Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
ความผิดของลูกจ้างที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยนั้น จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่อยู่ในทางการที่จ้าง กล่าวคือต้องเป็นผลจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ความว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
”
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้เช่าเรือเฮอริเทจเซอร์วิสจากบริษัท ด. ผู้เป็นเจ้าของเรือลำดังกล่าวต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ลูกเรือกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าเหมาเรือลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ข้อ 6 เอ, ซีและดีมีใจความโดยสรุปว่า การเช่าเรือครั้งนี้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้เช่าเรือมุ่งหมายเอาผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการของบริษัท ด. ผู้เป็นเจ้าของเรือ นายเรือและเจ้าหน้าที่ในการเดินเรือเป็นสำคัญ ส่วนการเดินเรือและการจัดการเกี่ยวกับเรือไม่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยร่วม แต่เป็นอำนาจโดยเด็ดขาดของบริษัท ด. นายเรือและเจ้าหน้าที่ในการเดินเรือที่จะพิจารณาและตัดสินใจ เพื่อให้การเดินเรือมีความปลอดภัย หากจำเลยร่วมไม่พอใจในการปฏิบัติงานของเรือ เจ้าหน้าที่หรือลูกเรือคนใด จำเลยร่วมไม่มีอำนาจที่จะสั่งการสั่งให้หยุดงานหรือเปลี่ยนตัวนายเรือ เจ้าหน้าที่หรือลูกเรือคนใดได้โดยลำพัง แต่ต้องร้องเรียนต่อนายเรือเพื่อให้นายเรือดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อน หากผลการสอบสวนเป็นไปตามคำร้องเรียนของจำเลยร่วม นายเรือก็จะสั่งให้เปลี่ยนแปลงตัวเจ้าหน้าที่หรือลูกเรือและสั่งตั้งบุคคลอื่นเข้ามาทำหน้าที่ทดแทนได้ ยิ่งไปกว่านั้นในข้อ 7.เอ ยังมีข้อความระบุว่าบริษัท ด. มีหน้าที่จัดหาและจ่ายเสบียงอาหาร ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่นายเรือ เจ้าหน้าที่และลูกเรือด้วยตนเอง จำเลยร่วมไม่มีส่วนรับผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านั้นด้วย คงรับผิดชอบชำระค่าเรือให้แก่บริษัท ด. ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเท่านั้น ลูกเรือของเรือเฮอริเทจเซอร์วิสและจำเลยทั้งห้าจึงไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วม จำเลยร่วมไม่จำต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกเรือดังกล่าวด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องจำเลยร่วม ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" มาตรา 426 "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"text
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2557 ตามสัญญาเช่าเหมาเรือลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ข้อ 6 เอ ซีและดีมีใจความโดยสรุปว่า การเช่าเรือครั้งนี้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้เช่าเรือมุ่งหมายเอาผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการของบริษัท ด. ผู้เป็นเจ้าของเรือ นายเรือและเจ้าหน้าที่ในการเดินเรือเป็นสำคัญ ส่วนการเดินเรือและการจัดการเกี่ยวกับเรือไม่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยร่วม แต่เป็นอำนาจโดยเด็ดขาดของบริษัท ด. ยิ่งไปกว่านั้นในข้อ 7.เอ ยังมีข้อความระบุว่าบริษัท ด. มีหน้าที่จัดหาและจ่ายเสบียงอาหาร ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่นายเรือ เจ้าหน้าที่และลูกเรือด้วยตนเอง จำเลยร่วมไม่มีส่วนรับผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านั้นด้วย คงรับผิดชอบชำระค่าเรือให้แก่บริษัท ด. ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเท่านั้น ลูกเรือของเรือเฮอริเทจเซอร์วิสและจำเลยทั้งห้าจึงไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วม จำเลยร่วมไม่จำต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกเรือดังกล่าว
สิทธิไล่เบี้ย
เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ ต่อ ลูกหนี้ผู้ลงลายมือชื่อก่อนตน และลูกหนี้ชั้นต้น (ผู้รับรอง) เมื่อตั๋วขาดความเชื่อถือ
สิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะกรณีที่การกระทำละเมิดนั้น "การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" (มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง) กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แก่หน่วยงานของรัฐ สิทธิไล่เบี้ยของหน่วยงานของรัฐเอากับเจ้าหน้าที่ของตนก็เป็นเช่นเดียวกัน
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ความรับผิดของตัวการในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้กระทำ มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" มาตรา 426 "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2553 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโครงการอาคารชุด ซึ่งจะต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคของโครงการรวมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามประกาศโฆษณาขายอาคารชุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบุคคลอื่นติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารชุด จำเลยที่ 1 ต้องดูแลให้ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าวใช้งานได้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ หากระบบป้องกันอัคคีภัยไม่สามารถใช้งานได้หรือใช้งานได้ไม่สมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ตามที่โฆษณาไว้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 1 ให้ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยให้แก่อาคารชุด จึงเป็นการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพนักงานของจำเลยที่ 2 เชื่อมสายไฟเข้าระบบผิดทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดความเสียหายแก่ระบบป้องกันอัคคีภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนก่อให้เกิดขึ้นดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนท าละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น”
