Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Cholecystitis - Coggle Diagram
Acute Cholecystitis
ภาวะแทรกซ้อน
-
2.ตัวตาเหลืองเนื่องจากมีนิ่วหลงเหลือในท่อน้ำดีร่วมเย็บท่อน้ำดีร่วมไม่ดี ท่อน้ำดีอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบ
-
4.อาการท้องอืด แน่นท้องหลังผ่าตัด เกิดจากสำไส้โดนรบกวนจากก๊าซที่เป่าเข้าไปในช่องท้องหรือเกิดจากการถูกจับต้องขณะผ่าตัดทำให้ลำไส้ทำงานลดลง
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 72 ปี
วินิจฉัยแรกรับ : Acute Cholecystitis หมายถึง ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
U/D : DM,HT,DLP,Heart disease
Operation : Open Cholecystectomy
-
-
-
พยาธิสภาพ
Acute Cholecystitis ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันการอักเสบเกิดขึ้น เนื่องจากมีการระคายเคืองจากน้ำดีที่เข้มข้นทำให้เกิดถุงน้ำดีอักเสบจากการระคายเคืองของสารเคมีในน้ำดี เนื่องจากมีนิ่วมาอุดกั้นหรือติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยผนังถุงน้ำดีอักเสบจะหนาตัวขึ้นและบวมผนังท่อน้ำดีบวมทำให้เกิดอาการปวดตื้อๆและรุนเเรงขึ้นเรื่อยๆ มีไข้ เม็ดเลือดขาวสูงขึ้นอาการตัวเหลือง กดเจ็บบริเวณท้องส่วนบนและคลำได้ก้อนของถุงน้ำดีที่อักเสบบริเวณใต้ชายโครงขวารู้สึกถุงน้ำดีโปร่งตึงจากการอักเสบและน้ำดีออกมา การอักเสบอาจลุกลามไปถึงอวัยวะใกล้เคียงโดยเฉพาะเยื่อบุท้อง
สาเหตุ
เกิดจากการขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆที่อยู่ในท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) และท่อถุงน้ำดี (cystic duct)
อาการ
ปวดบริเวณท้องส่วนบนด้านขวาหรือตรงกลาง ซึ่งมักปวดไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือปวดตุบ ๆ บริเวณดังกล่าว
-
-
เกิดอาการปวดท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารในปริมาณมาก หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเยอะ
-
-
-
-
-
-
-
-
การวินิจฉัย
ตรวจเลือด แพทย์จะเจาะเลือดผู้ป่วย เพื่อดูการทำงานของตับอ่อน เช่น เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) เอนไซม์ลิเพส (Lipase) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) และการทำงานของตับ รวมทั้งตรวจหาการติดเชื้อหรือสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับถุงน้ำดี
-
อัลตราซาวด์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ท้องผู้ป่วย เพื่อดูว่าภายในถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว เยื่อบุหนาที่ถุงน้ำดี ปริมาณน้ำดีที่มากเกินไป หรือสัญญาณอื่น ๆ ของถุงน้ำดีอักเสบ ปรากฏหรือไม่ โดยการอัลตราซาวด์ท้องจะช่วยให้แพทย์ตรวจขนาดและรูปร่างของถุงน้ำดีผู้ป่วยได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีในการวินิจฉัยถุงน้ำดีที่พบได้ทั่วไป
ตรวจสแกนตับและถุงน้ำดี (Hepatobiliary Iminodiacetic Acid Scan: HIDA Scan) แพทย์จะตรวจลำไส้เล็กส่วนบน ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี โดยการตรวจนี้จะช่วยแสดงภาพการผลิตและไหลเวียนของน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เล็ก รวมทั้งปัญหาการอุดตันของน้ำดี ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปภายในร่างกาย ซึ่งสารทึบรังสีจะผสมกับเซลล์ที่ผลิตน้ำดี ทำให้เห็นภาพการไหลเวียนของน้ำดีในท่อน้ำดีได้
ตรวจอื่น ๆ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เอกซเรย์ ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (Computerized Tomography Scan: CT scan) ทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) การตรวจเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยปัญหาถุงน้ำดีได้มากขึ้น
การรักษา
การรักษาเบื้องต้น แพทย์จะไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพื่อลดการบีบตัวของหูรูดที่ถุงน้ำดี ลดการระบายสารต่าง ๆ ออกมา รวมทั้งช่วยให้ถุงน้ำดีไม่ทำงานหนัก อย่างไรก็ตาม แพทย์จะเจาะหลอดเลือดดำให้น้ำเกลือทีละหยดแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ รวมทั้งให้ยาแก้ปวดผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบให้ทุเลาลง ส่วนผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อที่ถุงน้ำดี จะได้รับยาปฏิชีวนะรักษาร่วมด้วย ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเบื้องต้นติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งระหว่างที่รับการรักษาอาจอยู่จะที่โรงพยาบาลหรือกลับไปพักรักษาต่อที่บ้าน เมื่ออาการดีขึ้น การรักษาถุงน้ำดีอักเสบในขั้นต้นนี้จะช่วยให้ก้อนนิ่วที่อุดตันหลุดออกมาได้ในบางครั้ง รวมทั้งไม่ทำให้อาการอักเสบแย่ลง
การผ่าตัด ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันทีในกรณีที่เกิดการอักเสบซ้ำ หรือประสบภาวะแทรกซ้อนอื่น ได้แก่ เนื้อเยื่อตาย (Gangrene) ถุงน้ำดีทะลุ ตับอ่อนอักเสบ เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี หรือท่อน้ำดีอักเสบ หากเกิดอาการป่วยรุนแรง ผู้ป่วยจะได้รับการใส่ท่อผ่านหน้าท้องเข้าไปที่ถุงน้ำดี เพื่อระบายน้ำดีที่อุดตันออกมา ทั้งนี้ การผ่าตัดถุงน้ำดีใช้เวลาผ่าตัดแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของอาการป่วยและแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างและหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำจะได้เข้ารับการผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมง ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หรือช่วงที่รอให้อาการอักเสบลดลงซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ การผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบมีเทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การผ่าตัดแบบส่องกล้อง และการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
-
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้มักนิยมใช้ผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบมากที่สุด โดยแพทย์จะผ่าท้องผู้ป่วยให้มีบาดแผลเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะผ่าหลายแห่ง และสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปที่รอยผ่ารอยหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นถุงน้ำดีและควบคุมการผ่าตัดได้ และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปยังรอยแผลอื่น ๆ เพื่อผ่าตัดผู้ป่วย
การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แพทย์จะผ่าเปิดหน้าท้องผู้ป่วยเป็นรอยผ่าขนาดใหญ่ เพื่อผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกมา อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้มักไม่ค่อยใช้ผ่าตัดผู้ป่วยบ่อยนัก