Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการจ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 “บัญญัติ”ว่านายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นที่ว่านายจ้างลูกจ้างนั้นหมายถึงบุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้าง แรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะหกตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างแรงงานในมาตรา 575 มีความว่า’’อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้’’ ฉะนั้น คำว่านายจ้างลูกจ้างตามบัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึงหมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575 มิใช่สัญญาจ้างทำของดังบัญญัติไว้ในมาตรา 587
ตรามาตรา 575 แสดงว่าสัญญาจ้างแรงงานจะถึงมีสินจ้าง (remuneration) ตลอดเวลาที่ทำงานให้ถ้าตามพฤติการณ์ไม่อาจคาดหมายได้ว่างานนั้นจะพึงทำให้เปล่าย่อมถือเอาโดยประยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้างมาตรา 576 ฎ.316-318 / 2500 วินิจฉัยว่าอำนาจบังคับบัญชาและสินจ้างเป็นหลักสำคัญแห่งการที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของฝ่ายใดฉะนั้นจึงเห็นว่าถ้าหากไม่มีสินจ้างก็ย่อมไม่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันในสัญญาจ้างแรงงานแต่สินจ้างนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไปอาจจะเป็นวัตถุหรือสิ่งอื่นก็ได้ เช่น จ้างเกี่ยวข้าว นวดข้าว ให้สินจ้างเป็นข้าวเปลือกเท่านั้นเท่านี้ถังเป็นต้น
อุทาหรณ์ฎ. 1425 / 2539 การที่ลูกจ้างไม่ได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลอรเลอร์เลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นการละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยแต่การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้างถ้าหากลูกจ้าง ได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและมิใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือในการกระทำละเมิดโดยจงใจนั้นเป็นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัวหรือโดยมีเจตนาร้ายหรือความโกรธส่วนตัวโดยเฉพาะแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดกล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าลูกจ้างปฎิบัติการโดยมีเจตนาจงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้เนื่องจากการทะเลาะวิวาทซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างแล้วก็ยอมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มีหลักกฏหมายทั่วไปว่าผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง แต่หลักที่ว่านี้ใช้ได้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจไม่ใช่แก่การกระทำในทางการจ้างซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำแต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะในการที่นายจ้างต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างนั้นไม่ใช่เพราะว่ามอบอำนาจให้กระทำแทนแต่เป็นเพราะลูกจ้างได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้างนายจ้างจึงต้องดูว่างานนั้นได้ปฏิบัติไปโดยความเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วยหรือไม่
อุทาหรณ์
ก.จ้าง ข. เป็นลูกจ้างไว้คอยรับใช้ทำงานในบ้านเรือนตลอดจนทำความสะอาดต่างๆเช่น ซักรีด กวาดบ้าน ข. ซักผ้าเสร็จแล้วเทน้ำที่ซักผ้าไปในบริเวณบ้านของ ค.ที่อยู่ข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการ กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อย่อมถือว่าเป็นเหตุที่เกิดในทางการที่จ้าง ก. ต้องรับผิดชอบในการกระทำของ ข.แต่เมื่อว่างานขอเกิดไปรับจ้างน้อเพื่อนบ้านของ ก. ซักผ้าแล้วโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้เทน้ำที่ใช้ซักผ้าทิ้งลงไปในบริเวณบ้านของ ค. เช่นเดียวกัน ดังนี้ ก. ก็ไม่ต้องรับผิดในการกระทำของ ข. แต่ ง. นายจ้างต้องรับผิด ค.
วิธีการปฎิบัติ ในการกระทำกิจการงานใดนั้นย่อมมีวิธีการปฏิบัติที่ทำให้งานลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของ จ้าหลายวิธีอันแตกต่างกันในการแซ็งจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตามลูกจ้างอาจจะใช้วิธีการที่เห็นว่าสมควรเพื่อให้การนำลุล่วงไปและสมประโยชน์ของนายจ้างและนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะทำการบางอย่างที่ตนได้สั่งหรือมอบอำนาจให้ทำด้วยแม้จะเป็นการกระทำที่ตนไม่
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันในกรณีที่ถือว่าลูกจ้างปฎิบัติการทำงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแม้ลูกจ้างจะได้จะทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้นก็ยังถือว่าเป็นเหตุเกิดขึ้นในทางการที่จ้างเพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้นอาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้ เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วยจนเกิดชนคนข้ามถนนโดยประมาทเลนิเล่อ เป็นต้น
กรณี ที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิด ควายโดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้างถ้าหากกระทำนั้นเป็นแต่เพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระท
อุทาหรณ์ ฎ. 803/2519 จ้างขนปี๊บหน่อไม้จากฉางของนายจ้างบรรทุกรถยนต์ตามคำสั่งของนายจ้างโดยประมาทเชินเล่อจุดบุหรี่สูบ หัวไม้ขีดไฟที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นและปอในฉางทำให้เกิดเพลิงไหม้ฉางและลุกลามไปไหม้บ้านโจทก์ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
1 more item...
