Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Job Development of Nurse Director, นงนุช บุญยัง. (2553).…
Job Development of Nurse Director
การวางแผน
การวางแผนกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ ชุดของการตัดสินใจ และการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการ จัดทำแผนและการ ปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติการเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานระยะยาว และเป็นการบริหารงานอย่างเป็นระบบและนำไปปฏิบัติงานได้จิง
การวางแผนกลยุทธ์ขององค์การพยาบาล มีแนวทางการจัดทําคล้ายกับการวางแผนทางธุรกิจ
ซึ่งจะต้องจัดทําให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โรงพยาบาล โดยผู้อํานวยการโรงพยาบาลจะแต่งต้ังคณะกรรมการจัดทําร่างยุทธศาสตร์โรงพยาบาล ดําเนินการนํายุทธศาสตร์ ระดับกระทรวง เขตฯ และจังหวัด พิจารณาร่วมกับการ ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจโรงพยาบาล และบูรณาการ กับการวิเคราะห์สถานการณ์ท่ีกําลังเกิดขึ้น
ผู้อํานวยการ โรงพยาบาลในฐานะผู้บริหารสูงสุดจะเป็นผู้รับผิด ชอบถ่ายทอดยุทธศาสตร์โรงพยาบาลแก่กลุ่มงาน ต่างๆ เพื่อจัดทําแผนกลยุทธ์กลุ่มงานท่ีตอบสนอง ต่อยุทธศาสตร์โรงพยาบาล กลุ่มงานจะถ่ายทอด แผนกลยุทธ์ที่กําหนดลงสู่หน่วยงานภายในกลุ่มงาน เพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการที่ตอบสนองแผนกลยุทธ์ ในส่วนของงานบริการพยาบาล หัวหน้าพยาบาลอาจ จะมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกลุ่มการพยาบาลหรือคณะกรรมการจัดทําแผนกลยุทธ์กลุ่มการพยาบาล รับผิดชอบในการร่างแผนกลยุทธ์กลุ่มการพยาบาล โดยมีการนํายุทธศาสตร์ขององค์การวิชาชีพ ยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล ผลการวิเคราะห์ปัจจัย ภายใน/ภายนอกองค์การมาบูรณาการร่วมกันใน การร่างแผนกลยุทธ์ ก่อนท่ีจะถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ ลงสู่หน่วยงาน/หอผู้ป่วยเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการท่ีมีรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่กําหนดต่อไป
ขั้นตอน
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ กําหนดกลยุทธ์ต้องเข้าใจในความสัมพันธ์และ แนวโน้มความเป็นไปของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ทั้งสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมใน ระบบสุขภาพ
การกําหนดกลยุทธ์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นรากฐานที่สําคญั ต่อ ความสําเร็จในการดําเนินการเชิงกลยุทธ์ในแต่ละองค์การ ทําให้ผู้บริหารสามารถกําหนดเป้าหมายขององค์การ ได้ ตลอดจนสามารถรู้ถึงทิศทางขององค์การในอนาคต
การนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เป็นขั้นตอนนี้เป็นการถ่ายทอดกลยุทธ์ในระดับองค์การที่อยู่ในแผนกลยุทธ์ไปสู่กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ ระดับปฏิบัติ โดยการกําหนดเป็นโครงการ แผนปฏิบัติการ และงบประมาณเพื่อรองรับ
การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ ติดตามกิจกรรมและผู้ปฏิบัติงาน ขององค์การอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่ากิจกรรมนั้น ๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
ข้อดี
ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน กําหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของ องค์การอย่างเป็นระบบ
ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ พิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกองค์การ ทําให้ผู้บริหารสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความ เปลี่ยนแปลงนั้น
ช่วยสร้างความพร้อมให้องค์การ องค์การมีการเตรียมความพร้อมในการรับกับสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ
ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน เป็นความพยายามในการ แข่งขันกับศักยภาพของตนเอง หรือในเชิงเปรียบเทียบกับองค์การอื่นๆ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายตามความคาดหวังของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ช่วยให้การทํางานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่
ทําให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ
ช่วยให้องค์การมีมุมมองที่ครอบคลุม
โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็น วิธีการบริหารที่คํานึงถึงปัจจัยภายในและภายนอก
ข้อเสีย
แผนกลยุทธ์ทางการพยาบาลไม่สอดคล้องกับ สภาวการณ์ ปัจจุบันขององค์การพยาบาล ส่งผลให้การพัฒนางานบริการพยาบาลไม่ครอบคลุมประเด็นที่สําคัญ
ข้อจำกัด
เป็นการวางแผนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
มีลักษณะเป็นการวางแผนจากบนลงล่าง (Top-down) ซึ่งขึ้นกับความคิดเห็นของผู้บริหาร
เป็นการวางแผนในปัจจุบันเพื่อการปฏิบัติในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ทั้งหลายเกิดจากการคาดเดาล่วงหน้าของผู้บริหาร
การวางแผนปฏิบัติงาน
ปัหาที่พบในการวางแผนการแก้ไข
การแก้ไข
แก้ไขโดยศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนให้มากขึ้น ขอคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ ทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ มองผลกระทบในภาพรวมมากขึ้น การมองบริบทหน่วยงาน และสถานการณ์นั้นๆ ปรับให้เหมาะสมว่าควรเป็นเชิงรับ หรือเชิงรุก
ปัญหา
ขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับแผน แก้ไขโดยศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนให้มากขึ้น ขอคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์
ขาดความเข้าใจในสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการวางแผน แก้ไขโดยทำความเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ มองผลกระทบในภาพรวมมากขึ้น
มักวางแผนเชิงรับมากกว่าเชิกรุก แก้ไขโดยการมองบริบทของหน่วยงาน แสถานการณ์นั้นๆ ปรับให้เหมาะสมว่าควรเป็นเชิงรับ หรือเชิงรุก
ขาดการสนับสนุนที่พอเพียงจากองค์การ
ใช้แผนไม่เหมาะสมและมีการต่อต้านแผนอย่างเปิดเผย
กิจกรรมของแผนไม่ชัดเจนมีรายละเอียดไม่พอ
ลักษณะของแผนมุ่งการควบคุมมากกว่าเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
รูปแบบของงาน
แผนระยะยาว อาจเป็นแผน 5 ปี 15 ปี 20 ปี ซึ่งเรียกว่า แผนกลยุทธ์ แต่ถ้าแผนระดับผู้ป่วย เช่น ในหอผู้ป่วย แผนระยะยาวอาจเป็นแผน 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็ได้
แผนระยะสั้น เป็นแผนที่มุ่งความสำเร็จของงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ อาจเป็นแผ่นการทำงานตั้งแต่ 1ชั่โมง จนถึง 3ปี มีความขับช้อนกว่าแผ่นระยะยาว การวางแผน ระยะสั้นอาจเป็นแผนประจำวัน แผนนโบาย และแผนปฏิบัติการตามคู่มือที่กาหนดไว้
