Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลเเห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
นายจ้าง เเละลูกจ้าง หมายถึง บุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างเเรงงานตาม ปพพ.มาตรา 575
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่รู้จังได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลอรเลอร์ก็ตามและหากลูกจ้างมิได้ทำละเมิดก็ไม่มีประเด็นให้ต้องพิจารณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่
ตัวอย่าง
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ในหลักความผิด ผู้เสียหายไม่สามารถพิสูจน์การกระทำผิดของผู้กระทำละเมิดได้ หรือถ้าเป็นกรณีความผิดที่ถูกสันนิษฐานผู้กระทำละเมิดก็สามารถแก้ตัวเพื่อทำลายข้อสันนิษฐานทางกม.ได้ ผู้กระทำละเมิด ก็ไม่ต้องรับผิด
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใดประเภทใดลักษณะของงานที่จำเป็นอย่างไรแล้วจึงจะพิจารณากันต่อไปว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่
นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในเวลาที่รู้แจ้งเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้างแต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง
ลูกจ้างจุดไม้ขีดไฟเพื่อสูบบุหรี่ในขณะขนปี๊ปหน่อไม้จากฉางขึ้นรถยนต์ตามคำสั่งของนายจ้าง หัวไม้ขีดที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นและปอในฉางทำให้เกิดไฟไหม้ฉางและลามไปไหม้บ้านราษฎรเสียหายขณะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกำลังมีอยู่ ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานในทางการที่จ้าง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของลูกจ้างและไม่ไกลเกินกว่าเหตุ นายจ้างต้องรับผิด
กรณีดังกล่าว หากลูกจ้างใช้ความระมัดระวัง โดยพิเคราะห์ดูว่าปุยนุ่นและปอเป็นวัตถุที่ไวต่อการลุกไหม้แล้วเหตุก็จะไม่เกิดขึ้นได้ กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันจะไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 เป็นเรื่องที่กฎหมายให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้างเท่านั้น เเต่เมื่อนายจ้างร่วมรับผิดไปแล้วก็สามารถไล่เบี้นได้ เหตุที่นายจ้างไล่เบี้ยลูกจ้างได้ก็เพราะว่านายจ้างไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดซึ่งคนที่กระทำละเมิดก็คือลูกจ้าง
ข้อสังเกต
*มีอยู่ว่าให้ไฃ่เบี้ยค่าสินไหมทดเเทน คือ ค่าเสียหายที่ฝ่าย(ุ้เสียหายเรียกร้องเเละศาลบังคับให้ใช้ เพราะฉะนั้นถ้านายจ้างได้ชดใช้ให้บุคคลภายนอกไปเท่าใดก็มีสิทธิไล่เบี้ยกับลูกจ้างได้เท่านั้น
การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพังที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความผิดต่อผู้เสียหายแต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วยเมื่อนายจ้างใช้ค่าสินใหม่ทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะทวงสิทธิ์ของผู้เสียหายไหลเวียนเลือดให้รู้แจ้งชดใช้ให้แก่ตนได้ตามมาตรา 229 (3)และมาตรา 246
ตัวอย่าง
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ชอบที่จะได้รับการชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความผิดตามคำพิพากษาอันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวเเทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิ์ที่ของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพืชทางปฏิบัติของตัวแทนโดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียวตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้นกิจการที่ตัวแทนทำไปย้อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปเยี่ยมเป็นงานของนายจ้างตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้างจึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำ
กิจการของตัวการ
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับการจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้างจึงต้องพี่ขอดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างเพิ่งสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทนเช่นเป็นแต่การช้ายหรือวานคนรู้จักกันให้ขับรถยนต์พาแพทริยาไปซื้อของดังนี้ไม่ใช่ตัวแทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ผู้รับใช้หรือรับวันทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สามแต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้หรือผู้อ่านกับผู้รับวารไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่สามผู้ชายหรือวานให้ขับรถไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่คนขับได้ทำขึ้น
ตัวอย่าง
