Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิด ในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิด
ในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลเเห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การกระทำละเมิดนั้นต้องเกิดในทางการที่นายจ้างจ้าง นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะลักษณะละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะก่อขึ้นเเก่ผู้ใด หากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างเเล้วก็ไม่ต้องร่วมรับผิด
ตัวอย่างเช่น
ข.เป็นลูกจ้างของก. มีหน้าที่ซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีผู้มาจ้าง ก.ซ่อมโดยประมาทเลินเล่อ ขณะที่ทำการซ่อมตามหน้าที่ ข. ทำเครื่องรับโทรทัศน์ของลูกค้าของก. เสียหาย ก.ต้องรับผิดต่อลูกค้าด้วย
ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง เเต่การที่ได้รับมอบอำนาจไม่ใช่เเก่การกระทำในทางการที่จ้าง ซึ้งเเม้ลูกจ้างจะเป็นผูู้กระทำเเต่ไม่ได้รับมอบอำนาจ
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้ผู้เสียหายไปเเล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้เเก่ตนได้
นายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู็เสียหายนั้น นายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง
ตัวอย่าง ลูกจ้างทำการละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาเเล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ เเต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้เเก่ผู้เสียหายจามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลเเห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
1.1.1 ลักษณะของนายจ้าง ลูกจ้าง
ความหมายของ นายจ้าง ลูกจ้าง
สัญญาจ้างเเรงงานตามมาตรา 575 "อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
ถ้าหากไม่มีสินจ้างก็ย่อมไม่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันในสัญญาจ้างเเรงงาน
จะใช้ถ้อยคำเรียกชื่อสัญญากันว่าอย่างไรหรือจะเรียกกันว่าอย่างไรไม่สำคัญ ถ้าเข้าลักษณะสัญญาจ้างเเรงงานเเล้ว ย่อมเป็นสัญญาจ้างเเรงงาน
ในสัญญาจ้างเเรงงาน นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการได้ เเละลูกจ้างต้องปฎิบัติตามคำสั่งเจ้านายเสมอ เเต่ต้องเป็นคำสั่งเกี่ยวกับงาน
ข้อสังเกต ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการเเละระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทบวงกรมที่ตนสังกัดอยู่นั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
1.1.2 ในทางการที่จ้าง
หากเป็นการละเมิดในทางการที่จ้างเเล้วนายจ้างจะต้องรับผิดร่วมด้วย
หากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างเเล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
นายจ้างจะต้องรับผิดร่วมด้วยก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติไว้โดยเเจ้งชัดเป็นพิเศษ เช่น ตามมาตรา 430
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับเเก่ตัวการด้วยโดบอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ชดใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกเเล้วตัวการสามารถไล่เบี้ยชดใช้จากตัวเเทนได้
ลักษณะตัวการตัวเเทน เหตุที่ตัวเเทนไม่ใช่ลูกจ้างโดยปกติตัวเเทนจึงย่อมมีความผิดเเต่เพียงผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดในผลของการละเมิดที่ตัวเเทนอาจก่อขึ้น
ความรับผิดของตัวการ เหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตเเห่งการปฎิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวเเทนได้ทำการเป็ฯตัวเเทน
ตัวเเทนในการซื้อรถยนต์ก็ย่อมมีอำนาจทำการใดที่จะให้ได้รถยนต์นั้นมาเป็นของตัวการ เช่น จ้างคนขับรถมาส่งให้เเก่ตัวการ
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ตามมาตรา 426 จึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เมื่อมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นจึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามมาตรา 420
เช่น ผู้ว่าจ้างทำของเป็นคนเลือกผู้รับจ้างที่ตนรู้อยู่เเล้วว่าฝีมือไม่ดีเมื่องานที่ออกมาไม่สวยทำให้เกิดความเสียหาย จะถือว่าผู้จ้างทำละเมิดมิได้
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง
เช่น นายไก่ได้ไปจ้างช่างทำตุ๊กตาเเมวขึ้นมาหนึ่งตัว นายไก่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกวิธีการทำ เพราะ ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่ช่างทำตุ๊กตาจะดำเนินการขั้นตอนตามเเบบของตน
การจ้างทำของ
ตัวอย่าง นายก.บอกนายข. ให้สร้างบ้านให้เมื่อถึงระยะเวลากำหนดเเล้วบ้านต้องเสร็จ เเตกต่างจากจ้างเเรงงานตรงที่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดบ้านยังไม่ต้องเสร็จก็ได้ขอเเต่ได้ทำตามหน้าที่ก็พอเเล้ว
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 เห็นได้ว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นเเก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่จ้าง
ตัวอย่างเช่น
นายก.เจ้าของรถยนต์นำรถไปซ่อมที่ร้านซ่อมรถ เเล้วนายก.ได้วานให้ช่างซ่อมรถคันนั้นไปส่งที่อื่นเมื่อส่งเสร็จเเล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับร้านซ่อม เกิดขับรถชนรถจักรยานยนต์ของบุคคลภายนอก ดังนั้น ช่างซ่อมรถไม่ได้อยู๋ในฐานะเป็นตัวเเทนหรือลูกจ้าง เป็นเรื่องของจ้างทำของ นายก.จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนี้ เพราะ เป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ไม่ใช่การกระทำของผู็ว่าจ้าง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามกฎหมาย 3 กรณี
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนเป็นการละเมิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ เป็นเพียงคำเเนะนำเท่านั้น
เช่น เเนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาบ้านใกล้ชิดกับเเนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาน้ำไหลลากลงในที่ดินข้างเคียง
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง การจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู็มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรเเก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
เช่น อยากจะต่อสายไฟลงใต้ดิน เเต่ช่างไฟคิดราคาเเพงมากเลยไปจ้างให้ช่างประปามาทำเเทนจึงเป็นผลให้เกิดไฟรั่วขึ้นมา ทำให้บุคคลอื่นที่เดินผ่านไปผ่านมาหน้าบ้านหลังนี้ได้รับความเสียหาย ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมด้วย เว้นเเต่ จะไม่รู็เเละเชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างกล่าวอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกไปเเล้วก็ชอบที่จะใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตเเละไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ตามมาตรา 429 พิเคาระห์ออกมาได้ว่า ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ เมื่อทำละเมิดก็ต้องรับผิดเเต่ไม่ได้ความว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก่อความเสียหายขึ้นเเล้วต้องรับผิดฐานละเมิดทุกกรณีไป
เช่น ทารกเเรกเกิดอุจจาระใส่จานข้าวของบุคคลอื่น ไม่เป็นความเสียหายฐานทำละเมิด เมื่อตัวผู้กระทำไม่ต้องรับผิด บิดามารดาก้ไม่ต้องรับผิดด้วย
การที่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้นั้นก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 420 นั้นคือจะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นซึ่งบิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ต้องรับผิดร่วมด้วย เว้นเเต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ดูเเลเเล้ว
เช่น บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืน บิดาของเขาถึงเก็บเก็บปืนไว้ในตู้อย่างดีโดยล็อคกุญเเจไว้เเต่น้าของเขามีกุญเเจเลยเปิดตู้เพื่อเอาของอย่างอื่นเเต่ลืมล็อคตู้กลับไว้เหมือนเดิมโดยไม่รู้ว่าในตู้มีปืนอยู่ บุตรเลยหยิบปืนออกมาเล่นจนเผลอไปยิงบุคคลอื่นเสียชีวิต
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูเเลผู้ไร้ความสามารถได้ชดใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกไปเเล้ว ก็ชอบที่จะชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถเเละไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
เช่น บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักยานยนต์ไปซื้อของเเละทำธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ดูเเลซึ่งทำนั้นเเล้วบบิดากลับสนับสนุนให้ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429
ความรับผิดตามมาตรา 430 ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 429 ที่ว่ามาตรา 429 บัญญัติ ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความรับผิดเเต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูเเลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ที่ต้องดูเเล