Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนางานของ
ผู้อำนวยการพยาบาล 249C50AD-AF8E-4650-8AD2-4A56BB958C82 -…
การพัฒนางานของ
ผู้อำนวยการพยาบาล
การวางแผน
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ความสำคัญ
- ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน โดยกําหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของ องค์การอย่างเป็นระบบ
- ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบสามารถกําหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้
- ช่วยสร้างความพร้อมให้องค์การเกิดขึ้นจากการ นําเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นความพยายามในการ แข่งขันกับศักยภาพของตนเอง หรือในเชิงเปรียบเทียบกับองค์การอื่นๆ
4.เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายตามความคาดหวังของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ องค์การ และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร
- ช่วยให้การทํางานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่ ทําให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ
- ช่วยให้องค์การมีมุมมองที่ครอบคลุม โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็น วิธีการบริหารที่คํานึงถึงปัจจัยภายในและภายนอก ซ่ึงรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ
-
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
- การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
โดย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกําหนดกลยุทธ์ต้องเข้าใจในความสัมพันธ์และ แนวโน้มความเป็นไปของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ทั้งสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมใน ระบบสุขภาพ
- การกําหนดกลยุทธ์
มีการกําหนดเป้าหมายขององค์การได้ ตลอดจนสามารถรู้ถึงทิศทางขององค์การในอนาคต
- การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัต
ขั้นตอนนี้เป็นการถ่ายทอดกลยุทธ์ในระดับองค์การที่อยู่ในแผนกลยุทธ์ไปสู่กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ ระดับปฏิบัติ โดยการกําหนดเป็นโครงการ แผนปฏิบัติการ และงบประมาณเพื่อรองรับ
- การประเมินและควบคุมกลยุทธ์
มีการติดตามกิจกรรมและผู้ปฏิบัติงาน ขององค์การอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่ากิจกรรมนั้น ๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
-
การบริหาร
การบริหารบุคลากร
-
วัตถุประสงค์
1.เพื่อกําหนดปริมาณอัตรากําลังให้มีบุคลากรทางการพยาบาลดูแลผู้ป่วยและให้บริการสุขภาพ อย่างเพียงพอ เหมาะสม และสมดุลกับภาระงานในแต่ละช่วงเวลาตลอด 24 ชั่วโมง
- เพื่อสรรหาบุคลกรทางการพยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ ความชํานาญของบุคลากรทางการพยาบาลอย่างเต็มที่ และจัดสัดส่วนการผสมผสานอัตรา
กําลัง (Staffing mixed) อย่างเหมาะสม
- เพื่อออกแบบการจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับ ภารกิจของหน่วยงาน หรือ
กําลังคนในแต่ละวันหรือแต่ละผลัด
กระบวนการ
- การวางแผนอัตรากําลัง (Staffing plan) เป็นการคาดการณ์เกี่ยวกับ ประเภท คุณภาพ คุณสมบัติของบุคลากร เพื่อตอบสนองเป้าหมายขององค์กร แบ่งเป็น 1.1 แผนระยะสั้น 1.2แผนระยะยาว
- การจัดตารางการปฏิบัติงาน(Scheduling) เป็นกระบวนการควบคุมและประเมนกิจกรรม การจัดอัตรากําลัง เพื่อให้มีอัตรากําลังที่เหมาะสม เพียงพอในการให้บริการพยาบาล ตลอดช่วงเวลาของการ บริการ รวมทั้งการกําหนดวัน เวลาการปฏิบัติงาน และวันหยุดของบุคลากรทางการพยาบาล
- การกระจายอัตรากําลัง(Staff allocation) เพียงพอกับปริมาณภาระงานและความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยในช่วงเวลาปฏิบัติการนั้น
การบริหารงบประมาณ
ชนิดของงบประมาณ
งบบุคลากร
ค่าจ้างประจํา
เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีอัตรา ตามที่กำหนดไว้แน่นอนในบัญชีการถือจ่ายค่าจ้างประจำ ที่กรมบัญชีกลางได้ตรวจสอบยืนยันว่าถูกต้อง
-
เงินเดือน (salary)
เงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ พนักงานของรัฐทุกประเภทที่เป็นการ ว่าจ้างและจ่ายเงินค่าจ้างเป็นรายเดือน โดยมีอัตราที่กำหนดไว้แน่นอนในบัญชีการถือจ่ายเงินเดือนประจำปีที่ กรมบัญชีกลางได้ตรวจสอบยืนยันว่าถูกต้อง
งบดำเนินการ
ค่าใช้สอย
รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการยกเว้น บริการสาธารณูปโภค สื่อสาร และ โทรคมนาคม) เป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ เช่น การเลี้ยงรับรองทางราชการ ค่าใช้จ่ายในพิธี ศาสนา
ค่าวัสดุ
ไฟฟ้า ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีใดๆ ที่ให้ได้มาซึ่งสิ่งของ ได้แก่ สิ่งของเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลือง สิ่งของที่มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรมีอายุการใช้ งานมากกว่า 1 ปี มีราคาไม่เกิน 5,000 บาท ยกเว้นสิ่งที่จัดเป็นครุภัณฑ์
ค่าตอบแทน
เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าตอบแทนในตำแหน่งและเงินอื่นๆ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น เงินอื่นๆ คือ เงินช่วยเหลือเกี่ยวกับ การศึกษาของบุตร เงินช่วยเหลือในการทำศพ
ค่าสาธารณูปโภค
ค่าใช้จ่าย งบริการสาธารณูปโภค การสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ ค่า ไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการทางด้านโทรคมนาคม
งบลงทุน
รายจ่ายที่กำหนดไว้ให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์ วัสดุ/อุปกรณ์
ที่ มีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี และมีราคามากกว่า 5,000 บาท
งบเงินสด
เป็นการจัดทำงบเงินเพื่อให้ทราบถึงกระแสเงินสดทั้งที่เป็นรายรับและรายจ่าย ทําให้ สามารถวางแผนทางการเงินเพื่อควบคุมการดำเนินงานขององค์การได้
-
งบเงินอุดหนุน
รายจ่ายที่กำหนดจ่ายเป็นค่าบำรุง หรือเพื่อการช่วยเหลือสนับสนุนการ ดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับของรัฐ องค์กรมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-
รูปแบบการจัดสรรงบประมาณ
งบประมาณแบบเน้นการควบคุม
ข้อดี
มีการจำแนก หมวดหมู่ของ ค่าใช้จ่ายไว้อย่างละเอียด ชัดเจนและเป็นระเบียบ ง่ายต่อการจัดทํา ง่ายต่อการทําความเข้าใจ
-
งบประมาณแบบเน้นการจัดการ
ข้อดี
แสดงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างผลงานที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปว่าคุ้มค่าหรือไม่ สามารถ จะประเมินผลการดําเนินงานได้ทุกระยะ ทุกระดับงาน ถ้าใช้ในฝ่ายนิติบัญญัติสามารถพิจารณาผลงานได้ ง่ายขนึ้ เพราะงบประมาณได้แสดงวัตถุประสงค์ การดําเน
ข้อเสีย
กิจกรรมบางอย่างไม่สามารถวัดผลงานออกมาให้เห็นชัดเจนได้ ไม่สามารถที่จะนําเสนองบประมาณแบบผลงานในระบบที่ใช้ เกณฑ์งบประมาณแบบงบเงินสด
งบประมาณแบบเน้นการวางแผน
ข้อดี
มีความต่อเนื่องในการดําเนินงานด้วยระบบ PPBS ขจัด
ความซ้ำซ้อนของการดําเนินกิจกรรม ทําให้การพิจารณางบประมาณเป็นไปอย่างรอบคอบ
ข้อเสีย
เป็นการรวมอํานาจการตัดสินใจไว้ที่ศูนย์กลาง ยังผลให้การปฏิบัติงานในระดับล่างลงมาขาดความเป็นอิสระในการตัดสินใจ
-
-
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
สาเหตุ
มีสาเหตุมาจาก 2 แหล่ง คือ สาเหตุภายนอกหน่วยงาน
และสาเหตุภายในหน่วยงาน สามารถแยกออกเป็น 3 รูปแบบคือ
- การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง อาจย้อนกลับมาทําลายทั้งบุคคล และหน่วยงานนั้นได้
- การไล่ตามการเปลี่ยนแปลง เป็นวิธีการที่ค่อนข้างเสี่ยง เพราะ หน่วยงานที่จะตามทันการเปลี่ยนแปลง ต้องมีศักยภาพที่ไม่ต่างจาก อัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงนั้น
- การนําการเปลี่ยนแปลงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นรูปแบบการตอบสนองที่สร้างความปลอดภัยที่สุด
ดังนั้น การเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส หรือการนําการเปลี่ยนแปลงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ลักษณะการต่อต้านมีทั้งหมด 3 รูปแบบ
- การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง (Denial) บุคคลประเภทนี้จะหลีกหนีการร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น
วิธีการแก้ไขที่ดี คือ ใช้การชี้แจงถึงความจําเป็นของการเปลี่ยนแปลง และประโยชน์ที่จะได้รับ
- การต่อต้านเงียบ (Passive Resistance) บุคคลประเภทนี้จะแสดงตนเหมือนพร้อมให้ความร่วมมือ แต่เมื่อต้องปฏิบัติงานจะไม่ให้ความร่วมมือ
วิธีการแก้ไขคือ ต้องเปิดโอกาสให้ได้แสดงความรู้สึก หรือความคิดเห็นออกมาดีกว่าเก็บซ่อนความรู้สึกนั้นไว้
- การต่อต้านอย่างเปิดเผย (Active Resistance) บุคคลประเภทนี้ จะแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างเปิดเผย และมักจะโน้มน้าวให้ผู้อื่นคล้อยตามตนเอง
วิธีการที่รับมือดีที่สุดคือ การตอบกลับบุคคลเหล่านี้อย่างใจเย็น มีเหตุผล และหนักแน่น อย่าโต้ตอบด้วยความรุนแรงกลับไปการใช้กล่องรับฟังความคิดเห็น เพื่อลดแรงต่อต้าน และนําข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนแผนการเปลี่ยนแปลงในกรณีที่จําเป็น
รูปแบบ
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive) เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงจากผู้อื่นซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive) เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดย
ผู้อื่น อาจจะเป็นในเชิงจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือเป็นนโยบายระดับองค์กร
จากวารสารพยาบาล ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนเตรียมการ
(planned change)
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงฉุกเฉินที่เกิดข้ึนปัจจุบันทันด่วน (emergent change)
-
-
การบริหารการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การจัดการกับเหตุการณ์
ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม และทําให้เกิดการพัฒนาองค์กร
ทั้งเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผล
-