Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
ตัวอย่าง ฎฺ.1425/2539 การที่ลูกจ้างได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อการกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย แต่การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงินไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
การเป็นนายจ้างและลูกจ้างนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรา 575 " อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ "
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
งานที่นายจ้างสั่งหรืองานที่นายจ้างมอบหมาย
ในบางครั้งงานที่ได้รับมอบหมายนั้นอาจจะไม่เกี่ยวกับงานในหน้าที่เลยก็ได้ เช่น คนขับรถประจำส่งสินค้าในวันเกิดเหตุนั้นลาป่วยนายจ้างให้คนที่ทำหน้าที่อื่นอยู่ไปทำหน้าที่ขับรถแทนลูกจ้างคนนั้น ขับรถไปส่งสินค้าถือว่าเป็นงานที่นอกเหนือหน้าที่ของเขาแต่นายจ้างสั่งให้ทำ ก็ถือว่าเป็นงานที่ได้รับมอบหมาย
งานที่ลูกจ้างปฏิบัติ ได้ทำไปด้วยความสำคัญผิดจนเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นนายจ้างก็ยังมีความรับผิด เช่นนายสถานีรถไฟจับกุมผู้โดยสารไว้โดยสำคัญผิดว่ายังไม่ได้เสียค่าโดยสารซึ่งหากไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญผิด นายสถานีรถไฟมีอำนาจจับกุมผู้โดยสารที่ไม่เสียค่าโดยสารได้ บริษัทรถไฟซึ่งเป็นนายจ้างต้องรับผิดด้วยเพราะ นายสถานีรถไฟกระทำไปด้วยความสำคัญผิดในขอบเขตทางกันที่ปฎิบัติหน้าที่
งานที่ลูกจ้างรับมอบมาลูกจ้างมอบหมายให้บุคคลอื่นทำต่อ หากบุคคลอื่นนั้นก่อเหตุละเมิดขึ้นนายจ้างต้องรับผิด
งานอื่นๆ ที่ลูกจ้างปฏิบัติเพื่อให้งานที่มอบหมายสำเร็จลุล่วง
กรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งหรือทำเกินคำสั่งนายจ้างไปบ้างนายจ้างจะเอาระเบียบหรือคำสั่งนั้นมาเป็นข้อแก้ตัวต่อบุคคลภายนอกไม่ได้
นายจ้างได้จ้างลูกจ้างนั้นแสดงว่านายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วว่าลูกจ้างคนนั้นเป็นคนที่สามารถปฏิบัติงานได้ดีเพราะฉดนั้นนายจ้างจะยกระเบียบปฎิบัติขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกมิได้
ถ้าลูกจ้างใช้โอกาสขณะที่ทำงานให้นายจ้างนั้นไปทำงานอื่นซึ่งเป็นงานส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของตนเอง
ฎ. 1942/2520 ผู้ควบคุมรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารประจำทางเป็นลูกจ้างของบริษัทขนส่งรุมทำร้ายผู้โดยสารที่ต่อว่า คนขับรถเพราะคนขับรถได้ขับไม่สุภาพเป็นเหตุให้ผู้โดยสารตกจากที่นั่งเป็นการกระทำนอกทางการที่จ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ปพพ. มาตรา 426
•“นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
เหตุที่นายจ้างไล่เบี้ยลูกจ้างได้ก็เพราะว่านายจ้างไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดซึ่งคนที่กระทำละเมิดก็คือลูกจ้างข้อสังเกตก็คือให้ไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทน ก็คือค่าเสียหายที่ฝ่ายผู้เสียหายเรียกร้องและศาลบังคับให้ใช้เพราะฉะนั้นถ้านายจ้างได้ชดใช้ให้บุคคลภายนอกไปเท่าใดก็มีสิทธิ์ไล่เบี้ยกับลูกจ้าง ได้เท่านั้น
ฎ.648/2522 ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษา ไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ย
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
สัญญาตัวแทน
มาตรา 797อันว่าสัญญาตัวแทน้ัน คือสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอํานาจทํา การแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ และตกลงจะทําการดังนั้น
มาตรา 427 ในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับ แก่ตัวการและตัวแทน ด้วย โดยอนุโลม”
•ถ้าใช้มาตรา 425 และ 426 โดยอนุโลม เพราะ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนมีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง
2.ความรับผิดชอบของ
ผู้ว่าจ้างทำของ
2.1ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด 2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่าความเสียหายหาได้ใช้คำว่าการกระทำละเมิดไม่โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเลอของผู้รับจ้างก็ได้
โดยเหตุที่ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้วจึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างฎ 1289/2522 จำเลยจ้างเหมาต่อเติมอาคารลูกจ้างของผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำโดยประมาทเลอรเลอร์ปล่อยให้ เศษปูนตกลงบนหลังคาและท่อน้ำฝนล้นรางเปียกหนังสือพิมพ์ที่ขายในร้านของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการทำงานที่สั่งให้ทำในคำสั่งที่ให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง จำเลยไม่ต้องรับผิด
1.ความลับผิดในส่วนการงานที่ ที่สั่งให้ทำ ฎ 940/2501 จำเลยจ้างผู้รับเหมาตอกเสาเข็มในการปลูกสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของจำเลยกว่าร้อยๆต้นหนึ่งยาว 16 ถึง 17 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรโดยใช้เครื่องกดลงไปแล้วใช้ตุ้มเหล็กดอก เป็นผลให้ดาดฟ้าตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินติดต่อกันร้าวหลังสังกะสีเสียหายดังนั้นจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการทำงานที่สั่งให้ทำ
ความรับผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตนเองแต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าว ถึงในส่วนของการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อนเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้นเช่นการแนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่นเวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
3.ความรับผิดชอบของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่น ในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริตจะต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว (ป.พ.พ.มาตรา 429 )
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (ป.พ.พ.ม. 430)