Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างนั้นลูกจ้างต้องกระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420
คำว่า "ลูกจ้าง" "นายจ้าง" นั้นคือ บุคคล 2 ฝ่ายที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานและถึงแม้จะไม่เรียกกันว่าสัญญาจ้างแรงงานก็ถือ่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เช่น สัญญาจ้างทำความสะอาดบริเวณบ้าน สัญญาทำครัว ซึ่งนายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามที่ตนสั่งได้แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้างและลูกจ้างต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ ตัวอย่างเช่น นายเอ จ้างให้นายบี มาทำความสะอาดบ้านให้เมื่อนายบีตกลงสัญญาจ้างงานแล้วนายบีก็จะต้องมาทำความสะอาดบ้านให้นายเอ
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดร่วมกับตัวลูกจ้างอันเกิดจากการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง เช่น นายเก้าลูกจ้างของนายโชคขับรถส่งของให้นายโชคแต่ในขณะนั้นนายเก้ากลัวจะไปส่งของให้นายโชคสายแล้วทางด้านหน้าเป็นสี่แยกไฟแดงนายเก้าจึงตัดสินใจฝ่าไฟแดงแล้วได้ประสบอุบัติเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่รถคันอื่นนายโชคผู้เป็นนายจ้างจึงจะต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดครั้งนี้ด้วย
ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้าง เพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและระหว่างข้าราชการกับกระทรวง ทบวง กรม ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
มาตรา 425 บัญญัติไว้ว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติไว้ว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เหตุที่ลูกจ้างไปทำละเมิดแก่บุคคลภายนอกเพียงลำพัง นายจ้างและลูกจ้างก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่จำเป็นต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วยหลังจากนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแล้วนายจ้างสามารถไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้ (มาตรา 229อนุ3 และ มาตรา 426) ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างทำละเมิด แล้วนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมไปตามคำพิพากษาแล้วสามารถไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การกระทำละเมิดนั้นเกิดในทางการที่นายจ้างจ้างนายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย แม้การละเมิดจะเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ตัวอย่างเช่น นายไก่ขับรถส่งของให้นายเป็ดและในขณะที่ขับรถส่งของอยู่มีรถคันหนึ่งปาดหน้ารถของนายไก่ทำให้นายไก่หัวร้อนจึงขับรถชนรถคนที่ปาดหน้าจนทำให้รถคันนั้นพลิกคว่ำ นายเป็ดผู้ว่าจ้างก็จะต้องในการละเมิดที่จงใจกับลูกจ้างด้วย
แต่ถ้าหากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องร่วมรับผิด ตัวอย่างเช่น นายไก่พนักงานขับรถส่งของของนายเป็ดได้ขับรถไปชนคนตายแต่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเวลานั้นเป็นนอกเวลางานแล้วไม่ได้ทำการขนส่งของใดๆด้วยข้อเท็จจริงนายเป็ดนายจ้างจึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อการทำละเมิดครั้งนี้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ความรับผิดของตัวการ เหตุที่ตัวแทนทำละเมิดนั้นตัวการต้องรับผิดร่วมด้วยก็ต่อเมื่อตัวแทนได้ทำละเมิดอยู่ในขอบเขตแห่งการปฎิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการ เช่น ตัวการมอบอำนาจให้ตัวแทนไปส่งลูกค้าแทนตนและตัวแทนได้ขับรถประสบอุบัติเหตุตัวการต้องร่วมรับผิดด้วย
ลักษณะตัวการตัวแทน เป็นความสัมพันธ์ที่มีความคล้ายคลึงกันทางกฎหมายกับความสัมพันธ์นายจ้างและลูกจ้างกฎหมายจึงอนุโลมให้นำบทบัญญัติ มาตรา 426 และ425 มาใช้ได้ตามที่มาตรา 427 ได้บัญญัติไว้
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกแล้วตัวการสามารถไล่เบี้ยชดใช้จากตัวแทนได้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ตามมาตรา 426 จึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดนการกระทำของบุคคลอื่น เมื่อมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นจึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างใในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 420 ตัวอย่างเช่น ผู้ว่าจ้างทำของเป็นคนเลือกผู้รับจ้างที่ตนรู้อยู่แล้วว่าฝีมือไม่ดี เมื่องานที่ออกมาไม่สวยทำให้เกิดคววามเสียหาย จะถือว่าผู้รับจ้างทำละเมิดมิได้