แผนประจำวัน ที่เห็นได้ชัดคือ ตารางการทำงานของพยาบาล การวางแผนงาน ตารางาน การรับประทานอาหาร และหยุดพัก ดารางการจัดประชุม การประชุมปรึกษาก่อนปฏิบัติ
ประเภทของงาน
แบ่งตามระยะเวลา ได้แก่ แผนระยะยาว แผนระยะกลางและแผนระยะสั้น
แบ่งตามลักษณะความสาคัญ ได้แก่ แผนใหญ่ (Master Plan) แผนรอง หรือแผนละเอียด
แบ่งตามกิจกรรมหรือประเภทของแผน ได้แก่ แผนทางเศรษฐกิจ แผนทางสังคม และแผนทางการ
แผนที่ดี
เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย
ปรับปรุงแก้ไขได้เมื่อจำเป็น
มีวัตถุประสงค์แน่นอน ชัดแจ้ง เข้าใจง่าย
นำไปปฏิบัติได้
ประโยชน์ของการวางแผน
ประหยัดแรงงาน วัสดุ และเวลา
ถ้าทุกฝ่ายได้ร่วมวางแผน จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานนั้นๆ
ผู้นิเทศสามารถควบคุม ติดตาม และประเมินผลงานได้ดี
เกิดระเบียบในการปฏิบัติงาน
การมอบหมายงานและความรับผิดชอบ Nurse director
การมอบหมายงาน
ความหมาย
เป็นบทบาทสำคัญพื้นฐานที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในการบริหาร หลังจากที่ได้จัดคนให้ทำงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของตนเองแล้ว หรือที่เรียกว่า “Put the Right Man on the Right Job”
ลักษณะ
การมอบหมายงานเป็นหน้าที่
โดยแบ่งไว้ว่าในเวรนี้ใครมีหน้าที่อะไรบ้างเช่น หน้าที่วัด สัญญาณชีพ หน้าที่ฉีดยา จัดยา แจกยา หน้าที่ทำแผล หน้าที่รับใหม่ จำหน่าย หน้าที่สอนสุขภาพ หน้าที่ รับผิดชอบ complete chart ตาม round แพทย์ เป็นต้น
ข้อดี
สามารถพัฒนาทักษะจนชำนาญในเรื่องนั้น ประหยัดเวลา
ใช้บุคลากรน้อยลงแต่สามารถให้บริการผู้ป่วยจํานวนมาก อาจจะเหมาะสำหรับการปฏิบัติงานในระยะสั้นๆ
ข้อเสีย
อาจไม่ได้บูรณาการเป็นองค์รวม มีการขาดตอนตามงาน มุ่ง งานมากกว่ามุ่งคน เกิดผิดพลาดได้ง่ายเพราะรับผิดชอบลำพังคนเดียว เป็นการทำตามหน้าที่ของตนเองเท่านั้น
สัมพันธภาพกับผู้ป่วย ท่าให้ขาดการเรียนรู้ของใหม่
การมอบหมายงานเป็นรายบุคคล (case method)
เป็นการมอบหมายงานให้พยาบาล รับผิดชอบให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยใช้พยาบาลหนึ่งคนหรือมากกว่า และต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยที รับผิดชอบแบบองค์รวม ครบถ้วน
ข้อเสีย
ต้องใช้พยาบาลและเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมาก จะรู้จักเฉพาะ ผู้ป่วยที่รับผิดชอบเท่านั้น อาจมีข้อจํากัดสําหรับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลจบใหม่ตลอดจนเจ้าหน้าที่ พยาบาล ที่ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยหนักได้ทั้งราย
ข้อดี
การมอบหมายงานวิธีนี้มีข้อดี คือ พยาบาลได้ใกล้ชิดผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยมีความไว้วางใจต่อกันมากขึ้น
3.การมอบหมายงานแบบทีม (Team Method)
ในทีมหนึ่งจะประกอบไปด้วย พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค เจ้าหน้าที่พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักศึกษาพยาบาล โดยมีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าทีม มี การวางแผนการทํางานร่วมกันและให้การพยาบาลอย่างครบถ้วนแก่ผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมายตลอดจนการ ประเมินผลร่วมกันโดยพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้นําทีม
ข้อดี
สามารถให้การพยาบาลได้ครบถ้วนและมีคุณภาพ ได้ใช้ความรู้ ความสามารถตรงตามศักยภาพและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันช่วยใหบ้รรลุวัตถุประสงค์ได้ดี ทุกคนมีความสําคัญ มีคุณค่าเท่าเทียมกันทั้งทีม ช่วยให้มีความกระตือรือร้นมากขึ้น
