Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลต่อการละมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นต่อการละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ครผ.ของบิดามาราดาหรือผู้อนุบาลต่อดารละเมิดของคนไร้ความสามารถ
สิทธิไล่เบี้ยของบิดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาจนได้ครบจำนวนที่ได้ชดใช้
มาตรา 429 “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนกระทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่ถือว่าเป็น บุคคลไร้ความสามารถ
บุคคลวิกลจริต ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริตซึ่งศาลได้มีคำสั่งแล้วตามมาตรา 30 เท่านั้น แต่หมายถึงรวมบุคคลวิกลจริตที่ศาลมิได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย
กรณีเด็กแบเบาะซึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสาปัสสาวะรดบุคคลอื่น จะถือว่าเด็กไปทำละเมิดหาได้ไม่ เมื่อเด็กไม่ต้องรับผิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ต้องย่อมเป็นไปตามหลักมาตรา 420 คือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ มีความเคลื่อนไหวในการกระทำโดยรู้สำนึกและจะต้องรู้สึกถึงผลเสียหาย
บิดามารดาหรือผู้อนุบาลจะต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว หากไม่พิสูจน์หรือพิสูจน์ไม่ได้ ตนก็แพ้คดี ถ้าพิสูจน์ให้รับฟังได้ ก็พ้นจากความผิดนั้น ส่วนผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมไม่พ้นความรับผิดเพราะได้กระทำละเมิดตามมาตรา420แล้ว
เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่และเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ถ้ามิใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด
ครผ.ของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นต่อการละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่
ผู้เสียหายต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรทอนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลก็ไม่ต้องรับผิด
ฎ356/2511 ในตอนเช้าครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเดผ้กนักเรียนเอากระบอกพลุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กมิให้เล่นต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียน ถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถ
เมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ฎ1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี้รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทพเป็นธุระ ดังนี้นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้วบิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 “ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่งครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ
ต่างจากมาตรา 429 ตรงตัวผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ผู้ที่รับผิดในมาตรานี้คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแล จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิด แต่ไม่ได้หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล เช่น จ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้าน
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
ไม่ถือว่าร่วมกันทำละเมิดและไม่ใช่innocent agent
นางจ้างและลูกจ้างเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
สัญญาจ้างแรงงาน คือ มีอำนาจบังคับบัญชา
สัญญาจ้างทำของ คือ ไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีของตนและลูกจ้างต้องปฏิบัติตามเสมอแต่ต้องเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการงานที่จ้าง
เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ข้าราชการในกระทรวง ทบว กรม ไม่ถือว่าเป็นนายจ้างลูกจ้าง
มาตรา 425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
นายจ้างไม่ต้องรับผิด หากลูกจ้างกระทำไปโดยมีเจตนาจูงใจส่วนตัว ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้าง
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ความรับผิดของตัวการ
ต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทน
ตัวแทนโดยเหตุฉุกเฉิน ปกกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ทำการใดๆอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำย่อมมีอำนาจทำได้ทั้งสิ้น
ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป ทำได้ทุกอย่าง นอกจากเข้าข้อยกเว้นในมาตรา 801
ตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมทำได้เพียงสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้สำเร็จลุล่วง เช่น เป็นตัวแทนในการซื้อรถยนต์ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะให้ได้รถยนต์นั้นมาเป็นของตัวการ
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้าง จึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
กิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการ ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งของตัวการ ทำให้ตัวการต้องรับผิดร่วมกับตัวแทน มาตรา 427จึงให้นำมตรา425และมาตรา426มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทน
มาตรา 797 จะต้องมีการตั้งตัวแทนขึ้น ดังนั้นถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทน แต่เป็นการใช้หรือวานคนรู้จักให้ทำ ย่อมไม่ใช่ตัวแทน ผู้รับวานทำละเมิดต้องรับผิด แต่ผู้วานไม่ต้องรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ในทางการที่จ้าง ดูได้จาก
ลูกจ้างได้กระทำตามที่จ้าง
ลูกจ้างต้องอยู่ในการควมคุมของนายจ้าง
ลูกต้างกระทำไปเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง
ลูกจ้างได้กระทำตามหน้าที่
ลักษณะงาน
วิธีปฏิบัติ ในการสั่งให้กระทำ ถ้านายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียด ลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไปและสมประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างต้องรับผิด
นายจ้างมีคำสั่งห้าม ห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้ง แต่หากเป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วยจนเกิดชนคนข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ นายจ้างต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
การกระทำโดยจงใจ เป็นเรื่องที่ผู้กระทำเล็งเห็นว่าการระทำของตนถ้าได้ทำลงไปแล้วจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
การที่นายจ้างต้องรับผิดต่อการละเมิดของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
นายข้างลูกจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกัน จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง
หากมูลหนี้ระงับลง เช่น ผู้เสียหายปลดหนี้ให้แก่ลูกจ้างหรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกจ้าง ความรับผิดชองนายจ้างย่อมระงับสิ้นไป
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ตัวบทมาตรา428 ใช้คำว่า ไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหาย ดังนั้น ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น
เมื่อความเสียหายเกิดจากผู้ว่าจ้างกระทำเองจึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่างจ้าง/ล่ะบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของ ไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้ว่าจ้างได้ก่อให้เกิดแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง…
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ข้อยกเว้นที่ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องรับผิด
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ ตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ แม้งานที่สั่งจะไม่เป็นละเมิดแต่เพียงแนะนำผู้รับจ้างให้ทำโดยวิธีการใดเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง จ้างคนที่รู้ว่าไม่ใช่คนที่มีความสามารถแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหาย แต่หากไม่รู้โดนผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าชำนาญกฟ้ใช่ความผิดในการเลือก
มาตรา 428 “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้ยแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกเพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง
เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะได้ทำความผิดทางละเมิดขึ้นเองในการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจุงต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเป็นการกระทำของผู้รับจ้างก็ตาม