Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น, นายจารุกร ไชยชมภู รหัสนิสิต 64012310733…
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดในการกระทำของตนเอง บุคคลผู้รับผิดจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาท
เลินเล่อโดยผิดกฎหมาย มีความเสียหายแก่บุคคลอื่นและความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการ
กระทำของผู้ทำความเสียหายส่วนความรับผิดในการกระทำาของบุคคลอื่นเป็นความรับผิดของ
บุคคลหนึ่งในการกระทำละเมิดของบุคคลอีกคนหนึ่งโดยที่บุคคลก่อนที่ต้องรับผิดนั้นมิได ้กระทำละเมิดเอง
บุคคลผู้ต้องรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นคือ นายจ้าง บิดามารดา
ผู้อนุบาล แต่ไม่รวมถึงความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
บุคคลที่ต้องรับผิด เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว มีสิทธิเรียกร้องชดใช้เอาจากผู้ก่อการละเมิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว
ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ที่ว่า“นายจ้าง” “ลูกจ้าง” หมายถึงความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน
ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างเป็ นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความหมายของ “ในทางการที่จ้าง” ไม่ใช่เรื่องมอบอำนาจให ้กระทำ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง
เมื่อเป็นเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้างแล้ววิธีปฏิบัติของลูกจ้างหรือกรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามไม่เป็นข้อต่อสู ้ของนายจ้าง
โดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมตัวแทนโดยปกติตัวแทนย่อมมีความรับผิดแต่ผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนก่อขึ้น
ลักษณะของนายจ้างลูกจ้างและในทางการที่จ้าง
ที่เรียกว่าเป็นนายจ้างลูกจ้างกันนั้นเกิดจากสัญญาอะไรเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
575 มิใช่สัญญาจ้างทำของ
ที่เรียกว่า “ในทางการจ้าง” นั้น จะเข้าใจว่าอย่างไรเข้าใจว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง ไม่ใช่
เรื่องที่นายจ้างสั่งให ้ลูกจ้างกระทำการ
สั่งให้ ข. ลูกจ้างตีศีรษะ จ. ลูกค้าของ ก. ข. ก็ทำตามคำสั่งนี้ การกระทำของ ข. เกิดขึ้น ในทางการที่จ้างหรือไม่
• ตามตัวอย่างไม่ถือว่าเป็นการกระทำาของ ข. เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง แต่เป็นกรณีทีนายจ้างกระทำละเมิดโดยนายจ้างเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้ลูกจ้างกระทำ จึงเป็นการกระทำละเมิดร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 432
การละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
ข. ลูกจ้าง ก. มีหน้าที่ขับรถไปส่งบุตรของ ก. ไปโรงเรียนขณะขับรถอยู่ได้จุดบุหรี่สูบโดยประมาทเลินเล่อ ข. จึงขับรถชน ค. ที่เดินอยู่ริมถนนดังนี้ ก. ต้องร่วมกับ ข. รับผิดต่อ ค. หรือไม่
• เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง ก. ต้องร่วมกับ ข. รับผิดต่อ ค.
ข. เป็นลูกจ้างของ ก. เจ้าของร้านขายหนังสือกฎหมายแห่งหนึ่ง มีหน้าที่ขายและรับเงินค่าหนังสือจากลูกค้า ค. มาซื้อหนังสือกฎหมายเล่มหนึ่ง
ข. ก็ทอนเงินเป็นธนบัตรปลอมให้ ค.
ดังนี้ ก. ต้องร่วมกับ ข. รับผิดต่อ ค. ได้หรือไม่
• เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง ก. ข. ต ้องร่วมกันรับผิดต่อ ค.