ความรับผิดของบิดา มารดา และ ผู้ไร้ความสามารถรับผิด มาตรานี้ยืนยันว่าคนที่ไร้ความสามารถไม่ว่า จะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลละเมิดที่ตนได้ก่อให้เกิดขึ้น เรื่อง ความสามารถของผู้ไร้ความสามารถเพราะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตตามกฎหมาย มีเฉพาะเรื่องการทำนิติกรรม กล่าวคือ ผู้ไร้ความสามารถมีแต่ถูกจำกัดในการ ใช้สิทธิโดยลำพัง จึงอาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม แต่ ในทางละเมิดเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิ ผู้ไร้ความสามารถจึงต้องรับผิดในทาง ละเมิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องรับผิดร่วมกับผู้เยาว์ในผลที่ผู้เยาว์ทำละเมิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาของผู้เยาว์ต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้วการใช้อำนาจปกครองของบิดามารดารวมถึงการที่จะต้องคอยอบรมสั่งสอนดูแลตลอดจนควบคุมบุตรผู้เยาว์ มิให้ออกไปประพฤติตนเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การที่บุตรผู้เยาว์อายุ 18 ปี ทำละเมิดในระหว่างที่ไปเรียนหนังสือ ข้อที่ว่าบิดามารดาไม่เคยอนุญาตให้ผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ที่บ้านไปโรงเรียนหรือรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เยาว์ขับเป็นของเพื่อนผู้เยาว์ และขณะเกิดเหตุอยู่ในช่วงเวลาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน มิใช่ข้อที่บิดามารดา จะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และบิดามารดาทราบดีว่าผู้เยาว์สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ และเคยขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้าน แต่บิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โดยปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้านทั้งที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ย่อมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย การที่บิดาผู้เยาว์เตือนผู้เยาว์ให้ขับรถโดยระมัดระวัง อย่าขับรถเร็วนอกจากไม่เป็นการเพียงพอแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับรถ จักรยานยนต์อีกด้วย การที่ผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นในวันเกิดเหตุจึงมีส่วนมาจากการปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลหรือห้ามปรามตามหน้าที่ของบิดามารดามาแต่ต้น เมื่อผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ชนรถของผู้อื่นเสียหาย เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น บิดามารดาของผู้เยาว์จึงต้องรับผิดร่วมในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
2. ดูแลโดยสัญญา เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก จ้างคนมาดูแลผู้เยาว์ หรือครูบาอาจารย์ก็ถือว่าดูแลโดยสัญญา
3. ดูแลโดยข้อเท็จจริง เช่น บิดานอกกฎหมายที่รับผู้เยาว์ไปดูแลในขณะเกิดเหตุ หรือปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาที่รับผู้เยาว์ไปดูแล หรือรับเด็กมาอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2537 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นบุตรของจำเลยร่วมและเป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมต้องย้ายภูมิลำเนาไปประกอบอาชีพในที่ต่าง ๆ หลายแห่งบ่อย ๆ จึงได้ส่งจำเลยที่ 1 ไปอยู่กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้เรียนหนังสือตั้งแต่จำเลยที่ 1 ยังมีอายุประมาณ10 ปี ตลอดมาเป็นเวลา 8-9 ปีแล้ว จำเลยร่วมส่งเสียให้เล่าเรียนโดยให้เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ทั้งหลังเกิดเหตุเมื่อมีการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่สถานีตำรวจก็ได้ระบุในข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลจำเลยที่ 1 ตามสมควรจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 โดยจำเลยที่ 2 หาจำต้องเป็นผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายไม่
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 วางหลักว่า “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
ฎ.2835/2552 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้าน โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนมาติดต่อรับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้ ท. ทำงานตรงไหนก็ได้ตามที่ต้องการ จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งให้ ท. เปลี่ยนแปลงขนาดเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาแพงกล่าวเดิม และเป็นคนเอาเงินให้ ท. ไปซื้อ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน ดังนั้น แม้ ท. จะเป็นผู้ดำเนินการตอกเสาเข็ม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ และการที่ ท. ไม่ได้เรียนวิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางานก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทำให้บ้านของโจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้างมาก่อสร้างด้วย
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
กรณีการว่าจ้างทำของ ผู้รับจ้างไม่ต้องทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง เพียงแต่ทำให้สำเร็จตามกิจการที่ว่าจ้างเท่านั้น คือ มุ่งถึงผลความสำเร็จของงานที่ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา ดังนั้น หากผู้รับจ้างไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำงานที่ว่าจ้างนั้น โดยหลักแล้วผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นด้วย ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว