Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Job Development of Nurse Director - Coggle Diagram
Job Development of Nurse Director
Staffing
ความหมาย
เป็นภารกิจหลักที่สำคัญของผู้บริหารที่ต้องบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า คุ้มทุนในการจัดการดังกล่าว ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้ป่วย ตอบสนองความต้องการแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ
หลักการสำคัญ
แบบแผนหรือรูปแบบในการจัดอัตรกำลัง และการจัดบริการการพยาบาล ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภท และความรุนแรงของผู้ป่วย
การจัดอัตรากำลัง ต้องอยู่บนพื้นฐานการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ด้านประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า คุณภาพการดูแลผู้ป่วย และสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่โรงพยาบาลมุ่งหวัง
การประเมินผลการจัดอัตรากำลัง ต้องประเมินทั้งด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตการทำงาน
มีการจัดเตรียมบุคลากรทดแทนที่เพียงพอ
การจัดอัตรากำลังคนทางการพยาบาล
การวางแผนอัตรากำลังเกี่ยวกับประเภท คุณภาพ คุณสมบัติของบุคลากร
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและหนักเบาของผู้ป่วย
แบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 สามารถดูแลตนเองได้ self care
ประเภทที่ 2 อาการป่วยเล็กน้อย minimal care
ประเภทที่ 3 อาการป่วยปานกลาง intermediate care
ประเภทที่ 4 มีอาการป่วยต่ำกว่าระยะวิกฤต modified care
ประเภทที่ 5 ระยะวิกฤติ intensive care
วัตถุประสงค์
-เพื่อกำหนดอัตรากำลังให้มีบุคลากรเพียงพอในการดูแลผู้ป่วย
-เพื่อจัดตารางการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
-เพื่อหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
Strategic
ความสำคัญ
มุ่นเน้นถึงอนาคต/ มุ่นเน้นการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ/ บริหารแบบองค์รวม/ มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการดำเนินงาน/ ให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ/ มุ่งเน้นการวางแบบระยะยาว
การกำหนดยุทธวิธีเพื่อการตัดสินใจเลือกเป็น แนวทางในการปฏิบัติงานในอนาคตบององค์การ ซึ่งเป็นเป้าหมายในระยะยาว เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การ โดยต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การเพื่อค้นหา โอกาสและอุปสรรค รวมถึงสภาพแวดล้อมภายในองค์การเพื่อค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนเพื่อกำหนด เป็นกลยุทธ์ที่จะนำองค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ (พัชรพรรณ ชอบธรรม, 2562)
ความสำคัญต่อองค์กร
1ช่วยให้องค์กรมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน/ 2.ช่วยให้ผู้บริหารคิดเป็นระบบ/ 3.ช่วยสรา้งความพร้อมให้องค์การ/ 3.ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน/ 5.ช่วยให้ทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่/ 6.ช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่ครอบคลุม
ขั้นตอน
1) การวิเคราะห์ เชิงกลยุทธ์ (Strategic Analysis) (2) การกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) (3) การนํากลยุทธ์ ไปสู่ การปฏิบัติ (Strategic Implementation) และ (4) การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ (Strategic Evaluation and Control)
ตัวแบบกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ของ Hill, Joncs and Schilling (2015) ได้กำหนดขั้นตอนหลักของการวางแผนกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ5ขั้นตอน ได้แก่(1) การกำหนดเป้าหมายและพันธกิจขององค์การ(2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันภายนอกขององค์การเพื่อกำหนดโอกาสและ(3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การเพื่อกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อน(4) เลือกกลยุทธ์ที่สร้างจุดแข็งแก่องค์การ และแก้ไขจุดอ่อน โดยการใช้โอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ และหลีกเลี่ยงอุปสรรคภายนอกองค์การ(5) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
อ้างอิง
พัชราพรรณ ชอบธรรม. (2562). การวางแผนกลยุทธ์ : เครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์กร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 55-75.