การจ้างทำของ ตัวอย่างเช่น นายแดงบอกนายดำสร้างบ้านให้เมื่อถึงระยะเวลากำหนดแล้วบ้านต้องเสร็จแตกต่างจากจ้างแรงงานตรงที่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดบ้านไม่ต้องเสร็จก็ได้ขอแต่ได้ทำตามหน้าที่ก็พอแล้ว
จ้างทำของ = ต้องทำเป้าหมายให้เรียบร้อยเสร็จสิ้น
จ้างแรงงาน = ไม่ต้องเสร็จก็ได้
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ตัวอย่างเช่น นายไก่ไปจ้างช่างทำตุ๊กตาแมวขึ้นมาตัวหนึ่งนายไก่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกวิธีการการทำ เพราะ ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่ช่างจะดำเนินการขั้นตอนตามแบบตนเอง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ตามมาตรา 428 เห็นได้ว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่จ้าง ตัวอย่างเช่น นายไก่เจ้าของรถยนต์นำรถไปซ่อมที่ร้านซ่อมรถ แล้วนายไก่ได้วานให้ช่างซ่อมรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับร้าน่อม เกิดขับรถชนรถจักรยานยนต์ของบุคคลภายนอก ดังนั้น ช่างซ่อมไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นตัแทนหรือลูกจ้าง เป็นเรื่องของจ้างทำของ นายไก่จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนี้ เพราะ เป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามกฎหมายกำหนดไว้ 3 กรณี
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเมื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
2.ความผิดใในคำสั่งที่ตนให้ไว้ เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาน้ำไหลลากลงในที่ดินข้างเคียง
3.คามผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด ตัวอย่างเช่น อยากจะต่อสายไฟลงใต้ดินแต่ช่างไฟคิดราคาแพงเลยไปจ้างให้ช่างประปามาทำแทนจึงเป็นผลทำให้เกิดไฟรั่วขึ้นมาบนดินทำให้บุคคลอื่นที่เดินผ่านบ้านหลังนี้ได้รับความเสียหาย ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดร่วมด้วย เว้นแต่ จะไม่รู้และชเื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 429 พิเคราะห์ออกมาได้ว่า ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ เมื่อทำละเมิดก็ต้องรับผิดแต่ไม่ได้ความว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก่อความเสียหายขึ้นแล้วต้องรับผิดฐานละเมิดทุกกรณีไป ตัวอย่างเช่น ทารกแรกเกิดอุจจาระใส่จานข้าวบุคคลอื่น ไม่เป็นความเสียหายฐานทำละเมิด เมื่อตัวผู้กระทำไม่ต้องรับผิด บิดามารดาก็ไม่ต้องรับผิดด้วย
การที่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้นั้นก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 420 กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ คือ จะต้องรู้สำนึกถึงความเสียหายที่ตนจะได้กระทำ
ประมาทเลินเล่อ คือ ไม่จงใจแต่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ความรับผิดตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นซึ่งบิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ต้องรับผิดร่วมด้วย เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว
ตัวอย่างเช่น บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก บิดาของเขาถึงเก็บปืนไว้ในตู้อย่างดีโดยล็อคกุญแจไว้ แต่น้าของเขามีกุญแจเลยเปิดตู้เพื่อเอาของอย่างอื่นแต่ลืมล็อคตู้กลับไว้เหมือนเดิมโดยไม่รู้ว่าในตู้มีปืนอยู่ บุตรเลยหยิบปืนออกมาเล่นจนเผลอไปยิงโดยบุคคลอื่นเสียชีวิต
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกแล้วก็ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
การที่ต้องรับผิดร่วมกับผู้ไรความสามารถตามมาตรานี้ เหตุการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้กระทำลงไประหว่างที่อยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นนั้น ตัวอย่างเช่น จ้างพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลเด็กวัย 12 ขวบให้จนถึงเวลา 2 ทุ่ม เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วพี่เลี้ยงก็กลับโดยล็อคบ้านเรียบร้อยแต่ข้อเท็จปรากฎว่าเด็กรู้ทางออกลัดของตัวบ้านเลยหนีออกจากบ้านแล้วปั่นรถจักรยานไปชนบุคคลอื่นด้วยความเร็วจนเกิดความเสียหายเป็นเหตุที่อยู่นอกเหนือเวลาการดูแลของพี่เลี้ยงพี่เลี้ยงจึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไรความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาได้จนครบกำหนดที่ได้ชดใช้
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลไร้ความสามารถ ในมาตรา 430 คือ ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว โดยบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงโดยไม่ได้หมายรวมถึงผู้ดูแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล