Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนางานของผู้อำนวยการพยาบาล - Coggle Diagram
การพัฒนางานของผู้อำนวยการพยาบาล
นโยบายและวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลคืออะไร
นโยบายของโรงพยาบาล คือ แบบแผนในการใช้ปฏิบัติงาน
วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล คือ การมองอนาคตขององค์กร และมีจุดเป้าหมายร่วมกันภายในองค์กร
การจัดการทางกลยุทธ์หมายถึงอะไร และการวางแผนกลยุทธ์เป็นอย่างไร มีความสำคัญกับองค์กรอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
เป็นการวางแผนงานขององค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงานระยะยาว
ความสำคัญ
ช่วยให้องค์กรและผู้บริหารมีกรอบและมีทิศทางที่ชัดเจน
ช่วยให้สร้างประสิทธิภาพและการทำงานให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ขั้นตอน
นำกลยุทธ์ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
มีการกำหนดกลยุทธ์ ขั้นตอนการดำเนินงานในการใช้กลยุทธ์
ประเมินกลยุทธ์
ร่วมวางแผนและวิเคราะห์ หาเป้าหมายระหว่างผู้บริหารและสมาชิกภายในองค์กร
การบริหารการเปลี่ยนแปลงหมายถึงอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีกี่รูปแบบ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง หมายถึง เป็นการบริหารทั้งภายในและภายนอกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
องค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
บุคลากร
ทรัพยากรในองค์กร
โครงสร้างการบริหารงาน
ระยะเวลา
สถานการณ์
กระบวนการ
นโยบาย และวิสัยทัศน์
เป้าหมาย
รูปแบบของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ตนเองก่อนที่จะไปเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
เปลี่ยนแปลงเชิงรับ การเปลี่ยนจากภายนอกก่อนแล้วจึงเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
ช่วงละลายพฤติกรรม ใช้การบริหารเชิงบวกและลบ ในการบริหารงาน
ช่วงการเปลี่ยนแปลง ช่วงการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ เช่น การได้รับการสอนงาน การฝึกอบรม
ช่วงตกผลึก เรียนรู้ในสิง่ที่ตัวเองได้รับมา
สาเหตุ
เป็นสาเหตุจากภายใน และภายนอกหน่วยงานและสาเหตุภายในหน่วยงาน ในฐานะที่หน่วยงานเป็นส่วนย่อยหนึ่ง และมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม เมื่อ สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาความอยู่รอดของ หน่วยงานได้
ลักษณะการต่อต้าน : (อัศวิน จักษุสุวรรณ, 2547). กลัวเสียหน้า กลัวสูญเสียหน้าที่ กลัวรับงานเพิ่ม กลัวตนเองจะทำงานใหม่ไม่ได้ เป็นต้น
ลักษณะการต่อต้านมีทั้งหมด 3 รูปแบบ (เกียรติกําจร กุศลและคณะ, 2565)
การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง (Denial) บุคคลประเภทนี้จะหลีกหนีการร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น วิธีการแก้ไขที่ดี คือ ใช้การชี้แจงถึงความจําเป็นของการเปลี่ยนแปลง และประโยชน์ที่จะได้รับ
การต่อต้านเงียบ (Passive Resistance) บุคคลประเภทนี้ จะแสดงตนเหมือนพร้อมให้ความ ร่วมมือ แต่เมื่อต้องปฏิบัติงาน จะไม่ให้ความร่วมมือ วิธีการแก้ไขคือ ต้องเปิดโอกาสให้ได้แสดงความรู้สึก หรือความ คิดเห็นออกมา ดีกว่าเก็บซ่อนความรู้สึกนั้นไว้
การต่อต้านอย่างเปิดเผย (Active Resistance) บุคคลประเภทนี้ จะแสดงความไม่เห็นด้วย อย่างเปิดเผย และมักจะโน้มน้าวให้ผู้อื่นคล้อยตามตนเอง วิธีการที่รับมือดีที่สุดคือ การตอบกลับบุคคล เหล่านี้อย่างใจเย็น มีเหตุผล และหนักแน่น อย่าโต้ตอบด้วยความรุนแรงกลับไป