ข้อเสีย
หากลืมหรือเกิดความไม่ทั่วถึงในการให้การบริการพยาบาลแก่ ผู้ป่วยอาจหาคนที่ต้องรับผิดชอบในงานนั้นๆ ได้ยาก ส่วนใหญ่วิธีการนี้มีผลเสียน้อยหากทุกคนรู้บทบาทของ ตนเองเป็นอย่างดีและมีความรับผิดชอบสูง
4.การมอบหมายงานแบบเจ้าของไข้ (Primary Nursing)
การมอบหมายแบบนี้คล้ายกับการ พยาบาลรายบุคคล แต่ต่างกันตรงที่แบบเจ้าของไข้นี้พยาบาลจะต้องวางแผนให้การพยาบาลที่ได้รับมอบหมาย ตลอด 24 ชั่วโมง โดยต้องรับผิดชอบตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล และต้องประสานกับทีม สุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักโภชนากร นักสังคมสงเคราะห์ ตามสถานการณ์
ข้อดี
พยาบาลได้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยและสามารถให้การพยาบาลได้ อย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์แบบ มีการทํางานประสานกับวิชาชีพอื่นๆ ในทีมสุขภาพเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วย เป็นการกระจายอํานาจ ความรับผิดชอบของหัวหน้าให้แก่พยาบาล
ข้อเสีย
ต้องใช้พยาบาลจํานวนมากจึงจะเพียงพอกับผู้ป่วย มีความ ยุ่งยากในการจัดเวรดูแลผู้ป่วย
5.การมอบหมายงานแบบผสม (Multiple Method)
เป็นการผสมผสานกันหลายๆ แบบ เช่น แบบ ทีมร่วมกันกับแบบตามหน้าที่ แบบรายบุคคลร่วมกับแบบทีม ซึ่งอาจแก้ปัญหาพยาบาลไม่เพียงพอได้
การรับผิดชอบ
ลักษณะของความรับผิดชอบ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรที่มีต่อองค์กร
ทําความกระจ่างชัดกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร
คิดว่างานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถและศักยภาพของตนเอง
ช่วยกันดูแลทรัพยากรที่มีอยู่ให้นําไปใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากที่สุด ไม่ฉวยโอกาสจากองค์กร
ร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ร่วมกัน ส่งเสริมให้มีการกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าลงมือทํา
พัฒนาตนเองในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
ความหมาย
ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงินรับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง
การบริหารจัดการ
การจัดอัตรากำลังคน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อกำหนดปริมาณอัตรากำลังให้เพียงพอ เหมาะสม
2.เพื่อสรรหาบุคลากรทางการพยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
3.เพื่อออกแบบการจัดตารางงานให้เหมาะสม
หลักการสำคัญในการจัดอัตตรากำลัง
1.แบบแผนหรือรูปแบบในการจัดอัตรากำลังขึ้นอยู่กับชนิดประเภทและความรุนแรงของผู้ป่วย
2.การจัดอัตรากำลังต้องอยู่บนพื้นฐานการมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านประสิทธิภาพความคุ้มค่า คุณภาพ การดูแลผู้ป่วย ตอบสนองพันธกิจและสอดคล้องกับผลลัพธิ์ที่โรงพยาบาลมุ่งหวัง
3.การประเมินผลการจัดอัตรากำลังต้องประเมินทั้งด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพชีวิต การทำงานของบุคลากรโดยสามารถประกันคุณภาพการพยาบาลได้
4.มีระบบการจัดเตรียมบุคลากรทดแทนให้เพียงพอในกรณีบุคคลากรป่วยมีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือมีปริมาณงานเพิ่มขึ้นและมีแผนการลดจำนวนบุคลากรเมื่อมีปริมาณงานลดลง
ประโยชน์