ก.เป็นตัวแทนขายรถยนต์ของบริษัท ข. ก.ในฐานะตัวแทนตกลงขายรถยนต์คันหนึ่งให้แก่ ส.โดยตกลงกันว่าเครื่องอะไหล่ทุกชิ้นต้องเป็นของแท้กรรมสิทธิ์ในรถได้โอนมาเป็นของ ส.แล้วก่อนที่จะนำรถไปส่งมอบแก่ ส.และ ก.ได้ถอดเครื่องอะไหล่แท้ของรถออกไปเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วเอาเครื่องอะไรเทียมใส่แทนแล้วนำรถมาส่งแก ส.โดยที่ ส.ลูกค้าไม่ทราบถึงความจริงดังกล่าวดังนี้บริษัท ข.ต้องร่วมรับผิดต่อส.หรือไม่
การที่ ก.ถอดเอาเครื่องอะไหล่เเท้ออกแล้วนำของเทียมใส่แทนเป็นเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในขอบเขตของการปฎิบัติตามหน้าที่หรือโดยฐานได้ทำการแทนบริษัทของ ข.จึงต้องร่วมรับผิดต่อ ส.ด้วย
สรุปข้อเท็จจริง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มีเหตุผลที่เเสดงให้เห็นว่าความผิดชองผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความผิดในการกระทำของบุคคลอื่นตามบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
ตัวบทมาตรา 428 จะใช้คำว่า ความเสียหาย โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด เเต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด จึงเห็นได้ชััดว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด
บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้น มิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยเเล้ว ก็ไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เเต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
เหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปเเล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกค่าชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับผู้รับจ้างกับลูกจ้างในสํญญาจ้างเเรงงาน
ตามมาตรา 428 โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นเเก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไป เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง
กรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกเเล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดต่อบุคคลภายนอก ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามกฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณี คือ
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
คือ จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรเเก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่นโโยละเมิดเช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม่ไม่เเน่นหนาจึงเป๋นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลอื่น เป็นต้น
เเต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ตัวอย่าง
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล แม้จะเป็นการผิดเทศบัญญัติ แต่ก็ไม่ได้ล่วงสิทธิของโจทก์ จึงถือว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์มิได้ คดีนี้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสมุด หนังสือ ฯลฯ ที่เสียหายอันเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อในการก่อสร้างอาคารให้จำเลยที่ 2 โดยทำให้รางน้ำและท่อน้ำฝนของโจทก์อุดตัน น้ำฝนไหลเข้าเปียกสมุด หนังสือ ฯลฯของโจทก์ที่มีไว้ขายเสียหาย มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอันเกี่ยวกับตัวฝาผนังที่ฝ่ายจำเลยใช้เป็นฐานในการต่อเติมเป็นฝาผนังอาคารของจำเลยที่ 2 ทั้งข้อนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าความเสียหายที่จำเลยที่ 1 หรือลูกจ้างจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
กล่าวคือ เเม้การงานที่ให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง เเต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสีญหายก็ได้ เช่น เเนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับเเนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง เป็นต้น
ความผิดในส่วนการงานที่ส้่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการการละเมิด เป็นต้น
ตัวอย่าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 940/2501 จำเลยสร้างโรงภาพยนต์ในที่ดินของจำเลย ซึ่งติดต่อกับตึกของโจทก์ การตอกเสาเข็มสร้างโรงภาพยนต์ของจำเลยทำให้เกิดการแตกร้าวที่คานดาดฟ้าตึกของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อความเสียหายเกิดจากการตอกเสาเข็มสร้างโรงภาพยนต์ของจำเลย ๆ ก็ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้น แม้จำเลยจะได้จ้างเหมาบุคคลอื่นตอกเสาเข็มและควบคุมตามสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 เพราะจำเลยเป็นผู้ผิดในการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
บุคคลซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดตาม ม. 429 คือ ผู้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริต โดยบุคคลไร้ความสามารถนั้นจะต้องรู้สำนึกในการกระทำด้วย คือ การกระทำของผู้เยาว์ หรือ ผู้วิกลจริต จะต้องเป็นการกระทำที่เป็นละเมิด