2.ตามตัวอย่างในข้อ1ถ้า ข.กำลังรีดผ้า ก.นายจ้างตามที่ของตน โดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินที่มีผู้มาฝากไว้ ก.ไว้
สิทธิไล่เบี้ย :
มาตรา 426 บัญญัติว่า’’นายจ้างซึ่งได้ให้ค่าสินใหม่ทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น’’ โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกโดยลำพังที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหายแต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วยเมื่อนายจ้างได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิ์ของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกว่าลูกจ้างชดเชยให้แก่ตนได้มาตรา 229(3) มาตรา 426 สังเกตว่าในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้นนายจ้างลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วม กันจนกว่านี่นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิงมาตรา 291
อุทาหรณ์ ฎ. 648 / 2522 ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้แต่ค่าหรือฤชาธรรมเนียมที่ไหนสร้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนชื่อลูกจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทนโดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนก่อขึ้น
ตัวแทนคืออะไรนั้น ป.พ.พ. มาตรา 797 บัญญัติว่า ‘’อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน
มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น’’
จะเห็นได้ว่าตัวแทนเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งและเป็นอีกประเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้างจึงต้องพิเคราะห์ก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกันสังเกตว่าถ้าไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทนเช่นเป็นการใช้หรือวานคนรู้จักขับรถยนต์พาภรรยาไปซื้อของ ดังนี้มิใช่ตัวแทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ผู้รับหรือผู้ใช้วานดทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สาม แต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้หรือผู้วานกับผู้รับวานผู้ใช้หรือวานให้ขับรถไม่ต้องรับผิดในการละเมิดที่คนขับได้ทำขึ้น(ฎ.1980/2505)
ความรับผิดตัวการ
พึงเข้าใจว่าเหตุละเมิดที่จะได้ให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนไม่ทำการเป็นตัวแทน ฉะนั้นในเรื่องแรกจึงต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไรถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการย่อมจะทำการเหมือนกันตัวแทนการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการ พี่ได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จรู้ล่วงไปมาตรา 800
อุทาหรณ์ 1.ก.ดั้งข. เป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่ง ก. ซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมาก ข.หลอกลวง ค.ผู้ซื้อโดยพาไปดู ที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมบ่อเลยและเป็นของบุคคลการขโมยของ ก. ค. ตกลงรับซื้อโดยคิดว่าเป็นที่ดินของ ก. เคสแห่งการเป็นตัวแทน ก.ก.ตัวการต้องรับผิดต่อค.ร่วมกับข.ด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 420 มาบังคับใช้แก่ตัวกันด้วยโดยอนุโลมกล่าวคือเมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากการตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาปรับใช้กับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มีนักกฎหมายจำนวนมากที่เข้าใจแปลว่าความรักผิดของผู้จ้างทำของเป็นความรับผิดการกระทำของบุคคลอื่นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรับผิดแทนกันซึ่งความเข้าใจผิดเหตุที่เข้าใจกัน ดังนี้ ก็เป็นเพราะการบัญญัติกฎหมายโดยเรียงบทมาตราไว้ต่อจากมาตรา 425-427 ซึ่งเป็นตัวบทบัญญัติด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นไว้ก่อนมาตรา 429-431 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นเหมือนกันมาตรา 428 บัญญัติ อยู่กลางกลางประกอบกับบทมาตรา 428 กล่าวถึงผู้ว่าจ้างทำของและความเสียหายที่ผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกซึ่งค่าอ่านโดยไม่วิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนจึงพลอยทำให้เข้าใจไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหิวรับผิดในการกระทำของผู้รับจ้าง
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรักผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรักผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำการละเมิดด้วยตนเองถ้าได้กระทำการละเมิดก็ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนและตัวแปลได้ความว่าผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิดถ้าหากเป็นผู้ผิดฉะนั้นความรับผิดของผู้ว่าจ้าง ทำของตามมาตรา 428 จึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแล้วจึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามบัญญัติไว้ใน 420 นั่นเอง
ตัวบทมาตรา 428 ได้ใช้คำว่าความเสียหายหาได้ใช้คำว่าการกระทำละเมิดหรือละเมิดอย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 429 และ 430 ไม่โดย รที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลอรเลอร์ของผู้รับจ้างก็ได้ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิดพแต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะมีส่วนผิด
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้วถึงไม่มีบทบัญญัติในมาตรา 430 ซึ่งเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นและมีบทบัญญัติไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้คืนกันตามมาตรา 426 และมาตรา 431
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความรักผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะว่ากลัวเจ้าไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงานจึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเองหรือว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 บอกว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
1.ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกันเช่นจ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิดเป็นต้น
อุทาหรณ์ ฎ. ร 940 / 2501 จำเลยจ้างผู้รับเหมามาจองเสาเข็มในการปลูกสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของจำเลยกว่า 100 ต้นๆ มึงยาว 16-17 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 30เซนติเมตร โดยใช้เครื่องขุดลงไปใช้ตุ้มเหล็กตอก เป็นผลให้คาดฟ้าตึก ของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินติดต่อกันเรารั้งสังกะสีเสียหายเรื่องนี้จำเลยเป็นผู้ผิดหนึ่งส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นการละเมิดในตัวเองแต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำก่อนก่อนเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น
3.. ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างที่เลือกหาผู้รับจ้างคือการจ่ายเงินเองคือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จะจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
อุทาหรณ์ ฎ. 128 / 2522 จำเลยจ้างเหมาต่อแล้วตื่นมาคาลลูกจ้างของผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำโดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้เศษปูนตกลงบนหลังคาและท่อน้ำฝนนางเปลี่ยนหนังสือพิมพ์ที่ขายในร้านของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการสั่งให้ทำในคำสั่งที่ให้ไว้หรือในการเลือกผู้รับจ้างจำเลยไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาหรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญและเป็นผู้เยาหรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิมิใช่การใช้สิทธิ์ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะนิติกรรม นั่นอาจเป็นโมฆียะมาตรา 21 -28 เมื่อถูกบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกได้อธิบายแล้วว่าคำว่า ผู้ใด ตามมาตรา 420 หมายถึงบุคคลทุกชิ้นซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตด้วย
มาตรา 429 บัญญัติว่า ‘’บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาหรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น’’
อุทาหรณ์เกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ฎ. 934/2517 โจทย์เค้าเป็นเด็กที่ไปเล่นบ้านจำเลยถูกบุตรผู้เยาของจำเลยยิงด้วยหนังสติ๊กนัยน์ตาบอด บุตรของจำเลยภายในบริเวณบ้านโดยยิงทางบุญเรือนเพียงครั้งเดียวแต่ก็ถูกโจทก์ถือว่าใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แล้วไม่ต้องรับผิด
ฎ. 1315/2520 บิดาเคยใช้รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระดังนี้นอกจากบิดาจะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้วเวลากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาขับขี่จักรยานยนต์อีกด้วยจึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เมื่อร่วมบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาจนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ราคา 431 และมาตรา 426 ไม่ใช่เรียนได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
430 บัญญัติว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีจำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดพซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นนั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
1 more item...
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
2 more items...
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานก็ไม่ได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 กล่าวคือจะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้นแหล่ะที่จะถือว่าเป็นการจงใจจะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลหรือคุณจะไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคล วิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตน
คำว่า บุคคลไร้ความสามารถตามมาตรา 429 หมายถึงผู้เยาและบุคคลวิกลจริตไม่รวมถึงผู้เสมือนได้ความสามารถสำหรับผู้เยานั้นหมายถึงบุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 19 และผู้เยาย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากสมรสนั้นได้ทำเมื่อฝ่ายชายผู้เยาและฝ่ายหญิงผู้เยามีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วสามารถจ่าย 20 และมาตรา 1448 จึงมิใช่ผู้เยาต่อไป ส่วนบุคคลนั้นไม่มุ่งหมายเฉพาะคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริตซึ่งศาลได้มีคำสั่งแล้วสามมาตรา30 นั้นแต่หมายถึงบุคคลอื่นที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 ความรักผิดเนื่องจากความรู้ความสามารถที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้อยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาตั้งผู้อนุบาลจึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดถ้าหากไม่ใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด