Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดทางละเมิดในการกระทำของผู้อื่น, นายธวัลรัตน์ นามศิริ 64012310061…
ความรับผิดทางละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
4.ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
กิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย่อมเป็น งานของนายจ้าง ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการ(ปพพ. มาตรา 807) ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ
ตัวแทนเป็นสัญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญา(ม.797)เช่นเดียวกับสัญญานายจ้างลูกจ้าง
เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทนเช่นเดียวกับลูกจ้างนายจ้าง
สิทธิไล่เบี้ย เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนเช่นเดียวนายจ้างลูกจ้าง
1.ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ตามมาตรา 425 ที่เรียกว่าเป็นลูกจ้างนายจ้างกันนั้นหมายถึงต้องเป็นนายจ้างลูกจ้างที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานตาม มาตรา 575 ด้วย
การที่นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง แต่ถ้าหากลูกจ้างได้กระทำการละเมิดไปเพื่อประโยชน์ของตนเองเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัว ในกรณีนี้นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
2.ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
เมื่อลูกจ้างทำละเมิดขึ้นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างหรือไม่นั้น ให้พิเคราะห์ว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างนั้นได้เกิดขึ้นในทางการจ้างหรือไม่(ถ้าเกิดขึ้นในทางการจ้าง นายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดด้วย)ถ้าหากไม่ใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วนั้นนายจ้างก็ไม่ต้องร่วมรับผิด
ในทางการจ้างคือ สัญญาจ้างระบุว่ามีหน้าที่ต้องทำอะไรก็ให้ทำตามนั้น ถ้าไม่ทำตามนั้นก็ถือว่าไม่ได้ปฎิบัติในทางการจ้าง
Ex. ก. จ้าง ข เป็นลูกจ้างไว้คอยรับใช้ทำงานในบ้านเรือนตลอดจนทำความสะอาดต่างๆ เช่น ซักรีด กวาดถูกบ้าน ข. ซักผ้าเสร็จแล้ว เทน้ำที่ใช้ซักผ้าเข้าไปในบริเวณบ้านของ ค ที่อยู่ข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อย่อมถือว่าเป็นเหตุที่เกิดในทางการที่จ้าง ก ต้องรับผิดใน การกระทำของ ข. แต่เมื่อว่างงาน ข. เกิดไปรับจ้าง ง. เพื่อนบ้านของ กซักผ้าแล้วโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้เทน้ำที่ใช้ซักผ้าทิ้งลงไปในบริเวณบ้านของ ค. เช่นเดียวกัน ดังนี้ ก ก็ไม่ต้องรับผิดในการกระทำ ของ ข แต่ ง. นายจ้างต้องรับผิดต่อ ค.
3.สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
คือเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายจากการทำละเมิดโดยลำพังของลูกจ้างไปแล้วนายจ้างย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้(ม.229(3)และม.426)
Ex. ฎ.648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ย เอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหาย อันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหารแล้ว
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
คือผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นของผู้รับจ้างทำของเพราะ ผู้ว่าจ้างทำของไม่มีอำนาจในการสั่งการผู้รับจ้างทำของ
2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ผู้ว่าจ้างทำของจะมีความก็ต่อเมื่อ(ม.428)
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่นเวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
เช่น จ้างสร้างบ้านท่าด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย (แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก)
1.ความผิดในส่วนการที่สั่งให้ทำ
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
Ex.น้อยอายุ 10 ขวบ ขณะที่อยู่กับนิดซึ่งเป็นมารดา เกิดทะเลาะกับปูซึ่งเป็นเพื่อนเด็กด้วยกันน้อยได้ใช้ไม้ไล่ตีปูบาดเจ็บเหตุนี้ น้อยต้องรับผิดต่อปู เพราะการใช้ไม้ไล่ตีเป็นการทำละเมิดตามมาตรา 420 นิตซึ่งเป็นมารดาจึง ต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 429 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด
2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรา430 มีหลักเกณฑ์เหมือนกันกับมาตรา429 ในข้อที่ว่า ต่างก็เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เนื่องมาจากความบกพร่องในการดูแลคนไร้ความสามารถ
แต่ต่างกันในข้อที่ว่าตามมาตรา 429 กฎหมาย บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลผู้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดก่อนให้พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ส่วนตามมาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับ ดูแลนั้นจะต้องรับผิดต่อเมื่อโจทก์พิสูจน์ได้ว่าบุคคลดังกล่าวมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
นายธวัลรัตน์ นามศิริ 64012310061 LW เลขที่.19 วิชาละกฎหมายละเมิด