ทำให้บุคลากรทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง
ทำให้ได้คนดีและมีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ
ทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ทำให้มีการบริการค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม
ทำให้เกิดการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคลากร
กระบวนการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล
Staffing plan
เป็นการคาดการณ์เกี่ยวกับประเภท คุณภาพ คุณสมบัติ ข้อมูลบุคลากรเพื่อตอบสนองขององค์กร
1.แผนระยะสั้นเป็นการวางแผนกำหนดอัตรากำลังให้เพียงพอที่จะให้บริการในแต่ละวันตลอดทั้งปี
2.แผนระยะยาวเป็นการวางแผนอัตรากำลังในอีก 3ปี 5ปีและ10ปี
Scheduling
เป็นกระบวนการควบคุมและประเมินกิจกรรมในการจัดอัตรากำลังเพื่อให้มีอัตราที่เหมาะสมเพียงพอในการให้บริการพยาบาลตลอดช่วงเวลาของการบริการ
Staff allocation
เป็นกระบวนการกระจายและผสมผสานอัตรากำลังในแต่ละประเภทที่มีอยู่ในแต่ละหน่อยงานให้เหมาะสมและเพียงพอกับภาระงานในช่วงปฎิบัติงาน
การจัดการการเปลี่ยนแปลง
ความหมาย : การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการปรับปรุงหรือทบทวน การออกแบบการปฏิบัติการเทคนิค หรือระบบ รวมทั้งส่วนที่เป็นโครงสร้าง และไม่ใช่โครงสร้าง เช่น กระบวนการ องค์กร การทบทวนเอกสาร โดยอาศัยการวางแผนการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive)
เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลง
จากผู้อื่นซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์
การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive)
เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่น อาจจะเป็นในเชิงจาก หน่วยงานต้นสังกัด หรือเป็นนโยบายระดับองค์กร ระดับประเทศก็ได้ ทั้งๆ ที่ บุคคลในองค์กรอาจไม่ยอมที่จะ เปลี่ยนแปลง
ช่วงละลายพฤติกรรม (Unfreezing)
เป็นความพยายามละลายระบบ หรือรูปแบบพฤติกรรมเดิม เปรียบเสมือนละลายน้ําแข็งให้เป็นน้ํา ทั้งนี้ จะต้องทําให้บุคคลรู้สึกมีความมั่นคง โดยจะหลีกเลี่ยงการคุกคาม หรือทําให้มีความเสี่ยง โดยใช้วิธีการจูงใจทั้งเชิงบวกและเชิงลบในการบริหารงาน
ช่วงการเปลี่ยนแปลง (Changing) เ
ป็นช่วงที่เป็นการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่จน นําไปสู่พฤติกรรมที่องค์กรพึงปรารถนา โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การสอนงาน การพัฒนา ฝึกอบรม ฯลฯ
ช่วงตกผลึกอีกครั้ง (Refreezing) เ
ป็นช่วงที่พฤติกรรมใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้เริ่มจะอยู่ตัวจึงต้อง มีการเสริมแรงให้พฤติกรรมธํารงอยู่อย่างยั่งยืน โดยการจัดทําเป็นระบบ มาตรฐาน และมีกระตุ้นและจูงใจให้ บุคคลปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการบริหารความเปลี่ยนแปลง
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารทางการพยาบาลที่ดี
คือ การเป็นผู้นําสําหรับผู้ใต้บังคับบัญชากล่าวคือต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้น การแสดงบทบาทที่สนับสนุน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอคง ต้อง ริเริ่มหรือกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วย
องค์ประกอบหลัก 2ประการในฐานะผู้บริหารทางการพยาบาล
กระบวนการในการทํางาน (Process)
ดูว่ามีการคิดระบบใหม่ ๆ มาใช้หรือไม่ ซึ่งการคิด
