Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดชองลูกจ้าง
ในทางการจ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ม. 425 ที่ว่า “นายจ้าง” “ลูกจ้าง” หมายถึงความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ความหมายของ “ในทางการที่จ้าง” ไม่ใช่เรื่องมอบอำนาจให้กระทำ แต่เป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง เป็นความรับผิดในการ
กระทำของบุคคลอื่น
ลักษณะของนายจ้างลูกจ้างและในทางการที่จ้าง เกิดจากสัญญาจ้างแรงงาน ม.575 ที่เรียกว่า “ในทางการจ้าง” นั้น เป็นกรณีที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง ไม่ใช่
เรื่องที่นายจ้างสั่ง ให้ลูกจ้างกระทาการ
ข้องสังเกต ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและระหว่างข้าราชการกับกระทรวง ทบวง กรมที่ตนสังกัดอยู่นั้นย่อมเป็นไปตามกฎหทายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ ในกรณีที่ข้าราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก่อการละเมิดขึ้นขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่ก็ต้องบังคับกัน อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในทางราชการจขะมีลูกจ้างไม่ได้
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ข้อสังเกต วิธีการปฎิบัติ ในการกระทำกิจการงานใดนั้น ย่อมมีวิธีการในการที่จะปฏิบัติงานให้ลุลวงไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกัน ในการสั่งให้กระทำนั้น นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม ลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นพอสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไป และสมประโยชน์ของนายจ้าง และนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะกระทำการบางอย่างที่ตนได้สั่งหรือมอบอำนาจ แต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ตนให้อำนาจ ซึ่งอาจเป็นวิธีการก็ได้ แม้จะเป็นวิธีที่ไม่สมควร
การละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ เช่น ข เป็นลูกจ้างของ ก เจ้าของร้านขายหนังสือกฎหมายแห่งหนึ่งมีหน้าที่ขายและรับเงินค่าหนังสือจากลูกค้า ค มาซื้อ หนังสือ กฎหมายเล่ม หนึ่ง ข ก็ทอนเงินเป็นธนบัตรปลอมให้ ค ดังนี้ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง ก และ ข ต้องร่วมกันรับผิดต่อ ค
การละเมิดโดยจงใจ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นแตกต่างกับการกระทำละเมิดโดยจงใจ การกระทำละเมิดโดยจงใจนั้น เน้นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัวหรือโดยมีเจตนาร้าย ดังนั้นนายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของลูกจ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ม. 426 โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
เช่น ฎ. 684/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช้ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรง จากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ม. 193/30 สิทธิที่นายจ้างจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้างเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างชำระค่าสินไหมทดแทนไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความสิบปี ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกเมื่อถูกดำเนินคดีด้วย
ข้อสังเกต ม. 291 ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้รวมกันกับผู้เสียหายนั้น นายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน กิจการที่ตัวแทนทำการตามตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย่อมเป็นงานของนายจ้างลูกจ้าง ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งของตัวการ ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ
ความรับผิด ของตัวการ เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหุเหตุที่เกอดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน เช่น ก เป็นตัวแทนขายรถยนต์ของบริษัท ข ก ในฐานะตัวแทนตกลงขายรถยนต์คันหนึ่งให้แก่ ส โดยตกลงกันว่าเครื่องอะไหล่ทุกชิ้นต้องเป็นของแท้ กรรมสิทธิ์ในรถได้โอนมาเป็นของ ส แล้ว ก่อนที่จะนารถไปส่ง มอบแก่ ส ก ได้ ถอดเครื่องอะไหล่แท้ ของรถออกเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว เอาเครื่องอะไหล่เทียมใส่แทนแล้วนารถมาส่งมอบแก่ ส โดยที่ ส ลูกค้าไม่ทราบถึงความจริงดังกล่าว ดังนี้ การที่ ก ถอดเอาเครื่องอะไหล่แท้ออกแล้วเอาของเทียมใส่ไว้แทนนั้นเป็นเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในขอบเขตของการปฏิบัติตามหน้าที่หรือโดยฐานได ้ทำการแทนบริษัท ข ข จึงต้องร่วมรับผิดต่อ ส ด้วย
การใช้วาน มิใช่ตัวแทน ผู้ใช่หรือวานไม่ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดที่ได้ทำขึ้น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของ
บุคคลอื่น
ม. 428 ที่ว่าบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยความรับผิด
ในการกระทำของบุคคลอื่น
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ฉะนั้น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของจึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ตัวบท ม.428 ใช้คำว่าเสียหาย หาใช้คำว่า กระทำละเมิด อย่างที่บัญญัติไว้โดยใน ม.425 429และ430 ไม่
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
2.2 หลักของความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลังทั่วไปว่า ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของ
บุคคลอื่น ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทะิที่จะออกคำสั่งผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
ก จ้าง ข ทำโต๊ะเก้าอี้ชุดรับแขก ข ก็ลักเอาไม ้ของ ค มาเป็นสัมภาระจัดทาโดยที่ ข ก็รู้ว่าเป็นไม ้ของ ค แต่ ก ไม่รู้เห็นด้วย ดังนี้ ก ไม่ต้องรับผิดต่อ ค เพราะมิได ้รู้เห็นในการที่ ข เอาไม้ของ ค มาทำชุดรับแขก ก จึงมิได ้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
ความรับผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตนเองแต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง เช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
ความรับผิดของบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลย่อมต้อง
รับผิดร่วมกับเขาด้วย
บิดามารดาหรือผู้อนุบาลที่มีหน้าที่ดูแล อาจต้องรับผิดละเมิดเป็นส่วนตัวโดยการกระทำผิดตามมาตรา 420
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมเป็นไปตามมาตรา420 แต่มิได้หมายความว่าถ้าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก่อความเสียหายขึ้นแล้วจะต้องรับผิดฐานละเมิดทุกกรณีไป
คำว่า บุคคลไร้ความสามารถ ตาม ม.429 หมายถึง ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต ที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย ไม่รวมถึงผู้เสมือนไร้ความสามารถ เช่น ก มาเยี่ยม ข เพื่อนกัน โดยอุ้ม น บุตร ซึ่ง เป็นทารกอายุ 6 เดือน มาด้วย ก นึกสนุก คิดจะแกล้ง ข เล่น โดยรู้ว่าบุตรของตนจวนจะได้เวลาปัสสาวะออกมาแล้ว จึงส่งเด็กให้ ข อุ้มเด็กปัสสาวะรด ข จนเปียกโชก ดังนี้ ก ต้องรับผิดต่อ ข เพราะได้กระทำโดยจงใจโดยใช้เด็กชาย น บุตรของตนเป็นเครื่องมือส่วนเด็กชาย น ไม่ต้องรับผิดต่อ ข เพราะเป็นเด็กทารกอายุเพียง 6 เดือน ไม่มีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มีหลักเกณฑ์เหมือนกัน ในข้อที่ว่าต่างก็เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นอันเนื่องมาจากความบกพร่องในการดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ต่างกันในข้อที่ว่าตามมาตรา 429 กฎหมายบัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลผู้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดก่อน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ส่วนมาตรา 430 ครูบาอาจารย์นายจ้าง หรือ บุคคลอื่น ซึ่งรับดแลนั้น จะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าบุคคลดังกล่าวมานี้มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ที่ว่า “บุคคลผู้ไร้ความสามารถ” ตามมาตรา 430 นั้นหมายถึงผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต เพราะบทบัญญัติมาตรา 430 เป็นบทบัญญัติต่อจาก มาตรา 429 ในเรื่องบุคคลผู้ไร้ความสามารถกระทำละเมิดด้วยกัน