Charles W.L.Hill, Gareth R. Jones and Melissa A. Schilling. (2015). Strategic management: An integrated approach. Stamford, CT: Cengage Learning.
Personal managment
ความสำคัญ
1.ทำให้มีบุคลากรเพียงพอ เนื่องจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์โดยมีการทำนายความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตซึ่งต้องสัมพันธ์กับทิศทางและแผนงานขององค์การ
2 ทำให้ได้คนดีและมีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ มีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการขององค์การ
ทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งคนที่รับเข้ามาทำงานใหม่และคนที่ทำงานอยู่เดิมเพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทำให้มีการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม:
ทำให้เกิดการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคลากรในการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะมีการวางกฎระเบียบด้านวินัยของบุคลากรหรือคนทำงนให้เป็นไปตามสภาพลักษณะงานและวัตถุประสงค์ขององค์การ
ทำให้เกิดการประเมินผลงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนคนทำงานดี อันเป็นการสร้างแรงจูงใจบุคลากรให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนทำงานด้วยกันและคนทำงานกับผู้บริหาร
อรพันธ์ อันติมานนท์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้บริหาร (2562)
ความหมาย
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารใช้ดำเนินงานด้านบุคลากร ตั้งแต่การสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งการพัฒนา ธำรงรักษาให้สมาชิกที่ปฏิบัติงานในองค์การได้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีในการทำงาน และยังรวมไปถึงการแสวงหาวิธีการที่ทำให้สมาชิกในองค์การ ที่ต้องพ้นจากการทำงานด้วยเหตุทุพพลภาพ เกษียณอายุหรือเหตุนใดในงาน ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เป้าหมาย
สรรหา
สรรหา คือ หาคนดีคนเก่งเข้ามาทำงาน การสรรหาประกอบด้วยการสรรหาแบบตั้งรับหรือแบบดั้งเดิม และการสรรหาเชิงรุก
พัฒนา
คือ รับเข้ามาแล้วพัฒนาให้เป็นคนดี คนเก่งยิ่งๆ ขึ้นไปอีก การที่จะพัฒนาให้เก่งขึ้นไปอีกต้องรู้ว่าเขาเป็นใคร เข้ามีความถนัด มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร
รักษาไว้
รักษาไว้ให้อยู่กับเราเป็นเรื่องการจัดการทางก้าวหน้าในอาชีพ การมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม การสร้างความพึงพอใจและเป็นผู้รักองค์การ
ใช้ประโยชน์
ใช้ประโยชน์ คือ การใช้คนให้ตรงกับงาน ให้ความเป็นอิสระและมีส่วนร่วม ให้ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
จารุณี ลาลุน และนัทธมล วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) พ.ศ. 2562
1) เพศมีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการจูงใจบุคลากร
2) อายุ มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการได้มาซึ่งบุคลากรและด้านการธำรงรักษาบุคลากร
3) ระดับการศึกษามีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการพัฒนาบุคลากร
4) สถานะการจ้างงาน มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านการจูงใจบุคลากร
Change management
ทศพร ศิริสัมพันธ์ (2551) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การวางแผน การดำเนินการต่างๆที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับพร้อมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ๆเพื่อรองรับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเป็นผลตามเป้าหมายที่วาวไว้
รูปแบบ
มี 2 รูปแบบ
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก
(Proactive)
เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลง
จากผู้อื่นซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อเตรียมการรองรับ
การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ
(Reactive)
เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่น อาจจะเป็นในเชิงจาก หน่วยงานต้นสังกัด หรือเป็นนโยบายระดับองค์กร ระดับประเทศก็ได้ ทั้งๆ ที่ บุคคลในองค์กรอาจไม่ยอมที่จะ เปลี่ยนแปลง หรือมีความคิดติดยึดในแบบเดิมๆมานาน
แนวทางในการบริหารความเปลี่ยนแปลง
1.ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง
2.ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก
3.ต้องมีการคาดการณ์และวางแผนไว้ล่วงหน้า :
4.ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
สาเหตุ การเปลี่ยนแปลง
การต่อต้าน
สาเหตุจากภายนอกหน่วยงาน
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุจากภายในหน่วยงาน
การเปลี่ยนผู้นำ/ผู้บริหาร
ปฏิสัมพันธ์ของสังคมเปลี่ยนแปลงไป
อ้างอิง ทศพร ศิริสัมพันธ์.(2551). การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change Management).คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
Budget/financial
ชนิดของการจัดการงบประมาณ
งบบุคลากร
งบดำเนินการ
งบลงทุน
งบเงินสด
งบเงินสด
งบเงินอุดหนุน
งบเงินอุดหนุน
งบแผนงาน
กระบวนการ
เตรียมงบประมาณ
ประกอบด้วยการดําเนินการ 4 ขั้นตอนคือ
การกําหนดวัตถุประสงค์ หรือจัดทําแผน
โครงการต่างๆ งบประมาณการรายจ่าย
2.การรวบรวมปัญหา
3.แก้ไขปรับปรุงยอดรายจ่าย
4.เสนอแผนงบประมาณต่อฝ่ายบริหาร
อนุมัติงบประมาณ
เป็นอำนาจของผู้บริหารหรือของรัฐสภาโดยแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณางบประมาณที่ฝ่ายบริหารเสนอมาผู้นำเสนอต้องใช้กลยุทธ์ในการโน้มน้าวเพื่อให้งบประมาณที่ขอได้รับการจัดสรร
บริหารงบประมาณ
เป็นอำนาจฝ่ายบริหารที่จะกำกับดูแลการดำเนินโครงการต่างๆให้เป็นไปตามที่เสนอ
การจัดสรรงบประมาณทางสุขภาพ
-จัดการแบบงบยอดรวม คือ งบประมาณยอดรวมแบบปลายปิด
-จัดการแบบเหมาจ่ายรายหัวประชากร เช่น หลักประกันสุขภาพ
-แบบรายกิจกรรม มีหรือไม่มีราคากลาง
-แบบตามรายโรคที่ป่วย
-แบบอัตราคงที่
-แบบรายวัน
อ้างอิง
ลภัสรา โอสถถานนท์.(2564).ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ งบประมาณพ.ศ.2563เขตสุขภาพที่10.วารสารวิชาการสาธารณสุข,30(2),332-333.กล่าวว่าปัจจัยด้านการเตรียมคำขอและอนุมัติงบประมาณ การควบคุมงบประมาณ การบริหารงบประมาณจะเกิดปัจจัยความสำเร็จได้ต้องใช้การวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังและการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนจะทำให้การจัดสรรงบประมาณมีประสิทธิภาพ
ลักษณะสำคัญของการจัดการกลยุทธิ์มีอะไรบ้าง
-เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นถึงอนาคต
-เป็นการบริหารแบบองค์รวม
-เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นต่อการจัดการความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
-เป็นการจัดการที่มุ่งเน้นวางแผนระยะยาว
-เป็นการจัดการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการดำเนินงาน
-เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์กร
planning
ประภทของ planning :
แบ่งตามระยะเวลาของแผน
แผนระยะสั้น (Short range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
แผนระยะกลาง (Intermediate range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1-5 ปี
แผนระยะยาว (Long range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
แบ่งตามชนิดของแผน
แผนกลยุทธ์ (Strategic plan) เป็นแผนระยะยาวที่รวบรวมทิศทางในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของ องค์การที่กำหนดไว้ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบแผน
แผนยุทธวิธี (Tactical plan) เป็นแผนระยะกลางที่แสดงรายละเอียดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์และเป้าหมายของธุรกิจที่วางไว้
แผนปฏิบัติการ (Operational plan) เป็นแผนระยะสั้นที่กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องปฏิบัติอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยใคร เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ
แบ่งตามความถี่ในการใช้แผน
ก. แผนประจำ (Standing plan) แผนที่ถูกนำมาปฏิบัติตลอดเวลา ประกอบไปด้วย
นโยบาย (Policy) จะเป็นแนวทางกว้างๆที่ใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติภารกิจในองค์การ
ระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedure) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจแต่อย่างใด
วิธีการ (Method) มีลักษณะใกล้เคียงกับระเบียบวิธีปฏิบัติ แต่จะมีรายละเอียดที่เจาะลึกและเฉพาะเจาะจงมากกว่า
กฎ (Rule) เป็นคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง ไม่แสดงลำดับขั้นตอนของการกระทำ และมักมีบทลงโทษไว้สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข. แผนใช้ครั้งเดียว (Single use plan) เป็นแผนที่แสดงลักษณะการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ และจะมีการวางแผนใหม่เมื่อได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนนั้นแล้ว
แผนใช้ครั้งเดียวนี้ประกอบไปด้วย
โครงการ (Programme) เป็นชุดของวัตถุประสงค์สำหรับบรรลุเป้าหมายที่สำคัญขององค์การเพียงครั้ง เดียว มักมีระยะเวลาที่ยาวนาน และมักจะระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย
โครงงาน (Project) เป็นส่วนที่ย่อยลงไปของโครงการและมีระยะเวลาที่สั้น
งบประมาณ (Budget) เป็นแผนซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินของโครงการดำเนินงานในระยะเวลาหนึ่ง แผนนี้มักจะแสดงการกะประมาณ การบริหารโครงการ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงาน
ตารางการทำงานของโครงงาน (Project schedule) แผนงานที่ใช้กำหนดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในกรอบของเวลาเพื่อให้บรรลุตามเป้า หมายของโครงการ โดยทั่วไปนิยมใช้ Gantt chart
หลักการในการวางแผนพยาบาล
การเรียงลาดับความสาคัญ (priorities) การให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
มีการตั้งเป้าหมาย (Setting goals) เป็นเป้าหมายระยะสั้น (short-term goals) และเป้าหมายระยะยาว (long-term goals)
ประโยชน์ของการวางแผน
ประหยัดแรงงาน วัสดุ และเวลา
ถ้าทุกฝ่ายได้ร่วมวางแผน จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานนั้น ๆ
ผู้นิเทศสามารถควบคุม ติดตาม และประเมินผลงานได้ดี
เกิดระเบียบในการปฏิบัติงาน
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2557 : 121)
เป็นเกณฑ์การควบคุมกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ
บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ : :
ลดความไม่แน่นแน และมีแนวทางที่ป้องกันหรือแก้ไขเหตุการณ์ที่คาดส่าจะเกิดขึ้น
เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจในการทางาน ของกลุ่มผู้บริหารในองค์การและยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มของพนักงานที่ทราบอย่าง ชัดเจนว่าองค์การคาดหวังอะไร
ช่วยให้การติดตามและประเมินผลงานขององค์การ เป็นไปได้อย่างเป็นระบบง่ายต่อการ ปฏิบัติและกระทาได้ตลอดช่วงการททางาน
ขั้นตอนในการวางแผน
ขั้นดําเนินการก่อนการวางแผน (Preparation)
การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา กําหนดแผนงานและโครงการ กําหนดเป้าหมาย กําหนดวิธีดําเนินการ และกําหนดค่าใช้จ่าย
ขั้นปฏิบัติตามแผน (Implementation)
เป็นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้โดยทําตามวิธีการที่ กําหนด
ขั้นการติดตามประเมินผล (Follow up and Evaluation)
อาจจะติดตามแต่ละปี หรือติดตามตลอดเวลาเพื่อหาปัญหาและ
อุปสรรค
ประเมินผล เมื่อสิ้นสุดแผนแต่ในทางปฏิบัติ ประเมินผลก่อนเพื่อปรับปรุงแผนและ
วางแผนใหม่
อ้างอิง
มณีรัตน์ สุวรรณวารี.(2555). ประเภทของแผน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565. จาก
https://www.gotoknow.org/posts/460751