Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น
การจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งกับอีกคนหนึ่งว่าจะเป็นลูกจ้างและนายจ้าง มีข้อบังคับการทำงาน
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ถ้าหากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วก็ไม่ต้องร่วมรับผิดและนายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยต่อเมื่อมีบทบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดเป็นพิเศษ เช่น ตามมาตรา 430
อุทาหรณ์
ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426. “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกชดใช้ให้แก่ตนได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
ตัวแทน(การมอบอำนาจให้ไปทำ)เป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ความรับผิดของตัวการ
จะให้ตัวการรับผิดชอบต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือฐานที่ตัวแทนทำการเป็นตัวแทน ฉะนั้น ในเบื้องแรกจึงต้องรับทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไรถ้าตัวแทนรับอำนาจเฉพาะการ
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า"ผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้อง รับผิดเพือความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึนแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทํา การงานทีว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานทีสังให้ทําหรือในคําสังที ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง" โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงาน
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตนเองแต่ผู็รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหาย
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
การจ้างคนที่ตนรู็ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพงานนั้นๆที่ตนจ้าง
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นสัญญาต่อกัน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เหตุอนุโลมนำมาตรา 428 นั้น ผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจึงเป็นผู้กระทำด้วย ผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้กระทำละเมิด มิใช่รับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง
เหตุผลที่แสดงให้เห็นบัญญัติ
1.กฎหมายบัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า ”ความเสียหาย” หาได้ใช้คำว่า “กระทำละเมิด”
3.โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติไว้ว่า“ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงพ้นจากความรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถ
เมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยจนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426)
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น"
ความรับผิดชอบตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดในการกระทำของผูู้อื่น ซึ่งบิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่ดูแลนั้นจะต้องรับผิดโดยผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ว่าบิดามารดาหรือผู้อนุบาลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรประการใด แต่เป็นหน้าที่ดูแลซึ่งกระทำอยู่แล้วนั้น