บุุคคลไร้ความสามารถ ตาม ม. 429 หมายถึงผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
ไม่รวมถึงผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ยังไม่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 19 เเละมาตรา20
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้แก่บิดามารดาหรือผู้อนุบาล สำหรับบิดามารดานั้นหมายถึงเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาตามความในตอนท้ายของมาตรา 429 เท่านั้น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพ่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถ อยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดถ้าหากไม่ใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเรื่องความบกพร่องในการควบคุมดูแลเมื่อไม่ได้ควบคุมดูแลก็ไม่มีเหตุอะไรที่ต้องรับผิดและก็ไม่ใช่เรื่องที่จะหาคนมาร่วมรับผิดให้จงได้
ความรับผิดตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นซึ่งบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ซึ่งมีหน้าให้ความดูแลนั้นจะต้องรับผิดโดยผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ว่าบิดามารดาหรือผู้อนุบาลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแต่ประการใดแต่เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจะต้องพิสูจน์ว่าตนได้ให้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่
ผลจากความรับผิดส่วนผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตนั้นย่อมไม่ผลความรับผิดเนื่องจากตนได้กระทำละเมิดอันเป็นความรับผิดในการกระทำของตนเองตามมาตรา 420 แล้ว
ตัวอย่าง
น้อยอายุ 10 ขวบขณะที่อยู่กับนิดซึ่งเป็นมารดาเกิดทะเลาะกับปูซึ่งเป็นเพื่อนเด็กด้วยกันน้อยได้ใช้ไม้ตีปูบาดเจ็บดังนี้นิดและน้อยต้องรับผิดต่อผู้หรือไม่ :red_flag:
ข้อเท็จจริง
น้อยต้องรับผิดต่อปูเพราะการใช้ไม้ไล่ตีเป็นการทำละเมิดตามมาตรา 420 ลิตรซึ่งเป็นมารดาจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 429 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ให้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแลถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
มาตรา 430 มีข้อแตกต่างจากมาตรา 429 ที่ว่าหน้าที่พิสูจน์ตามมาตรา 430 ผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าบุคคลเหล่านั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
บุคคลที่ต้องรับผิดตามมาตรา 430 ครูบาอาจารย์มุ่งหมายถึงผู้รับดูแลเด็กนักเรียนที่เป็นผู้ไร้ความสามารถเช่นเด็กโรงเรียนอนุบาลเด็กประถมเด็กมัธยมที่ยังเยาว์ไวในเรื่องประสบการณ์ต่างๆซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะจะรับผิดชอบตัวเองได้อย่างเพียงพอแต่คงไม่หมายถึงเด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่ค่อนข้างจะเป็นผู้ใหญ่และช่วยตัวเองได้แล้วมีจิตสำนึกรู้ผิดชอบดีแล้ว
นายจ้างคือในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างที่เป็นผู้ไร้ความสามารถเช่นนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถเช่นเด็กเล็กๆไปทำงานและถ้าลูกจ้างคนนั้นไปทำให้เกิดความเสียหายขึ้นผู้เป็นนายจ้างก็อาจจะต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 430
บุคคลที่รับดูแลผู้ไร้ความสามารถเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย รับเลี้ยงหลานหรือสถานที่เลี้ยงดูเด็กเล็กๆซึ่งพ่อแม่เด็กจะเอามาไว้ตอนเช้าแล้วตอนเย็นก็มารับเด็กกลับเพราะฉะนั้นเจ้าของสถานที่ก็เป็นผู้รับดูแลตามมาตรา 430 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ได้ดูแลบุตรอยู่ก็ต้องถือว่าเป็นบุคคนที่รับดูแลได้
บุคคลไร้ความสามารถตามมาตรา 430 มีความหมายกว้างคือพิจารณาที่ข้อเท็จจริงเป็นหลักมุ่งหมายถึงผู้ที่มีความสามารถไม่เท่าเทียมกับบุคคลธรรมดาสามัญทั่วๆไปความเป็นบุคคลไร้ความสามารถในที่นี้อาจจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ได้เช่นหมายถึงผู้วิกลจริตตามความเป็นจริงผู้ที่มีร่างกายผิดปกติลืมคนพิการที่มีความสามารถจำกัดหรือหมายถึงคนชราภาพมากๆแล้ว
ตัวอย่าง
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไป ตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอด พฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ระมัดระวังตามสมควรแล้ว เหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ ครูจึงไม่ต้องรับผิด
มารดาปล่อยให้บุตรเล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและนำไปเล่นที่โรงเรียน จนบุตรมีความชำนาญทำไม้กระบอกพลุให้คนอื่นเล่นได้ แสดงว่ามารดาปล่อยปละละเลยไม่ได้ดูแลหรือห้ามปราม แม้เหตุจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนลับหลังมารดาก็ตาม ก็หาทำให้มารดาพ้นความผิดไม่