Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
การที่ลูกจ้างได้ไปกระทำละเมิดทำให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียหายจากผลของการกระทำนั้น ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือประมาทก็ตาม หากผลของการละเมิดนั้นเกิดขึ้นในทางการที่จ้างของนายจ้างแล้ว นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับผลของการละเมิดนั้นด้วย
ดังนั้นเมื่อผลของการละเมิดทำความเสียหายให้แก่บุคคลใด นายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบในผลแห่งการนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มาตรา 575 “อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทํางานให้แก่อีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะ ให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
คําพิากษาฎีกา5444/2537 ฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างก็ได้
•ตามมาตรา425บังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างซึ่งได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก
•โจทก์จะเลือกฟ้องจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็น นายจ้าง หรือลูกจ้างผู้กระทําละเมิดคนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมเพียงคนเดียวก็ ย่อมทําได้ตามมาตรา 291
•ส่วนการที่จําเลยที่1 จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ลูกจ้างตามมาตรา 426 นั้นก็ทำได้อยู่แล้ว โดยไม่จําเป็นต้องรอให้โจทก์ ฟ้องลูกจ้างให้รับผิดเสียก่อน
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไปแล้วจำนวนเท่าใดนายจ้างย่อมมีสิทธิไล่เบี้ย
จากลูกจ้างได้เพียงเท่าที่ชดใช้ไปแล้วเท่านั้นจำนวนเงินที่เสียไปแล้วนี้หมายถึงจำนวนเงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายไป
การที่ลูกจ้างได้กระทำไปเป็นละเมิดนายจ้างจึงต้องรับผิดผลนั้นด้วยโดยต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้ทำไปในทางการที่จ้าง ความรับผิด ของนายจ้างน้ีเป็นความรับผิดร่วมกับลูกจ้าง แต่มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับ ลูกจ้างได้ในภายหลัง ตามมาตรา 426 ที่บัญญัติไว้ว่า“นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำน้ันชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427 "บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม"
ตามมาตรา 797 ที่บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้นอันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้"
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
กรณีให้ผู้ว่าจ้างรับผิด• มาตรา ๔๒๘ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหาย อันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำงานที่ว่าจ้างเพราะผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
•ข้อยกเว้น ๓กรณีที่กำหนดให้ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดหากไม่เข้าข้อยกเว้น ผู้เสียหายมีหน้าที่นำสืบให้ได้ ความว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ตามมาตรา๔๒๘(ฎ.๑๖๒/๒๕๔๔)
•ตามมาตรานี้เป็นเรื่องผู้ว่าจ้างต้องรับผิดขณะเป็นผู้ทำละเมิดเองไม่ใช่ให้รับผิดร่วมกับผู้รับจ้างแต่ถ้าผู้รับจ้างทำละเมิดด้วยก็อาจเป็นความผิดร่วมกันหรือต่างทำละเมิดแล้วแต่กรณีตามมาตรา๔๓๒
เช่นสั่งให้ขุดดินของคนอื่นมาถมในที่ดินของตนหรือจ้างสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของบุคคลอื่น
ในการก่อสร้างอาคาร ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ควบคุมอาคาร เมื่อเกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่นถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ผู้ว่าจ้างต้องรับผิด
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
การรับผิดในการกระทำของผู้รับจ้าง มาตรา ๔๒๘หลัก"ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงานที่ว่าจ้าง ข้อยกเว้นเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง "
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๔๒๙ “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือ วิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ในทางละเมิดเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิ ผู้ไร้ความสามารถจึงต้องรับผิดในทาง ละเมิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดามาตรา ๔๒๙ ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลร่วมรับผิดด้วยนี้ หมายถึง ว่าผู้เสียหายจะเลือกฟ้องบิดามารดาหรือผู้อนุบาลให้รับผิดโดยเฉพาะ โดยไม่ ต้องฟ้องผู้ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดด้วย (ฎ.๙๓๔/๒๕๑๗) หรือจะ ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถด้วยก็ได้ บิดามารดารับผิด เหตุที่กฎหมายให้บิดามารดารับผิดเพราะบิดา มารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา ๑๕๖๔
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร (ป.พ.พ.ม. 430)