Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
600-320 สื่อดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ - Coggle Diagram
600-320 สื่อดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
บทที่1 แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยี
ทางการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่
มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่เพื่อทำให้เกิดประโยชน์หรือ
การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลง
ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาสและถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิด
ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation)การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด
หรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการ
ศึกษา
เทคโนโลยี(Technology) หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ใน
การแก้ปัญหาผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เรียกว่านัก
เทคโนโลยี
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามรูปศัพท์เทคโน(วิธีการ)+โลยี(วิทยา)หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย
หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษ
คาร์เพนเตอร์ และเดล (C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
9.การถ่ายโยงที่ดี 10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมที่สนองแนว
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
INNOTECH หรือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
การเตรียมสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)
โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)
การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง(Instruction Module) ต้องผ่านวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบทเรียนก่อนที่จะเรียนบทต่อไป
โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)
โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational Television)
เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)
วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆเพื่อแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยให้บรรยากาศการรู้สนุก
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยลดเวลาในการสอน
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย
องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา
บุคลากร
การเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การจัดการ
บทที่ 2 สื่อดิจิทัล
เข้าใจ
Understanding
เข้าใจบริบท และประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พบ
การรู้สื่อ
Media Literacy
การเข้าถึง การวิเคราะห์ และการผลิตสื่อผ่านความเข้าใจและ
การตระหนัก
การรู้สารสนเทศ
การประเมินว่าสารสนเทศใดที่มนุษย์ต้องการ
สื่อดิจิทัลคืออะไร
1.“สื่อดิจิทัล คือ เนื้อหาของการสื่อสาร
ที่สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านทางเครื่องมือดิจิทัล”
2.“สื่อดิจิทัล คือ สื่อที่มีคุณสมบัติสำคัญอยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ (interactive) ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมซึ่งกันและทำให้ต่างฝ่ายต่างสามารถผลิตเนื้อหาของตนเองได้”
3.สื่อดิจิทัล หมายถึง อะไรก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดข้อมูลเลข ฐาน 2 คือ ตัวเลข 1 และ 0 สำหรับประมวลผล จัดเก็บหรือแสดงผลของข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งต่อข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งกำเนิดสารหรือผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
องค์ประกอบของสื่อ
สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ข้อความ (Text) เสียง (Audio) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video)
ประเภทของสื่อ
มี 4 ประเภท คือ
1.E-book และ E-document
2.CD Presentation
3.CD Training
4.VCD/DVD
การเข้าใจสารสนเทศ
1) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศและการประเมินสารสนเทศ โดยสามารถระบุแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม สามารถประเมินสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณตามสมรรถนะที่เกิดขึ้น
2) การใช้และการจัดการสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และตรงกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น มีการจัดการสารเทศอย่างต่อเนื่องจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ และมีการประยุกต์ใช้สารสนเทศมาจัดการตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ทักษะการเรียนรู้
และนวัตกรรม
ความเข้าใจสื่อดิจิทัลเกิดจากการผสมผสานความรู้ทุกสาขาวิชารวมถึงทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation skills) และการใช้ชีวิต มีจุดเน้นอยู่บนพื้นฐานแห่งการสร้างสรรค์
การคิดแบบมีวิจารณญาณ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในการทำงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เครื่องมือที่ใช้ใน
การนำเสนอข้อมูลยุคดิจิทัล
โพรเจกเตอร์ (Projector)
เครื่องฉาย 3 มิติ (Visualizer)
กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera)
กล้องถ่ายวีดีทัศน์ดิจิทัล
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
อัลตราบุ๊ก (Ultrabook)
แท็บเล็ต (Tablet)
สมาร์ทโฟน (Smartphone)
เครื่องเล่น MP3