Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น, นางสาวตติยาภรณ์ ทิพยานนท์ 64012310051 -…
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น นายจ้างลูกจ้าง หมายถึง บุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กัน คำว่านายจ้างลูกจ้างตามบัญญัติไว้ในมาตรา 425 หมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575
มาตรา 575 แสดงว่าสัญญาจ้างแรงงานจะถึงมีสินจ้าง มีข้อสังเกต ว่าข้าราชการในกระทรวง ทบวงกรม ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกันหมายความว่า อธิบดีของกรมไม่ได้เป็นนายจ้างของหัวหน้ากอง หัวหน้ากกองไม่ได้เป็นนายจ้างของเสมียนหรือพนักงาน และต่างก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างของกระทรวง ทบวง หรือกรม ดังนั้นการที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตามหากลูกจ้างไม่ได้ทำละเมิดก็ไม่มีประเด็นให้ต้องพิจารณาว่านายจ้างต้องร่วมรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
หลักกฏหมายทั่วไปว่า “ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง” แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แก่การกระทำในทางการที่จ้าง การที่จะพิจารณาว่าการกระทำของละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ดูว่าได้ว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดไหน งานที่จ้างเป็นอย่างไร ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่าขณะที่มีการละเมิดนั้นได้ปฏิบัติตามที่จ้างมาเกี่ยวข้องในงานของนายจ้างหรือไม่
ลูกจ้างต้องอยู่ในควบคุมของนายจ้างความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฏิบัติตามหน้าที่
นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาที่รู้ใจเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานไม่เพียงแต่ในเวลาเดียวกัน
Ex.แดงเป็นลูกจ้างดำ มีหน้าที่หักถางหญ้าในสวนของดำที่รกรุงรัง ตลอดจนฟันกิ่งไม้ที่รุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แดงได้ตัดกิ่งไม้ไปถูกเขียวที่เดินอยู่ริมทางสาธารณะเขียวได้รับบาดเจ็บ ดำต้องรับผิดด้วย
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวเลยขณะเดียวกัน แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิด ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้างการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวอาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างหรือประมาทเลินเล่อ
การละเมิดโดยจงใจ
มาตรา 420 หลักทั่วไปว่า ด้วยการละเมิดเห็นได้ว่าการกระทำโดยประมาทเลินเล่อแตกต่างกับการกระทำละเมิดโดยจงใจ รวมถึงขนาดที่เรียกว่าเป็น เจตนาชั่วร้าย การกระทำโดยประมาทเลินเล่อมีระดับทางจิตใจอ่อนกว่า การกระทำโดยจงใจประมาทเลินเล่อแสดงถึงความไม่รอบคอบ ขาดความระมัดระวัง แต่การกระทำโดยจงใจที่ผู้กระทำเล็งเห็นได้ว่าการกระทำของตนถ้าทำลงไปแล้วจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
แต่การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจแซ็งจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีเจตนาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและไม่ใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือการกระทำเพื่อมุ่งหวังส่วนตัว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ย
เหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างเป็นผู้รับผิดต่อผู้เสียหาย ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้น เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิ์ของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้
สิทธิที่นายจ้างจะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง เพิ่งจะได้เกิดขึ้นเมื่อนายจ้างชำระค่าสินไหมทดแทน ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรตรา 193
มาตรา 426 “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน เหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้างทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้างเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ ตัวการตัวแทนความสัมพันธ์มีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้างพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวแซ็งระหว่างกัน
ความรับผิดของตัวการ เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทนต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทน ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการได้
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา 427 กล่าวไว้ว่าเมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้าง ที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้กับกรณีตัวการตัวแทนได้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นไม่ได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตัวเอง
ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย” ไม่ได้ใช้คำว่า “กระทำละเมิด”หรือ “ละเมิด” โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะว่าผู้จ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับผู้รับจ้าง
เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะได้ทำความผิดทางละเมิดนั้นขึ้นเองในการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจึงต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นการกระทำของผู้รับจ้าง เพราะในกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดขึ้นแล้ว แม้จะมีการกระทำของผู้รับจ้างอยู่ด้วยไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดของผู้ว่าจ้างกับความเสียหายที่ผู้รับจ้างกระทำขึ้นขาดตอนลง
ไม่ได้หมายความว่า ถ้าผู้ว่าจ้างมาจ้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิดเสมอไป ถ้าผู้ว่าจ้างไม่มีส่วนผิด คือ ไม่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าผู้ว่าจ้างมีส่วนผิด ก็ต้องรับผิดด้วย
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างทำถนนเข้าไปในที่ดินของคนอื่นเพื่อเป็นที่ผ่านทางของตนถือว่าเป็นการละเมิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ ในการงานที่สั่งให้ทำจากไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้เสียหายก็ได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง เลือกหาผู้รับจ้าง คือ “การจ้าง” จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิด
ของคนไร้ความสามารถ
จะต้องระวังว่า การที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่ามีหลักเกณฑ์อีกส่วนหนึ่งสำหรับการที่จะถือว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตได้ทำละเมิด หลักเกณฑ์การรับผิดทางละเมิดเป็นไปตามมาตรา 420 ไม่ได้หมายความว่าถ้าผู้เยาหรือบุคคลคนจริตก่อความเสียหายขึ้นแล้วจะต้องรับผิดฐานละเมิดทุกกรณี
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 ต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึก
การจงใจจะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน ถ้าบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการ กระทำของตน หรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สภาพการกระทำของตน ย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ แต่ถ้ารู้อาจเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนกว่าจะครบจำนวนที่ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด มีข้อสังเกต คือ กฎหมายไม่ได้บัญญัติกำหนดไว้ว่าบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้หมายถึงบุคคลเช่นไรบ้างอย่างที่กำหนดไว้ในมาตรา 429 แต่มาถึงผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราว ก็ต้องรับผิด
ความสำคัญของมาตรานี้ จึงอยู่ที่หน้าที่ดูแลอันมีอยู่ระหว่างผู้ไร้ความสามารถกับตัวผู้ที่จะต้องรับผิดซึ่งเกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงที่บุคคลหนึ่งเข้ารับดูแลผู้ไร้ความสามารถ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ในมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบ บุคคลที่รับดูแลบุคคลไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ชดใช้เช่นเดียวกับกรณีมาตรา 429
นางสาวตติยาภรณ์ ทิพยานนท์ 64012310051