Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๔๒๙ บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา ๔๓๐ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดีชั่วครั่งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกันบผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหวางที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ความระมัดระวังตามสทควร
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความผิดของตัวแทน
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา ๔๒๘ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการง่นสั่งให้ทำ หือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเสือกหาผู้รับจ้าง
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
ทาตรา ๔๒๕ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ่างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการจ้างนั้น
จ้างแรงงาน
๑.เป็นความสัมพันธ์ของนายจ้า-ลูกจ้าง ๒.ไม่ถือเอาความสำเร็จของงาน ๓.นายจ้างตกลงจะจ้ายสินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำให้ ๔.นายจ้างมีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาลูกจ้าง
จ้างทำของ
๑.เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้าง-ผู้รับจ้าง ๒.ถือเอาความสำเร็จของงาน ๓.ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายสินจ้างเพื่อผลสำเร็จของงาน ๔.ผู้ว่าจ่างไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาผู้รับจ้างได้
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
คำว่า"ในทางที่จ้าง"หมายถึงการทำงานโดยวิธีหนึ่งวิธีใดก็ได้ที่ทำให้แก่นายจ้างหรือเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง และเหตุที่เกิดขึ้นก็เป็นผลหรือเกี่ยวเนื่องจากการปฏิบัติงานนั้น
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา ๔๒๖ นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวแทนคืออะไรนั้น ปพพ.มาตรา ๗๙๗ บัญญัติว่าอันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น