Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
-มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น (นายจ้าง ลูกจ้าง ) บุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ม.575-586
ตย.อุทาหรณ์ 1425 / 2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อการกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
1.2ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
นายจ้างลูกจ้างกันแล้ว เราจะต้องเข้าใจต่อไปว่าลูกจ้างทำละเมิดขึ้นนายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่ใช่การกระทำของนายจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบร่วม ตาม ม.430
ตย.อุทาหรณ์ ข. เป็นลูกจ้างของ ก. มีหน้าที่ซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีผู้มาจ้าง 1 ซ่อมโดยประมาทเลินเล่อขณะที่ทําการซ่อมตามหน้าที่ข. ทำเครื่องรับโทรทัศน์ของลูกค้าของก. เสียหายก. ต้องรับผิดต่อลูกค้าด้วย
วิธีการปฏิบัติ
-การกระทำกิจการงานย่อมที่จะปฏิบัติลุล่วงเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
ลูกกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดี่ยวกัน
ลูกจ้างปฏิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวจะเกิดละเมิดก็ยังถึอว่าเดิดขึ้นในทางการที่จ้าง
ตย.ขับรถถือโอกาสดื่มสุราไปด้วย จนชนคนข้างถนนนโดยประมาทเลินเล่อ
กรณีที่นายจ้างสั่งห้าม
นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันละเมิดโดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้างเป็นเพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างรับจ้างให้กระทำ
ตย.อุทาหรณ์ฎ. 1241/2502 จำเลยที่ 2 เป็นนายท้ายและควบคุมเรือยนต์ทำงานในฐานะลูกจ้างจำเลยที่ 1 และรับจ้างลากจูงเรือของโจทก์จำเลยที่ 2 ทำให้เรือบรรทุกข้าวของโจทก์ล่มโดยประมาทเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
การละเมิด เป็นที่เห็นได้ว่าการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้น แตกต่างกับการ
กระทำละเมิดจงใจเรียกกว่าเป็นเจตนาชั่วร้ายกระทำโดยจงใจ ม.420
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ม.426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเใิดอันลูกจ้ายได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
(ลูกจ้างสามารถชดใช้ให้แก่ตนได้
ม.229(3) ม.426) (นายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายจนกว่าหนี้จะชำระสิ้น ม.291
ตย.อุทาหรณ์ ฏ.648/2522 ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกต้องได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละดมิดของตนเอง
ลักษณะตัวการตัวแทน
-ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับกับความประพฤติทางปฏิบัติปกติของแทนตัวแทนจึงย่อมเพียงผู้เดี่ยว ตัวการไม่ต้องรับผิด(การละเมิดตัวแทน ม.807 )นายจ้างกิจการ(ของตัวการ ม.427 425 426 )
-ตัวแทน ม.797 อันสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทนมีอำนาจการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกตัวการ
ความรับผิดของตัวการ
-การรับต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นแทนใอบหมาย (ม.800) ยกเว้น (ม.801)วิญญูชนจะพึงกระทำก็ย่อมมีอำนาจทำได้ทั้งสิ้น (ม.802)
ตย.จ้างคนขับแทนในการซื้อรถยนต์
ลิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
-ม.427 ให้นำเอามาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยอนุโลม ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละดมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้นชอบที่จะได้ชดใช้ตัวแทน กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมปรับกับกรณีตัวการจัวแทน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคลอื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2550
จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดวิธีการให้ผู้รับจ้างตัดต้นไม้และให้คนควบคุมดูแลการตัดต้นไม้ตลอดเวลา แต่ในวันที่มีการตัดต้นไม้และทำให้ไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของโจทก์ขาดก่อให้เกิดความเสียหายกลับไม่มีผู้ใดควบคุม การที่ผู้รับจ้างไม่มีความรู้ความชำนาญในการตัดต้นไม้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างข้างเคียงหรือไม่ยอมทำตามวิธีการที่ถูกต้อง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา428
ผู้รับจ้างเป็นผู้ที่ทำความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วย
ผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำละเมิด
ตัวอย่าง นายเเดงจ้างนายดำสร้างบ้านให้นายดำจึงนำคนงานมาสร้างบ้าน
แล้วเกิดอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บ นายดำมีความผิดฐานที่ทำให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลภายนอก
2.2หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
หลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างกับลูกจ้างในสัญญาแรงงาน
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความรับผิดส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิดในคำสั่งที่นให้ไว้ กล่าวคือ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้
ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงดำแนะนำเท่านั้น
ตัวอย่าง แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนดกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความมผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง (ฏ. 821/2522) คือจ้างคนที่คนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
ตัวอย่าง
จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม่ไม่แน่นหนาเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างตีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
.ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับความผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้สามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด
เพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม เพราะนิติกรรมนั้นอาจเป็นโมฆียะได้ (มาตรา 21-28) เมื่อถูกบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะ
อธิบายแล้วว่าคำว่า "ผู้ใด" ตามมาตรา 420 หมายถึง บุคคลทุกชนิดซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตด้วย
มาตรา 429 บัญญัติว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถพราะเหตุเป็นผู้ยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้อง
รับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย
ว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าคนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
อุทาหรณ์
ฏ. 847/2498 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบ
ไม่ถึง แล้วสั่ง ก.ให้เก็บปืนไว้เฉย ๆ มิได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปินไปจาก ก.
แล้วยิงบุตรโจทก์ดาย เรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่
ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426) ไม่ใช่เรียกได้ตามส่วนเท่า ๆ กันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
3.2ความรับผิดครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความ
บุคคลต้องรับผิด
-มาตรา 430 ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดีชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีจำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร(มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถกับมาตรา 429 ความรับผิดชอบ)
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
-ความรับผิดตามมาตรา 430 ที่ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 429 ที่ว่าตามมาตรา 429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นจากความถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความผิด
อุทาหรณ์กรณีเกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลที่ทำอยู่
-ฎ. 356/2511 เป็นฎีกาเดียวกับที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับมาตรา 429) ในตอนเช้าครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอากระบอกพลูมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กมีให้เล่นต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลยิ่งกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ภายนอกไปแล้ว (มาตรา 431 และมาตรา 426) เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา 429
ตย.อุทาหรณ์ 4. 1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระดังนี้นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้วบิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วยจึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429