Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น :star: - Coggle Diagram
:star:ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น :star:
:red_flag:
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
:red_flag:
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การทำงานโดยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ที่ทำให้แก่นายจ้างเพื่อผลประโยชน์แก่นายจ้างและเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลหรือเกี่ยวเนื่องจากการปฎิบัติงานนั้น
ตัวอย่าง
วา เป็นคนขับรถของ สา มิใช่คนขับรถของโจทก์ โจทก์เป็นเพียงผู้โดยสารมาในรถตู้คันที่ วา. ขับในขณะเกิดเหตุโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และ วา ซึ่งกระทำร่วมกัน ส่วน สา แม้จะเป็นเจ้าของรถตู้คันเกิดเหตุและโดยสารมาในรถตู้คันดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า สา. มีส่วนประมาทเลินเล่อในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การที่ สา ถึงแก่ความตายจึงเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และ วา ซึ่งจำเลยที่ 1 กับ วา ต้องร่วมกันรับผิดต่อเด็กหญิง ณ ในผลแห่งการตายของ สด้วยเช่นกัน จำเลยที่ 1 และ วา จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ณ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษา
ตัวอย่าง
โจทก์โดยสารรถยนต์ที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ซับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโจทก์ต้องลางานเพื่อพักรักษาตัวจนเกินกว่าระยะเวลาที่นายจ้างของโจทก์กำหนดให้นายจ้างจึงไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์เพราะเป็นสิทธิเมื่อการพิจารณาขั้นเงินเดือนมีอัตรากำหนดแน่นอนแล้วการที่โจทก์ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด :
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
การเป็นตัวการตัวแทนเป็นเรื่องหมอบหมายให้ทำหน้าที่ หรือมอบหมายให้ทำกิจการแทน
ตัวอย่าง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามที่ตกลงไว้กับผู้โดยสาร เมื่อไม่สามารถส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นต่อไปได้ เพราะมีรถไฟตกรางอยู่ข้างหน้า จำเลยที่ 9 ย่อมมีหน้าที่จัดหายานพาหนะอื่นขนส่งโจทก์ทั้งสองและผู้โดยสารอื่นไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง อันเป็นการรับขนส่งผู้โดยสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 608, 609 และ พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 จำเลยที่ 9 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งโดยสารทางรถยนต์รับขนถ่ายผู้โดยสารจากขบวนรถไฟของจำเลยที่ 9 ที่ปรากฏแก่โจทก์ทั้งสองและบุคคลภายนอกซึ่งไปมาระหว่างสถานีรถไฟ ล. กับสถานีรถไฟ ค. จึงเป็นการทำแทนจำเลยที่ 9 นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 9 กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 จึงอยู่ในฐานะตัวการและตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างและการปฎิบัติงานในขอบเขตของการจ้างของจ้างมาตรา
:check:
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
:check:
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำ
ของบุคคลอื่น
กรณีให้ผู้ว่าจ้างรับผิดมาตรา ๔๒๘ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทํางานที่ว่าจ้างเพราะผู้ว่าจ้างไม่มีอ๋านาจบังคับบัญชา•ข้อยกเว้น ๓ กรณีที่กำหนดให้ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดหากไม่เข้าข้อยกเว้นผู้เสียหายมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด
ตามมาตรา ๔๒๘
ผู้รับจ้างเป็นผู้ที่ทำความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทําด้วยผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำละเมิด
ตัวอย่าง
คำสั่งของจำเลยผู้ว่าจ้างที่สั่งส. ผู้รับจ้างว่าให้ทำการก่อสร้างอาคารไปตามแบบแปลนี้จําเลยได้ยื่นไว้ต่อเทศบาลและเทศบาลได้อนุญาตแล้วเป็นคำสั่งกำชับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยผู้ว่าจ้างกับส. ผู้รับจ้างไม่เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำการก่อสร้างอาคารของส. ผู้รับจ้างข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจําเลยเป็นผู้สั่งให้ส. ตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของส. ผู้รับจ้างเองจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์"
มาตรา 428
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
1.รับผิดเพราะการงานที่สั่งให้ทำ
จ้างให้ฝังเสาเข็มโดยไม่ได้กำหนดวิธีการฝังเสาเข็มไว้เมื่อผู้รับจ้างตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างข้างเคียงผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
2.รับผิดเพราะคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิดในคำสั่งกล่าวคือ
งานที่จ้างนั้นโดยสภาพแล้วไม่เป็นละเมิด แต่มีเหตุละเมิดเกิดขึ้นเนื่องจากคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
ตัวอย่าง
สั่งให้คนขับรถแท็กซี่ขับด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ทันเครื่องบินทําให้รถแท็กซี่เสียหลักชนบุคคลอื่น
3.ความผิดในการเลือกหาผู้จ้าง คือจ้างคนที่รู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพงานของงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
ตัวอย่าง
การจ้างคนไม่ดีหรือไม่มีความสามารถจ้างเขาสร้างอาคารสูง ๆ ทั้งๆที่ผู้รับจ้างก่อสร้างได้เฉพาะห้องแถวธรรมดาเพียงชั้นสองชั้น แต่ไปจ้างให้เขาสร้างคอนโดมิเนียมสูง ๒๐-๓๐ ชั้นถือว่าผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
:black_flag:
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
:black_flag:
มาตรา429วางหลักไว้ว่า
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ตัวอย่าง
คนอายุ 92 ปี ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้สึกตัว พูดรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ถือเป็นคนวิกลจริตแล้ว
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิดมาตรา430 วางหลักไว้ว่า
ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
มาตรา 430 นี้แตกต่างจากมาตรา 429 ในเรื่องหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์ กล่าวคือ กรณีตามมาตรา 430 นั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ผู้เสียหาย การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไปตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอดพฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วเหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ครูจึงไม่ต้องรับผิด
รับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขา
สิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้ไร้ความสามารถได้เมื่อได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนผู้รับดูแลไม่มีสิทธิไล่เบี้ยต่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลเพราะผู้ไร้ความสามารถให้แก่ผู้เสียหายแล้วมิได้ทำละเมิดต่อผู้ดูแล