กระบวนการหรือวิธีการใหม่นั้น อาจแบ่งได้ 2 ประเภทคือ คิดกระบวนการใหม่ที่มีรากฐานมาจากกระบวนการ เดิมๆ อยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรือไม่ก็เปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) จนไม่เหลือเค้า โครงเดิม
บุคลากร
ซึ่งปัจจัยแห่งความสําเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงคือบุคลากรหรือคนที่ดํารงอยู่ใน องค์กรซึ่งต้องมีการสํารวจความพร้อม โดยต้องเริ่มจากสภาพปัจจุบันว่ามีวัฒนธรรมการทํางานเช่นไร มีความรู้ ความสามารถ และ มีทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องนั้นๆ
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
การไล่ตามการเปลี่ยนแปลง
การนํา การเปลี่ยนแปลงมาใช้ให้เกิดประโยชน
ลักษณะการต่อต้านมีทั้งหมด 3 รูปแบบ
(1)การปฏิเสธ[การเปลี่ยนแปลง (Denial)
บุคคลประเภทนี้จะหลีกหนีการร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น วิธีการแก้ไขที่ดี คือ ใช้การชี้แจงถึงความจําเป็นของการเปลี่ยนแปลง และประโยชน์ที่จะได้รับ
(2)การต่อต้านเงียบ (Passive Resistance)
บุคคลประเภทนี้ จะแสดงตนเหมือนพร้อมให้ความ ร่วมมือ แต่เมื่อต้องปฏิบัติงาน จะไม่ให้ความร่วมมือ สังเกตได้ว่าไม่ค่อยเข้าร่วมประชุม หรือมักจะถ่วงเรื่อง ต่างๆ ไว้ ให้ทุกอย่างดํา เนินไปอย่างล่าช้า วิธีการแก้ไขคือ ต้องเปิดโอกาสให้ได้แสดงความรู้สึก หรือความ คิดเห็นออกมา ดีกว่าเก็บซ่อนความรู้สึกนั้นไว้
(3)การต่อต้านอย่างเปิดเผย (Active Resistance)
บุคคลประเภทนี้ จะแสดงความไม่เห็นด้วย อย่างเปิดเผย และมักจะโน้มน้าวให้ผู้อื่นคล้อยตามตนเอง อาจสังเกตได้ว่า จะแสดงความไม่พอใจ โดยบันทึก ข้อความส่งถึงผู้บริหาร หรือผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิธีการที่รับมือดีที่สุดคือ การตอบกลับบุคคล เหล่านี้อย่างใจเย็น มีเหตุผล และหนักแน่น อย่าโต้ตอบด้วยความรุนแรงกลับไปการใช้กล่องรับฟังความคิดเห็น เพื่อลดแรงต่อต้าน และนํา ข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนแผนการเปลี่ยนแปลงในกรณีที่จํา
การนำมาประยุกต์ใช้
การจัดการกับเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม และทําให้เกิดการพัฒนาองค์กรทั้งเชิง ประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักการ ของการบริหารการเปลี่ยนแปลงว่า ผลลัพธ์ของการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนแปลงการ ปฏิบัติงาน จากการใช้องค์ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพของหน่วยงาน
การจัดการงบประมาณ
ความสำคัญ
เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ จึงต้องมีการควบคุมและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องใน การใช้จ่าย
เพื่อไม่ให้เกิดความชะงักในการปฏิบัติงาน ในโครงการต่างๆต้องให้เป็นไปตามตารางเวลาที่กําหนด
เพื่อธํารงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของฝ่ายบริหารที่อนุมัติงบประมาณ เพื่อให้งานได้ดําเนินไปตามแผน
เพื่อให้มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นไปตามเงื่อนไขทางการเงินที่ได้รับอนุมัติ
เพื่อความยืดหยุ่นของงบประมาณซึ่งเป็นเป้าหมายสําคัญในการบริหารงบประมาณเพราะหากมี สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง อย่างไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน ก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง งบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น โดยการยืดหยุ่นในการใช้จ่ายงบประมาณ ประเภทของระบบงบประมาณ
