Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรม และเทคโนโลยี สารสนเทศ ทางการศึกษา - Coggle…
บทที่ 1 แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรม และเทคโนโลยี สารสนเทศ ทางการศึกษา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของนวัตกรรมสารสนเทศทางการ
ศึกษา
นักศึกษาสามารถบอกความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้
ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation)
คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่
มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ หรือ
การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
คือ การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เทคโนโลยี (Technology)
คือ การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) คิอ ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
คือ การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาในด้านการศึกษาส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เช่น
ปัญหาผู้สอน
ปัญหาผู้เรียน
ปัญหาด้านเนื้อหา
ปัญหาด้านเวลา
ปัญหาเรื่องระยะทาง
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
หลักการจูงใจสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) สื่อช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อเทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และตามความสามารถของเขา
การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ
อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน ช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถของผู้เรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ
การถ่ายโยงที่ดี สอนแบบถ่ายโยง ผู้เรียนต้องการคำแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
เครื่องสอน (Teaching Machine)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
การเรียนทางไปรษณีย์
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
ชุดการเรียน
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
INNOTECH หรือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (ModularScheduling)
การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล
(Individually Prescribed Instructing )
โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
การเตรียมสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง(Non –TraditionalRoles of Teachers)
โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา(Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอน
เดียวกัน (Integrated Curricular)
การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง
(Instruction Module)
โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)
โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational
Television)
เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)
วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา
บุคลากร
การเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การจัดการ
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการ
ศึกษา
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยลดเวลาในการสอน
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย