Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
-
-
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด (ลูกหนี้) คำว่า “ลูกหนี้ผิดนัด” คือการที่ลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ โดยปกติเจ้าหนี้ต้องเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน จึงจะถือว่าลูกหนี้ผิดนัด แต่ก็มีบางกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนก่อน จึงแยกได้ดังนี้
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัดมาตรา 206 บัญญัติว่า “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด” เหตุที่กฎหมายให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดเพราะเป็นการทำละเมิดต่อกฎหมายเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินหรือสิทธิอื่นใด นับแต่วันที่ถูกกระทำละเมิด ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่กันนับแต่วันทำละเมิดค่าเสียหายที่ต้องชดใช้จึงเป็นหนี้เงินจึงจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันกระทำละเมิดตามมาตรา 224 วรรคแรก เว้นแต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพ หรือค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีคำพิพากษา (ฎีกาที่ 1169-1170/2509 , 5128/2546)
ฎีกาที่ 3968/2542 การที่ศาลกาหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษาหรือวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าซ่อมแซมทรัพย์ที่ถูกจำเลยทำละเมิด แต่เป็นการที่ศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด ดังนั้นจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชำระตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัดตามมาตรา 206
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาตรา 205 บัญญัติว่า “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่” พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ กรณีนี้ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้นแต่ยังมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากการชำระหนี้,พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบกฎหมายไม่ได้จำกัดว่าเป็นพฤติการณ์อะไร อาจเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นใดก็ได้,พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบอาจเป็นสาเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้ก็ได้ เช่น เจ้าหนี้ไม่ยอมส่งมอบพื้นที่ให้ก่อสร้าง,พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องผิดชอบอาจเป็นสาเหตุที่เกิดจากบุคคลภายนอกก็ได้เช่นผู้ขายโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อไม่ทันกำหนด เพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ยอมโอนให้ หรือเจ้าพนักงานท่ีดินโอนให้ ไม่ทันเพราะน้ำท่วมรังวัดที่ดินไม่ได้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือนกำหนด ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรค 2 เป็นการกำหนดให้ชำระหนี้ตามวันเดือนปีปฏิทิน
เช่น สัญญากู้ให้ชำระเงินคืนวันที่ 1 มกราคม 2554 หากถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดทันที
โดยผู้ให้กู้ไม่ต้องเตือนเลย และยังให้หมายความรวมถึงกรณีที่การชำระหนี้กำหนดไว้ให้คำนวณได้ตามปฏิทิน เช่น ให้ชำระหนี้ภายใน 2 เดือนนับแต่ทำสัญญา
ฎีกาที่543/2520 เช็คพิพาทมีข้อความสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วเมื่อผู้ทรงเช็คขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
โดยไม่จำเป็นต้องทวงถามอีก
ตามมาตรา 204 วรรคสองตอนท้ายวางหลักไว้ว่าในกรณีที่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณได้โดยปฏิทิน กล่าวคือมีการบอกกล่าวให้ชำระหนี้ซึ่งคำนวณนับได้ว่าลูกหนี้จะต้องชำระหนี้เมื่อใดกันแน่ เช่น กู้เงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องชำระคืนภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ให้กู้บอกกล่าวให้ชำระ
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน มาตรา 204 วรรคแรกบัญญัติว่า “ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ได้ให้ คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ” หลักเกณฑ์คือ 1.หนี้ถึงกำหนดแล้ว 2.เจ้าหนี้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหน้ีแล้ว และ 3.ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ จะเห็นได้ว่าในกรณีที่หนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน ตามมาตรา 203 วรรคแรก กล่าวคือเจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยทันทีเท่านั้น แต่กรณีดังกล่าวยังไม่ถือว่าลูกหนี้ได้ชื่อว่าตกเป็น "ผู้ผิดนัด" ดังนั้นการจะทำให้ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดได้เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปได้ หากเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน หากเจ้าหนี้ไม่เตือนลูกหนี้ก็ไม่มีทางที่จะตกให้ลูกหนี้เป็นผู้ผิดนัดได้ แสดงว่า คำว่าหนี้ถึงกำหนดสามารถใชบังคับทั้งกรณีที่ได้กำหนดเวลาไว้และกรณีไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ การเตือนกฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบว่าจะต้องทำอย่างไร แต่การเตือนในที่นี้ต้องให้ได้ใจความว่าหนี้ถึงกำหนดแล้ว และให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ถือว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ทางปฏิบัติมักจะส่งจดหมายลงทะเบียนและตอบรับเพื่อเป็นหลักฐานแต่เพื่อให้หลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้นก็จะให้ทนายความออกหนังสือทวงถามหรือยื่นโนติสก์
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแก่การผิดนัดโดยทั่วไปการผิดนัดมีผลต่อการเรียกค่าเสียหาย ดอกผลและการบอกเลิกสัญญา กล่าวคือ ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้รวมท้ังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดหากเป็นหน้ีเงินมี สิทธิเรียกร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี และที่การลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เป็นเหตุให้เจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีสัญญาต่างตอบแทน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจไม่ชำระหนี้เป็นการตอบแทนได้ โดยไม่ถือว่าเจ้าหนี้ผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
พิจารณาเป็น 2 กรณี กรณีแรกผิดนัดเมื่อเตือนก่อนหากไม่เตือนก็ไม่ถือว่าผิดนัดเพราะถือว่าคู่สัญญายอมขยายระยะเวลาชำระหนี้ ดังน้ีสิทธิในการเรียกค่าเสียหายเริ่มนับแต่วันนัด เช่นหน้ีเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา224
กรณีที่สองผิดนัดโดยไม่ต้องเตือนแสดงว่าเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ตามวันปีปฏิทินหาก ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ถือว่าผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องก่อน และเช่นเดียวกันมูลหนี้ละเมิดถือว่าผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดตามมาตรา 206
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้ (1) กรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่เป็นสาระสาคัญคือกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามปีปฎิทิน แต่ไม่ถือเอาระยะเวลาเป็นเรื่องสำคัญ เช่นให้ช่างตัดเสื้อผ้าให้เสร็จ 7 วันดังนี้เมื่อครบกำหนดแล้วตัดผ้าไม่เสร็จผู้ว่าจ้างเป็นเหตุไม่รับชำระหนี้ไม่ได้ส่วนมีความเสียหายอย่างไรก็ไปเรียกว่ากล่าวกันต่างหาก
(2) กรณีที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ มาตรา 216 บัญญัติว่า “ถ้าโดยเหตุผิดนัดการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้” กรณีดังกล่าวถือเอาระยะเวลาชำระหนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากลูกหนี้ผิดนัดอย่างน้ีเจ้าหนี้จะบอกปัดไม่ชำระหนี้และจะเรียกค่าเสียหายก็ได้ เช่น จ้างให้ตัดเสื้อผ้า ชุดเจ้าสาว กำหนดให้เสร็จก่อนวันแต่งงาน ปรากฏว่าช่างตัดเสร็จหลังวันแต่งงาน1วัน ดังน้ีการชำระหนี้กลายเป็นไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงบอกปัดไม่ยอมชำระหนี้ และจะเรียกค่าเสียหายก็ได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้นมาตรา 217 บัญญัติว่า “ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความ
ประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัดท้ังจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุอันเกิดข้ึนในระหว่างเวลาที่ผิดนัดน้ันด้วย เว้นแต่ความเสียหายน้ันถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง”
1) ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อคือหากในระหว่างผิดนัดเกิดมีความเสียหายอย่างหน่ึงอย่างใดเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้ อย่างน้ีลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ เช่น ยืมรถยนต์เพื่อนถึงเวลาคืนรถยนต์แล้วไม่ส่งมอบคืนปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าวไฟไหม้รถยนต์ทั้งคันเช่นน้ี ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ
2) ความรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุคือในระหว่างผิดนัดแม้เกิดอุบัติเหตุทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอย่างน้ีลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ เช่น ยืมรถยนต์เพื่อนแล้วผิดนัดไม่ส่งรถยนต์คืนปรากฏว่าคืนน้ันไฟไหม้รถยนต์ท้ังคัน เพราะฟ้าผ่าดังน้ีลูกหนี้ที่ผิดนัดก็ต้องรับผิดชอบ