Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง และความรับผิดในผลแห่งการละเมิดของตัวแทน
ลักษณะของนายจ้างลูกจ้างและในทางการที่จ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ที่ว่านายจ้าง ลูกจ้าง นั้นหมายถึงบุคคล2ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ ลักษณะ6
ลักษณะของนายจ้างลูกจ้าง
แม้ตัวบทจะใช้คำว่าบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง เป็นกันเรียกกันตามกฎหมาย เป็นถ้อยคำในบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ได้หมายความว่าในการทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น ถ้าหากไม่เรียกกันว่าสัญญาจ้างแรงงานหรือลูกจ้างแรงงานหรือลูกจ้างนายจ้าง ในทางปฏิบัติจะใช้ถ้อยคำเรียกชื่่อสัญญากันว่าอย่างไรไม่สำคัญ เช่น สัญญาจ้างทำความสะอาด เป็นต้น ถ้าเข้าลักษณะจ้างแรงงานแล้วก็ย่อมเป็นสัญญาจ้างแรงงานอยํู๋นั่นเอง
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกบุคคลหนึ่ง นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการ และลูกจ้างต้องปฎิบัติตามนายจ้างเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
ตามมาตรา575 แสดงว่า สัญญาจ้างแรงงานจะพึงมีสินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ถ้าตามพฤติกรรมไม่อาจคาดหมายได้ว่างานนั้นจำพึงทำให้เปล่าย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง(มาตรา576)
มาตรา 575 มีความว่า อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทางานให้แก่บุคคล อีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ฉะนั้นคำว่านายจ้าลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึหมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา575 มิใช่สัญญาจ้างทำของดังบัญญัติไว้ในมาตรา587
ในทางการที่จ้าง
ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช้กระทำในทางการที่จ้าง ซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ ในการที่นายจ้างต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างนั้นไม่ใช่เพราะว่ามอบอำนาจให้กระทำแทน แต่เป็นเพราะลูกจ้างได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง นายจ้างต้องดูว่างานนั้นได้ปฎิบัติไปโดยความเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วยหรือไม่
ตัวอย่าง ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด (ฏ.506/2498)
การละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
ในกรณีที่เป็นการกระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าเป็นความพลั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฎิบัติหน้าที่ เหตุที่เกิดขึ้นก็ยังถือว่าอยู่ในทางการที่จ้าง
ถ้าการกระทำนั้นเป็นการละเมิดที่นายจ้างไม่ได้มอบอำนาจหรือสั่งให้กระทำ เป็นการกระทำที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำที่นายจ้างมอบอำนาจหรือสั่งให้กระทำจนขนาดที่จะถือว่าเป็นวิธีการในการทำงานนั้น แต่เป็นการกระทำโดยอิสระของลูกจ้างเอง นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่าง ฏ. 1805/2497 ลูกจ้างขับรถของนายจ้างขนอิฐมาตามหน้าที่และทำธุระส่วนตัวของลูกจ้าง และนำรถไปเก็บตามหน้าที่ไปชนผู้อื่นเสียหายโดยประมาทเลินเล่อในระหว่างขับรถไปเก็บ เป็ยการปฎิบัติงานในทางการที่จ้าง
ฏ. 1206/2500 นายจ้างลูกจ้างเฝ้าแพซุง ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้แพซุงขาดหลุดลอยไปตามกระแสน้ำ ถือว่าการที่ลูกจ้างมีหน้าที่เฝ้าดูแลรักษาแพนั้นเป็นการกระทำให้นายจ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
นายจ้างต้องรับผิดไม่ว่าการละเมิดจะมีลักษณะเช่นไร การกระทำละเมิดโดยจงใจอาจอยู่ในทางการที่จ้างได้เช่นเดียวกัน ฉนั้นนายจ้างจึงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดโดยจงใจซึ่งลูกจ้างได้ก่อขึ้นอันรวมทั้งการกระทำผิดทางอาญาด้วย ไม่หมายความว่านายจ้างต้องรับผิดทางอาญาไปด้วย แต่หมายความว่ารับผิดตลอดจนการกระทำละเมิดซึ่งมีมูลความรับผิดทางอาญาด้วยในขณะเดียวกัน
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการประมาทโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ถ้าลูกจ้างปฎิบัติการโดยมีเหตุจูงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้ เนื่องจากการทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างแล้ว ก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่าง ลูกจ้างเฝ้าของของนายจ้างเวลากลางคืน มีคนเดินเข้ามาที่เก็บของคิดว่าจะเข้ามาลักขโมย จึงใช้ไม้ตีผู้นั้นถึงบาดเจ็บ ย่อมเป็นการปฎิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู็เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างนำละเมิด เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิผู้เสียหายไล่เบี้ยให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้ (มาตรา229 (3) , 426) พึงสังเกตุว่าในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้น นายจ้างลูกจ้างยัคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้น้นจะได้ชำระสิ้นเชิง(มาตรา291)
ตัวอย่าง ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้ว ไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ลักษณะตัวการตัวแทนและความรับผิดของตัวการ
ลักษณะตัวการตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความระพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
ตัวแทนคืออะไรนั้น มาตรา 797 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทน บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
จะเห็นได้ว่าตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง จึงต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกัน
ตัวอย่าง ฎ. 152/2506 เพียงแต่เจ้าของเรือยนต์นั่งไปกับเรือและอนุญาตให้ ล. ขับเรือ ไม่ทำให้เจ้าของเรือต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ล. ขับเรือชนผู้อื่น (ซึ่งแสดงว่าศสาฎีกาเห็นว่า ล. ไม่ใช่ตัวแทนเจ้าของเรือ)
ความรับผิดของตัวการ
พึงเข้าใจว่าเหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวการได้ทำการเป็นตัวแทน ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป(มาตรา800) เช่น เป็นตัวแทนในการซื้อรถยนต์ ก็ย่อมมีอำนาจทำการใดที่จะให้ได้รถยนต์นั้นมาเป็นของตัวการ
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา427 บัญญัติให้นำมาตรา426 มาใช้บังคับแก่ตัวการตัวแทนด้วยอนุโลม คือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามกฏเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา420
กฏหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นการรับผิดในการกระทำของตนเอง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มึหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคังบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้อง รับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึนแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทํา การงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทําหรือในคําสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
มาตรานี้จะเห็นได้ว่าโดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว
ตัวอย่าง ฎ. 1176/2510 เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถ แล้วเจ้าของรถยนต์วานให้ช่างซ่อมรถขับรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ เกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามกฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณี
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนเองอันเป็นการละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งที่กล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกที่ดินข้างเคียง เป็นต้น
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้างก็คือการจ้างนั่นเอง (ฎ.821/2522) คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่นจ้างสร้างบ้านด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนา จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามที่ผู้รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดี ก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดชอบของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลผู้ต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติว่า “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับ ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแล ของตน ถ้าหาก พิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่
ความรับผิดตามมาตรา430 นี้ต่างกับความรับผิดมาตรา429 ที่ว่าตามมาตรา429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนใช้ความระมัดระวังตามสมควร จึงจะพ้นจากความผิด ถ้าไม่นำสืบหรือสืบยังไม่ได้ ก็ไม่พ้นจากความรับผิด แต่มาตรา430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรตามหน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจาร์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ซึ่ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ชดใช้ (มาตรา431,426)เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา 429
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้แก่บิดามารดาหรือผู้อนุบาล สำหรับบิดานั้น เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ตามความในตอนท้ายของมาตรา 429 นี้เท่านั้น ซึ่งอาจรวมทั้งบิดามารดาหรือเพียงคนใดคนหนึ่งก็ได้ จึงต้องพิจารณาไปอีกขั้นว่าบิดาหรือมารดาหรือทั้งสองคนเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์อันหมายถึงอำนาจปกครองตามมาตรา1156 , 1567 ซึ่งเป็นหน้าที่ควบคุมดูแลผู้เยาว์
ส่วนผู้อนุบาลนั้น ไม่หมายเฉพาะผู้ที่ศาลสั่งให้ให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา30 เท่านั้น เพราะได้กล่าวมาแล้วว่า บุคคลวิกลจริต หมายถึง บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถด้วย คำว่า ผู้อนุบาล ตามมาตรา 429 นี้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ผู้อนุบาล ตามมาตรา29
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา429 เป็นความรับผิดเนื่องจากบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับความผิด หากไม่ใช่เหตุละเมิดที่เกิดในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด