Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาว อาภาภัทร อักษรภักดี 62111695PBL4 : Job Development of Nurse…
นางสาว อาภาภัทร อักษรภักดี 62111695PBL4 : Job Development of Nurse Director
การวางแผนกลยุทธ์
การกำหนดแนวทาง วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในระยะยาว
การวางแผนมี 4 ขั้นตอน
1.วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
2.การกำหนดกลยุทธ์
3.การนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
4.เป็นการประเมินและควบคุมแผนกลยุทธ์
ความสำคัญ
ช่วยให้ผู้บริหารมีความคิดที่เป็นระบบ ช่วยให้องค์กรมีกรอบและแนวทางที่ชัดเจน ช่วยให้องค์กรมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันและมีมุมมองที่ครอบคลุม ทำให้เกิดความสอดคล้องกันในการปฏิบัติหน้าที่
ลักษณะสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์
เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นถึงอนาคต (Future - Oriented) การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นอนาคต โดยการสร้างหรือกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การ
เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ (Change - Oriented)การจัดการเชิงกลยุทธ์มุ่งเน้นความสำคัญต่อการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งระบบ
เป็นการบริหารองค์การแบบองค์รวม (Holistic Approach) การจัดการเชิงกลยุทธ์มุ่งเน้นทีภาพรวมทั้งหมดขององค์การ มากกว่าการพิจารณาองค์การแบบแยกส่วน
เป็นการบริหารองค์การที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการดำเนินงาน (Result – Based Focus) การัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์การดำเนินงาน
เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ (Stakeholder -Oriented) การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นและคำนึงถึงความต้องการขององค์การ
เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการวางแผนระยะยาว (Long – Range Planning) การจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจทางด้านกลยุทธ์
รูปแบบ
1.มุ่งเน้นถึงอนาคต เช่นมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์กร
2.มุ่งเน้นการจัดการการเปลี่ยนแปลง เช่น กรณีโรคระบาด ภาวะเศรษฐกิจล้มเหลว
3.มุ่งเน้นแบบองค์รวม เช่น คุณภาพและการบริการ
การจัดการงบประมาณ
ความหมาย
แนวทางการพิจารณาและช่วงเวลาของงบประมาณแสดงให้ทราบถึงรูปแบบความรับผิดชอบที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอำนาจทางเมือง
ชนิดงบประมาณมี 6 ชนิด
.งบบุคคากร
งบดำเนินการ
งบลงทุน
งบเงินอุดหนุน
งบเงินสด
งบแผนงาน
รูปแบบ
งบประมาณแบบเน้นการควบคุม เป็นงบประมาณที่แสดงรายการข้อมูลของงบประมาณ ข้อดี : เป็นเครื่องมือช่วยควบคุม กำกับ หน่วยงานต่างๆข้อเสีย : ขาดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายงบประมาณ
งบประมาณแบบเน้นการจัดการ(Management oriented budget) โดยจะเน้นที่การจัดการ มีบทบาทลักษณะสำคัญ•ข้อดี : สามารถแสดงเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่•ข้อเสีย : กิจกรรมบางอย่างไม่สามารถวัดผลได้
งบประมาณแบบเน้นการวางแผน (Planning –programming budget หรือ PPB)แสดงให้เห็นการผสมผสานกันอย่างเป็นระบบในการวางแผนและการจัดทำงบประมาณ•ข้อดี : สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในระยะยาว จนตลอดการเคราะห์การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด•ข้อเสีย : มุ่งที่ต้นทุนทางบัญชี และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และขาดเหตุผล
งบประมาณที่เน้นการแก้ปัญหาข้อจำกัดทางทรัพยากร หรือ งบประมาณฐานศูนย์ เป็นงบประมาณที่ไม่นำค่าใช้จ่ายในปีก่อนมาเป็นข้อผูกพัน•ข้อดี : สามารถจัดสรรงบประมาณในช่วงเวลาที่มีปัญหาหรือข้อจำกัดทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม•ข้อเสีย : การกำหนดเป้าหมายอาจเกิดปัญหาที่ไม่ตรงกับความต้องการ
การจัดอัตรากำลังคน (Staffing)
ความสำคัญ
เพื่อให้หน่วยงานมีกำลังคนทำงานอย่างเพียงพอ คนมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้รับบริการหรือผู้ป่วยปลอดภัย โดยได้รับบริการพยาบาลที่มีคุณภาพ
หลักการสำคัญในการจัดอัตรากำลัง
แบบแผนหรือรูปแบบในการจัดอัตรากำลัง และการจัดบริการพยาบาล ไม่ขึ้นกับประเภทหรือกลไกของการจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภทและความรุนแรงของผู้ป่วย
การจัดอัตรากำลัง ต้องอยู่บนพื้นฐานการมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า คุณภาพการดูแลผู้ป่วย ตอบสนองพันธกิจ และสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่โรงพยาบาลมุ่งหวัง
3.การประเมินผลการจัดอัตรากำลัง ต้องประเมินทั้งด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพชีวิต
มีระบบการจัดเตรียมบุคลากรทดแทนให้เพียงพอในกรณีบุคลากรป่วย มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีปริมาณงานเพิ่มขึ้น(ผู้ป่วยมาก) และมีแผนการลดจำนวนบุคลากรเมื่อมีปริมาณงานลดลง
กระบวนการที่เหมาะสม
1.วางแผนจัดอัตรากำลัง เป็นการคาดการณ์เกี่ยวกับประเภท คุณภาพ คุณสมบัติบุคลากร เพื่อตอบสนองเป้าหมายต่อองค์กร แบ่งเป็น 2 ระยะ
1.1แผนระยะสั้น เป็นการกำหนดอัตรากำลังให้มีความเพียงพอที่จะให้บริการในแต่ละวันตลอดทั้งปี
1.2แผนระยะยาว
2.การจัดตารางการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีอัตรากำลังที่เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละช่วงเวลา
การจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล
ประเภทที่ 1 สามารถดูแลตนเองได้ (self care) ต้องการพยาบาล 1-2 ชั่วโมง เฉลี่ย 1.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 2 อาการป่วยเล็กน้อย (minimal care) ต้องการพยาบาล 3-4 ชั่วโมง เฉลี่ย 3.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 3 อาการป่วยปานกลาง(intermediate care) ต้องการพยาบาล 5-6 ชั่วโมง เฉลี่ย 5.5ชั่วโมง
ประเภทที่ 4 อาการระดับต่ำกว่าระดับวิกฤติ (modified care) ต้องการพยาบาล 7-8 ชั่วโมง เฉลี่ย7.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 5 อาการในระยะวิกฤติหรือผู้ป่วยอาการหนัก (intensive care) ต้องการพยาบาล 10-14
ชั่วโมง เฉลี่ย 12 ชั่วโมง ซึ่งประเภทนี้ จะรับไว้รักษาในเพราะเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษเฉพาะทางได้แก่icu
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
(Change Management)
การจัดการกับเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive) เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์
การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive) เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่น อาจจะเป็นในเชิงจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือเป็นนโยบายระดับองค์กร
องค์ประกอบหลัก 3 ประการในฐานะผู้บริหารทางการพยาบาล
โครงสร้างของการบริหารงานในองค์กร (Structure)
กระบวนการในการทำงาน (Process) ดูว่ามีการคิดระบบใหม่ ๆ มาใช้หรือไม่ ซึ่งการคิดกระบวนการหรือวิธีการใหม่นั้น
บุคลากร ซึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การบริหารทรัพยากร
การบริหารทรัพยากร คือ กระบวนการวางแผนการใช้ทรัพยากรและการวางแผนจัดสรรงานให้เป็นไปตามที่มอบหมาย
เป้าหมาย
1.ทรัพยากรมนุษย์ เช่น บุคคลากรสุขภาพรวมถึงบุคคลากรสายสนับสนุน
2.ทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์
กระบวนการจัดการทรัพยากร
2.1.ประเมินสถานการณ์2.2.เป้าหมายในการจัดการ2.3.ระบุปัญหาที่เกิดขึ้น2.4.กำหนดผลลัพธ์ หลักเกณฑ์2.5.ทำแผนการดำเนินการ จัดสรรทรัพยากร2.6 ลงมือปฏิบัติ2.7 ประเมินผลการจัดการทรัพยากร
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การจัดการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ คือ การคิด การคาดการณ์กำหนดไว้ล่วงหน้า ว่าใครทำอะไร ที่ไหนเมื่อไร อย่างไร และทำเพื่ออะไร
หลักการ
1.ทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.มีระบบการจัดเตรียมบุคลากรทดแทน เพื่อให้เพียงพอ เช่น เกิดการฉุกเฉินของโรคระบาดต้องใช้บุคลากรที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความเพียงพอต่อระบบงาน การบริการ มีการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ต่อบุคคลากร
การวางแผนการดำเนินงาน (Operational planning)
การวางแผนการดำเนินงาน คือ การกำหนดหรือตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไหร่ โดยมีทิศทางที่ชัดเจน
ความสำคัญ
ทุกฝ่ายได้ร่วมกันวางแผนการทำงาน ทำให้เกิดระเบียบ ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซำ้ซ้อนและช่วยให้ผู้บริหารเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้และจะช่วยให้การบริหารงานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น ทำให้การควบคุม ติดตาม การประเมินงานได้ดี
การวางแผนตามกิจกรรม
1.ขั้นดำเนินการก่อนวางแผน ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย
2.ขั้นปฏิบัติตามแผน
3.ขั้นการติดตามและประเมินผล