แนวทางการเปลี่ยนแปลง : ผู้บริหารต้องเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารทางการพยาบาลที่ดี คือ การเป็นผู้นําสําหรับผู้ใต้บังคับบัญชากล่าวคือต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้น การแสดงบทบาทที่สนับสนุน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอคง ต้อง ริเริ่มหรือกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วย ต้องบริหารเชิงรุก หรือ Proactive การบริหารที่ต้องมี การคาดการณ์และวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
ลักษณะของการวางแผนที่ดีเป็นอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร ขั้นตอนการวางแผน ประโยชน์ของการวางแผนมีอะไรบ้าง
ลักษณะของการวางแผนที่ดี : มีการคิดวิเคราะห์ร่วมกัน มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีวิธีการดำเนินงานตามแผนที่ดี สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ หากว่าแผนไม่ครอบคลุม สามารถนำไปปฏิบัติใช้งานได้จริง
ขั้นตอนการวางแผน
กำหนดวัตถุประสงค์ มีกำหนดล่วงหน้า ว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
กำหนดงบประมาณ และวิธีการดำเนินงาน
มีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา
มอบหมายงาน และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ
5.นำแผนไปปฏิบัติ
ประเมินผลหลังการปฏิบัติ และติดตามผลหลังการปฏิบัติ
ปรับปรุงแผนปฏิบัติ
ประโยชน์ของการวางแผนที่ดี
สามารถควบคุม ติดตาม และประเมินผลงานได้ดียิ่งขึ้น
เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร
สามารถจัดการกับอุปสรรคและปัญหาได้
ช่วยให้งานดำเนินไปยังวัตถุประสงค์
ช่วยให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ
ช่วยให้ประหยัดแรงงาน เวลา และทรัพยากร
ช่วยให้งานไม่เกิดความซับซ้อน และข้อผิดพลาด
ทำให้องค์กรมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดี
ความสำคัญการวางแผนที่ดี : จะทำให้งานประสบความสำเร็จตามที่วางเป้าหมายไว้ มีขั้นตอนที่ถูกต้องและชัดเจน
ประเภทการวางแผนงาน
แบ่งตามลักษณะความสำคัญ ได้แก่ แผนใหญ่ (Master Plan) แผนรอง หรือแผนละเอียด
แบ่งตามกิจกรรมหรือประเภทของแผน ได้แก่ แผนทางเศรษฐกิจ แผนทางสังคม และแผนทางการคลัง
แบ่งตามระยะเวลา ได้แก่ แผนระยะยาว แผนระยะกลางและแผนระยะสั้น
การจัดการทรัพยากร การจัดการงบประมาณ และการจัดกำลังคนเป็นอย่างไร หลักการสำคัญในการจัดการอัตรากำลังมีอะไรบ้าง กระบวนการการจัดการมีอะไรบ้าง ชนิดของการจัดการ
การจัดการงบประมาณ
การวางแผนการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงิน เพื่อให้มีการทำงานที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด
ชนิดการจัดการงบประมาณ
งบลงทุน
รายจ่ายที่กําหนดไว้ให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
งบดำเนินการ
รายจ่ายที่กําหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจํา ได้แก่ รายจ่ายที่ต้อง จ่ายเป็นค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
งบเงินอุดหนุน
รายจ่ายที่กําหนดจ่ายเป็นค่าบํารุง ช่วยเหลือสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงาน ได้แก่ ค่าบํารุงสมาชิกองค์การอุตุวิทยาโลก เงินอุดหนุนแก้ไขปัญหายาเสพติด และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจตามรายการพิเศษที่ขอมา เป็นต้น
งบบุคลากร
รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ได้แก่ รายจ่ายที่ จ่ายในลักษณะของเงินเดือน ค่าจ้างประจํา ค่าจ้างลูกจ้าง ค่าจ้างชั่วคราว สัญญาจ้าง เป็นต้น
งบเงินสด
การจัดทํางบเงินเพื่อให้ทราบถึงกระแสเงินสดทั้งที่เป็นรายรับและรายจ่าย
งบแผนงาน
งบที่หน่วยงาน/องค์กรได้วางแผนในแต่ละปีตามแผนการปฏิบัติงาน
กระบวนการจัดการงบประมาณ
วางแผนในการจัดการงบประมาณ
ดำเนินการใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับงาน
จัดเตรียมงบประมาณให้เหมาะสมกับงาน
ประเมินงบประมาณให้เหมาะสมกับงานในแต่ละด้าน
ประเมินผลหลังใช้งบประมาณ ว่าเกิดความคุ้มค่าหรือไม่
ขั้นตอนในการจัดทำงบประมาณ ขั้นเตรียม ขั้นอนุมัติ ขั้นการบริหารงบประมาณ ขั้นเตรียมงบประมาณ (Budget preparation) ประกอบด้วยการดําเนินการ 4 ขั้นตอนคือ
แก้ไขปรับปรุงยอดรายจ่าย ซึ่งอาจมีการพิจารณาตัดทอน หรือเพิ่มเติม
เสนอแผนงบประมาณต่อฝ่ายบริหาร
การรวบรวมปัญหาวิเคราะห์การใช้จ่ายในแต่ละโครงการของแต่ละงาน
การกําหนดวัตถุประสงค์ หรือจัดทําแผน โครงการต่างๆ ประมาณการรายจ่าย
ขั้นการบริหารงบประมาณ เมื่องบประมาณได้รับการอนุมัติก็เป็นอํานาจของฝ่ายบริหารหรือหน่วยงานที่จะกํากับดูแลให้การดําเนินงานในโครงการต่างๆเป็นไปตามที่เสนอ ด้วยการ บริหารรายรับ รายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับ รวมทั้งการตรวจสอบควบคุมกํากับ
ขั้นการอนุมัติงบประมาณ
เป็นอํานาจของผู้บริหาร การหาเสียงสนับสนุนจากบัคคล การหาข้อมูลเหตุผลสนับสนุน ให้ทีมอนุมัติเข้าใจเห็นความสำคัญ
รูปแบบการจัดการงบประมาณ
แบบงบยอดรวม(Global budget/Block grant) เป็นงบประมาณยอดรวมแบบปลายปิด ที่กําหนดไว้ โดยมีฐานข้อมูลจากจํานวนเตียงผู้ป่วย จํานวนผู้ป่วยนอก/ใน ปัญหาพื้นที่ โรคต่างๆ มาเป็นตัวกําหนด เป็นการจ่ายงบประมาณก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบสุขภาพ และเปลี่ยนมาใช้หลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ
แบบเหมาจ่ายรายหัวประชากร (Capitation) เป็นงบประมาณที่กําหนดมาจากจํานวนประชากรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยกําหนดค่าราคาต่อหัวประชากรไว้เท่ากันทุกคน ทั่วทั้งประเทศ เป็นงบประมาณที่ใช้ใน ระบบบริการสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
แบบรายกิจกรรม มีหรือไม่มีราคากลาง (Fee-for-service and price schedule) กําหนดค่าราคาใน แต่ละกิจกรรม (Procedure/Service) ที่ให้กับผู้ป่วยในแต่ละประเภท
แบบตามรายโรคที่ป่วย ดูตามDRGs(Cases-based budget) ซึ่ง เป็นวิธีการจัดกลุ่มการวินิจฉัยโรค ร่วมและใช้น้ําหนักสัมพัทธ์ ในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน โดยการกําหนดอัตราราคาพื้นฐาน(Base rate) ไว้ล่วงหน้า (Prospective payment system)
แบบอัตราคงที่ เช่น การรับเข้านอนโรงพยาบาล (Fixed rate)
แบบรายวัน เช่น บริษัทประกันชีวิต ค่าชดเชยรายวัน (Daily rate)
(เกียรติกําจร กุศลและคณะ, 2565)
การจัดการกำลังคน
หมายถึง การจัดอัตราบุคลากรในองค์กรนั้นๆ ให้เป็นระบบ เพื่อให้มีการทำงานในด้านที่ตนเองถนัด และสามารถกระจายกำลังคนกับการบริการได้ดี เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในเชิงปริมาณและคุณภาพในการทำงาน และไม่เกิดการขาดแคลนของบุคลากร
กระบวนการจัดการกำลังคน
ประเมินและสำรวจอัตรากำลังคนที่มีอยู่
วางแผนอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับงาน เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมายขององค์กร
ดำเนินการและกระจายกำลังคนในองค์กร
ประเมินผลหลังจากการจัดการกำลังคนว่าเพียงพอกับงานหรือไม่
ชนิดการจัดการกำลังคน
จัดการกำลังคนภายในและภายนอกองค์กร
จัดตามความสามารถ
จัดตามกำลังคนที่มีอยู่
หลักการสำคัญของการจัดการกำลังคน
การจัดอัตรากำลังคนขึ้นอยู่กับ ชนิด และความรุนแรงของผู้ป่วย
จัดอัตรากำลังคนให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อทำให้ไม่เกิดความขาดแคลน และมีการกระจายกำลังคนที่เหมาะสม ส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพ
ตอบสนองนโยบายขององค์กร
ประเภทการจัดการอัตรากำลังพยาบาล
