 แต่มีสิทธิไล่เบี้ยลูกจ้างตามมาตรา 426
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
เช่น เจ้าของเครื่องบินขับเครื่องบินไม่เป็น จึงให้แดงขับไปภูเก็ต โดยมีเจ้าของเครื่องบินนั่งไปด้วย ดังนี้แดงเป็นตัวแทนรับผิดร่วมกับเจ้าของเครื่องบิน
ความรับผิดของตัวการ
เช่น ก ตั้ง ข เป็นตัวแทนขายที่ดินแปลงหนึ่งของ ก ที่มีหลุมมาก แต่ ข หลอก ค ไปดูพื้นที่ที่ไม่มีหลุม และเป็นของบุคคลตามโฉนดของ ก ค ตกลงรับซื้อเพราะคิดว่าเป็นที่ดินของ ก ดังนั้น ก ต้องรับผิดร่วมกับ ข ด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำ 426 มาอนุโลมได้
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
2) ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามมาตรา 420
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ กล่าวคือ เป็นเรื่องที่สั่งให้ทำตามสัญญาที่ว่าจ้าง
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือ แม้งานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิด แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลเสียหายได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง กล่าวคือ จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถในงานที่จ้างให้ทำ จนเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
3) ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์หรือชั่วคราวต้องรับผิดร่วมกับบุคคลไร้ความสามารถในการทำละเมิดซึ่งได้กระทำในระหว่างที่อยู๋ในการดูแลของตน
มาตรา 430 บัญญัติว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดที่เขาได้กระทำลงในระหว่างการดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังสมควร
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องยอมรับผิดกับเขาด้วย
มาตรา 429 บัญญัติไว้ว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นนี้ย่อมต้องรับผิดกับเขาด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่หน้าที่แล้ว
นาย สรวิศ จิตรักษ์ 64012310169 เลขที่38