ลักษณะตัวการตัวแทนและความรับผิดของตัวการ
ก. เป็นตัวแทนขายรถยนต์ของบริษัท ข. ก. ในฐานะตัวแทนตกลงขายรถยนต์คันหนึ่งให ้แก่ ส. โดยตกลงกันว่าเครื่องอะไหล่ทุกชิ้นต้องเป็นของแท้กรรมสิทธิ์ในรถได้โอนมาเป็นของส. แล้วก่อนที่จะนำรถไปส่งมอบแก่ ส. ก. ได้ถอดเครื่องอะไหล่แท้ของรถออกเป็นประโยชน์แก่ตน แล้วเอาเครื่องอะไหล่เทียมใส่แทน แล้วนำรถมาส่งมอบแก่ ส. โดยที่ ส. ลูกค้าไม่ทราบถึง ความจริงดังกล่าว ดังนี้ บริษัท ข. ต้องร่วมรับผิดต่อ ส. หรือไม่
• การที่ ก. ถอดเอาเครื่องอะไหล่แท้ออก แล้วเอาของเทียมใส่ไว ้แทนนัั้นเป็นเหตุละเมิดทีเกิดขึ้นในขอบเขตของการปฏิบัติตามหน้าที่หรือโดยฐานได้ทำการแทนบริษัท ข. ข. จึงต้องร่วม
รับผิดต่อ ส. ด้วย
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนตามกฎเกณฑ์ที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 420
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
หรือในคำสั่งที่ตนให ้ไว ้ หรือในการเลือกหาผู ้รับจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของ
บุคคลอื่น
ที่ว่าบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยความรับผิด ในการกระทำของบุคคลอื่นนั้น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้ รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือใน
คำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ที่ว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดตามมาตรา 428 หมายความว่าผู้ว่าจ้างกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำ
ละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ความรับผิดของบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิด ของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
1.ความรับผิดทางละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมเป็นไป
ตามมาตรา 420 ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก่อความเสียหายขึ้นแล้วจะต้องรับผิดฐานละเมิดทุกกรณีไป
2.บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาล หรือครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นที่รับดูแล ย่อมต้องรับผิดร่วมกับด้วย
3.บิดามารดาหรือผู้อนุบาลที่มีหน้าที่ดูแลอาจต้องรับผิดละเมิดเป็นส่วนตัวโดยการกระทำผิดตามมาตรา 420
ความรับผิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตทางละเมิด
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต จะต้องรับผิดในความเสียหาย
ที่ตนก่อขึ้นเสมอไปหรือไม่?
ไม่เสมอไป กรณีที่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตทำความเสียหาย ถ้ามิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ก็ย่อมไม่เป็นละเมิด ถ้าเป็นเด็กไร ้เดียงสาไม่รู ้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู ้สภาพของการกระทำของตน ย่อมจะถือว่าทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ แต่ถ้ารู้ได้ว่าทำอะไรลงไป เพียงแต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือยับยั้งไม่ได ้ อาจเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้ เพราะผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมมีฐานะทางจิตใจอยูหลายระดับต่างกันไป
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ก. มาเยี่ยม ข. เพื่อนกัน โดยอุ้ม น. บุตร ซึ่งเป็นทารกอายุ 6 เดือน มาด้วย ก. นึกสนุกคิดจะแกล้ง ข. เล่น โดยรู้ว่าบุตรของตนจวนจะได้เวลาปัสสาวะออกมาแล้ว จึงส่งเด็กให ้ ข. อุ้ม
เด็กปัสสาวะรด ข. จนเปียกโชก ดังนี้ ก. และ น. จะต้องรับผิดต่อ ข.หรือไม่
• ก. ต้องรับผิดต่อ ข. เพราะได ้กระทำโดยจงใจโดยใช้เด็กชาย น. บุตรของตนเป็นเครื่องมือ ส่วนเด็กชาย น. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข. เพราะเป็นเด็กทารกอายุเพียง 6 เดือน ไม่มีการ
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
น้อยอายุ 5 ขวบ ขณะที่อยู่กับนิดซึ่งเป็นมารดา เกิดทะเลาะกับปูซึ่งเป็นเพื่อนเด็กด้วยกันได้ใช้ไม้ไล่ตีปูบาดเจ็บดังนี้ นิดและน้อยต้องรับผิดต่อปูหรือไม่
• เด็กชายน้อยต้องรับผิดต่อเด็กชายปู เพราะการใช้ไม้ไล่ตีเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 429 นิดซึ่งเป็นมารดาจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 429 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตน
ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิด ของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดตามมาตรา 429 และ 430 มีหลักเกณฑ์เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร บ้าง
• มีหลักเกณฑ์เหมือนกัน ในข้อที่ว่าต่างก็เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในการกระทำ ของบุคคลอื่นอันเนื่องมาจากความบกพร่องในการดูแลบุคคลผู้ไร ้ความสามารถ ต่างกันในข้อที่ว่า ตามมาตรา 429 กฎหมายบัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลผู ้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดก่อน เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ส่วนมาตรา 430 ครูบาอาจารย์นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลนั้น จะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าบุคคลดังกล่าวมานี้
มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
นายจารุกร ไชยชมภู รหัสนิสิต 64012310733 เลขที่ 150