ประเภทที่ 1 สามารถดูแลตนเองได้ (self care) ต้องการพยาบาล 1-2 ชั่วโมง เฉลี่ย 1.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 2 อาการป่วยเล็กน้อย (minimal care) ต้องการพยาบาล 3 -4 ชั่วโมง เฉลี่ย 3.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 3 อาการป่วยปานกลาง(intermediate care) ต้องการพยาบาล 5-6 ชั่วโมง เฉลี่ย 5.5ชั่วโมง
ประเภทที่ 4 อาการระดับต่ำกว่าระดับวิกฤติ (modified care) ต้องการพยาบาล 7-8 ชั่วโมง เฉลี่ย 7.5 ชั่วโมง
ประเภทที่ 5 อาการในระยะวิกฤติหรือผู้ป่วยอาการหนัก (intensive care) ต้องการพยาบาล 10-14ชั่วโมง เฉลี่ย 12 ชั่วโมง ซึ่งประเภทนี้ จะรับไว้รักษาในเพราะเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษเฉพาะทางได้แก่ ICU
วัตถุประสงค์ของการจัดการกำลังคน
เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสมรรถนะสูงสุดในการจัดการอัตรากำลังคนในองค์กร
เพื่อให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของคนในองค์กรและเพื่อโอกาสที่จะได้มีการพัฒ นามากขึ้นกว่าเดิม
เพื่อออกแบบการจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับ ภารกิจของหน่วยงาน หรือ กําลังคนในแต่ละวันหรือแต่ละผลัด (เกียรติกําจร กุศลและคณะ, 2565)และจากการศึกษาของคุณวัฒนากร ทองน้อย ในสารนิพนธ์ เรื่องการวางแผนกำลังคนของผู้ประกอบการบริษัท เอ็นทีเอ็น เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (2552) ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดการอัตรากำลังคนไว้ดังนี้
เพื่อสรรหาบุคลกรทางการพยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ ความชํานาญของบุคลากรทางการพยาบาลอย่างเต็มที่ และจัดสัดส่วนการผสมผสานอัตรากําลัง (Staffing mixed) อย่างเหมาะสม
เพื่อกําหนดปริมาณอัตรากําลังให้มีบุคลากรทางการพยาบาลดูแลผู้ป่วยและให้บริการสุขภาพ อย่างเพียงพอเหมาะสม และสมดุลกับภาระงานในแต่ละช่วงเวลาตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อที่จะให้มีการวางแผนที่จะการว่าจ้างได้อย่างถูกต้อง
การจัดการทรัพยากร
การใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า
กระบวนการการจัดการทรัพยาการ
วางแผนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
นำทรัพยากรไปใช้ให้เกิดความคุ้มค่า และเหมาะสมในแต่ละด้าน
สำรวจและตรวจสอบทุนที่มีอยู่ในองค์กร
ชนิดการจัดการทรัพยากร
ทรัพยากรบุคคล
ทรัพยากรด้านการเงิน
ทรัพยากรอุปกรณ์ทางการแพทย์
ทรัพยากรวัตถุดิบ
ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
4.บทบาทของหัวหน้าพยาบาลมีการจัดการงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรเป็นอย่างไร
บทบาทของหัวหน้าพยาบาลในการจัดการทรัพยากร
ประเมินทรัพยากรให้สอดคล้องกับงาน
ร่างแผนงานที่มีการระบุค่าใช้ทรัพยากรในแต่ละงาน
กำหนดนโยบาย และตั้งเป้าหมายในการจัดการทรัพยากร
ตรวจสอบการร่างทรัพยากร
บริหารทรัพยากร ความคุ้มค่าที่ใช้ไป
วิเคราะห์ต้นทุนทรัพยากรในให้การพยาบาลในแต่ละหน่วยงาน
มีการจัดทำคู่มือการใช้ทรัพยากร
ประเมินผลและสรุปผลในการใช้ทรัพยากรในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี
บทบาทของหัวหน้าพยาบาลในการจัดการงบประมาณ
บริหารงบประมาณ ความคุ้มค่าที่ใช้ไป
วิเคราะห์ต้นทุนการพยาบาลในแต่ละหน่วยงาน
ตรวจสอบการร่างงบประมาณ
มีการจัดทำคู่มืองบประมาณ
ร่างแผนงานที่มีการระบุค่าใช้จ่ายในแต่ละงาน
สามารถให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับต้นทุนการรักษาพยาบาล
ประเมินงบประมาณให้สอดคล้องกับงาน
ประเมินผลและสรุปผลในการใช้งบประมาณในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี
กำหนดนโยบาย และตั้งเป้าหมายในการจัดการงบประมาณ และทรัพยากร