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณสอดคล้องเป็นไปตามแผนงาน โครงการที่ได้รับอนุมัติ
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นได้ในทุกระดับของการบริหารสามารถใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดําเนินงาน โครงการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้รับอนุมัติ
การประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน
บทบาท
ผู้บริหารการพยาบาลหรือหัวหน้าพยาบาล
ร่วมกําหนดพันธกิจ นโยบาย เป้าหมายในการจัดทําและจัดสรรงบประมาณ
จัดทํางบประมาณของกลุ่มการพยาบาล
ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
บริหารงบประมาณ ควบคุมค่าใช้จ่าย
จัดทําคู่มืองบประมาณ
วางแผน/จัดให้มีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกันการเงินและงบประมาณ
หัวหน้าหอผู้ป่วย
• ต้องมีความรู้และเข้าใจในเรื่องต้นทุนทางการพยาบาล
• สามารถวิเคราะห์ต้นทุนการพยาบาลในหน่วยงาน ภาระงานและสามารถให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับต้นทุนการรักษาพยาบาลได้ เพื่อที่จะดําเนินการและสนับสนุนให้การบริการ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลรายงานต่างๆ ได้ถูกต้องตามที่ผู้จัดสรร/หน่วยงานที่จัดสรรงบประมาณกําหนดไว้
ชนิดของงบประมาณ
งบบุคลากร
เงินเดือน
ค่าจ้างประจำ
ค่าจ้างชั่วคราว
งบดำเนินการ
ค่าตอบแทน
ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุ
ค่าสาธารณูปโภค
งบลงทุน
งบเงินอุดหนุน
งบเงินสด
งบแผนงาน
ขั้นตอนงบประมาณ
ขั้นการอนุมัติงบประมาณ
เป็นอํานาจของผู้บริหารของรัฐสภาโดยรัฐสภาจะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณางบประมาณที่ฝ่ายบริหารเสนอมา ดังนั้นการจะให้งบประมาณได้รับการอนุมัตินั้นผู้นําเสนอจะต้องใช้กลยุทธ์ เพื่อทําให้งบประมาณที่ขอ อนุมัติไปได้รับการจัดสรร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ทีมกรรมการอนุมัติบางคนขาดประสบการณ์ในการพิจารณา หรือบางคนพิจารณาในรายละเอียดมากเกินไป คณะกรรมการมาพิจารณาไม่ครบองค์ประชุม หรือมีการอภิปรายปัญหา ข้อมูลต่างๆ มากเกินไป และที่สําคัญคณะกรรมการแต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ ให้กับพวกพ้องของตน ทําให้ใช้เวลามากในการที่จะตกลงกันได้
ขั้นบริหารงบประมาณ
เมื่องบประมาณได้รับการอนุมัติก็เป็นอํานาจของ ฝ่ายบริหารหรือหน่วยงานที่จะกํากับดูแลให้การดําเนินงานในโครงการต่างๆ เป็นไปตามที่เสนอ ด้วยการบริหารรายรับ รายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ รวมทั้งการตรวจสอบควบคุมกํากับ และนําเสนอ รายงานผลการดําเนินงาน และรายจ่ายทั้งหมดต่อผู้บริหารต่อไป
ขั้นเตรียมงบประมาณ
1.การกำหนดวัตถุประสงค์
2.การรวบรวมปัญหา
3.แก้ไขปรับปรุงยอดรวมรายจ่าย
4.เสนอแผนงบประมาณต่อฝ่ายบริหาร
ณปภัช นฤคนธ์. (2564). แนวทางการจัดสรรงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณงบดำเนินงานภูมิภาค ตามแผนยุทธศาสตร์และภารกิจพื้นฐานของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. จาก
http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2564/plan/แนวทางการจัดสรรงบและการใช้จ่ายbudget.pdf
นงนุช บุญยัง. (2553). การวางแผนกลยุทธ์ทางการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 25(2), 18-27.