Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น, นายกรเดช คำมุเวียง 64012310505 เลขที่…
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
ที่ว่านายจ้างและลูกจ้างนั้น หมายถึง บุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงาน
เป็นถ้อยคำในบทบัญญัติกฎหมาย มิได้หมายความว่า ในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น ถ้าหากไม่เรียกว่าสัญญาจ้างแรงงาน ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ในทางปฏิบัติจะใช้ถ้อยคำเรียกชื่อสัญญาอย่างไรก็ได้ เช่น สัญญาจ้างทำความสะอาด สัญญาจ้างทำครัว เป็นต้น ลูกจ้างจะใช้คำว่าอย่างไรก็ได้ เช่น คนรับใช้ พนักงาน เป็นต้น
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล ซึ่งนายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามที่ต้องการ และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420
อุทาหรณ์
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วม
แต่การที่จะให้นายจ้างจะต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ตนเอง ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือเป็นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัว หรือมีเจตนาร้ายหรือความโกรธส่วนตัว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
เมื่อลูกจ้างทำละเมิดขึ้น นายจ้างยังหาต้องรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง จะต้องพิเคราะห์ต่อว่าการทำละเมิดนั้นได้เกิดในทางการที่นายจ้าง นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ไม่ว่าลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม
การพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง ต้องพิเคราะห์ดูว่าทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงาน แล้วจึงจะพิจารณาต่อไปว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการหรือไม่ เพราะขอบเขตของอำนาจย่อมรู้ได้จากลักษณะของงานนั้น ทั้งยังต้องพิจารณาอีกว่าขณะที่มีละเมิด ลูกจ้างได้ปฎิบัติตามที่จ้างหรือไม่ ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมของนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้าง เพียงแต่การละเมิดนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนนึงของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
อุทาหรณ์
ฎ.506/2498 ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด
1.ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน คือ ลูกจ้างปฏิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน จนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เพราะการที่จ้างปฏิบัติกิจส่วนตัว อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
2.กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นแต่เพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
อุทาหรณ์
ฎ. 1660/2518 การที่ลูกจ้างจำเลยเห็นคนทิ้งก้นบุหรี่ แล้วยังสูบน้ำมันเบนซินต่อไปจนเกิดเพลิงไหม้ รถของโจทก์เสียหายนั้น เป็นการกระทำของลูกจ้างจำเลยโดยประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ ตามมาตรา 420 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปว่าด้วยการละเมิด เห็นได้ว่าการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แตกต่างกับการกระทำละเมิดโดยจงใจ ซึ่งรวมที่เรียกว่า เจตนาร้าย
เพราะการกระทำโดยประมาทเลินเล่อมีระดับทางจิตใจอ่อนกว่าการกระทำโดยจงใจ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นการแสดงความไม่รอบคอบขาดความระมัดระวัง แต่การกระทำโดยจงใจเป็นเรื่องที่ผู้กระทำเล็งเห็นได้ว่า การกระทำของตน ถ้าทำลงไปแล้วจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้าง จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีเจตนาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง และไม่ใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้าง หรือโดยมีเจตนาร้าย หรือความโกรธ นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
อุทาหรณ์
ฎ. 2499/2524 การที่นายจ้างมอบอาวุธปืนให้ลูกจ้างไปใช้ในการอยู่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้าง และลูกจ้างใช้ปืนนั้นลอบไปยิงผู้เสียหายในขณะที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
อุทาหรณ์
ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้าง ถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ย เอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมทีๅ่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 797 มีใจความว่า “สัญญาตัวแทน คือ สัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการนั้น”
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง จึงต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกัน
ความรับผิดของตัวการ เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการ จึงต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่า ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการ ได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จไป
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะชดใช้จากตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนเช่นกัน
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด เพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ เพราะคำว่า “ผู้ใด” ในมาตรา 420 หมายถึง บุคคลทุกชนิด
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ย่อมเป็นตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 420 ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมมีฐานะทางจิตใจอยู่หลายระดับต่างกันไป บุคคลวิกลจริตก็อาจมีความตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เว้นแต่ความวิกลจริตนั้นจะมีมากจนไม่สามารถเข้าใจลักษณะและผลแห่งการ
กระทำของตน
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิด ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะเป็นเรื่องความบกพร่องในการควบคุมดูแล เมื่อไม่ได้ควบคุมดูแลก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องรับผิดและก็ไม่ใช่เรื่องที่จะหาคนมาร่วมรับผิดให้จงได้ เป็นเรื่องที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถต้องรับผิดตามลำพัง
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ ไม่ใช่เรียกได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติว่า “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ อยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ เช่นเดียวกับมาตรา 429 แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้มีหน้าที่ดูแล เพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริง และต่างกันที่ตัวผู้มีหน้าที่ดูแล เพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริง และต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มืได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว หากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราว ก็ต้องรับผิดเช่นกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ความรับผิดตาม 430 ต่างกับมาตรา 429
ตามมาตรา 429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรตามสมควรจีงจะพ้นความรับผิด ถ้าไม่นำสืบก็ไม่พ้นความรับผิด แต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดัง มาตรา 428
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด คือ บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425, 429 และ 430 โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
3.ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จีงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
มาตรานี้แสดงให้เห็นว่า หลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไป เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอก แล้วผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณี คือ
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ คือ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
นายกรเดช คำมุเวียง 64012310505 เลขที่ 113 กลุ่ม 1