Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Administration of Head Ward - Coggle Diagram
Administration of Head Ward
คุณลักษณะของผู้บริหาร
มีความเป็นผู้นำและเป็นยอมรับในองค์กร
รับฟังความคิดความของผู้อื่น
มีความรู้ ความสามารถ
มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล
มีความคิดอย่างเป็นระบบ
มีทักษะในการแก้ไขปัญหา และมีการจัดการความขัดแย้ง
มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ เชิงวิพากษ์และวิเคราะห์
คิดเทคนิคการโน้วน้าวใจ แรงจูงใจ การชักชวน
มีความสามารถในการตัดสินใจ
มีการประนีประนอมและมีทักษะการเจรจาที่ดี
มีประสบการณ์
ทักษะที่ดีในการบริหาร
ทักษะการคิด
การคิดเชิงวิเคราะห์ : นำข้อมูลเหตุผลมาวิเคราะห์ ให้เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นความสามารถในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์เรื่องราวหรือเนื้อหาต่างๆ ว่าประกอบด้วยอะไร มีความสำคัญอย่างไร อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล และที่เป็นอย่างนั้น อาศัยหลักการของอะไร การคิดเชิงวิเคราะห์ยังเป็นความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาที่แม่นยำมีความละเอียดในการจำแนกแยกแยะ
ความหมาย
ระบุปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Define the problem)
รวบรวมและประมวลผลข้อมูล (Gather and interpret information)
พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ (Develop possible solution)
นำแนวทางการแก้ปัญหาไปทดสอบ (Test possible solutions)
เลือกแนวทางที่ดีที่สุดไปดำเนินการใช้ (Select and implement a solution
การคิดเชิงสร้างสรรค์ : การคิดอะไรที่แปลกใหม่ และได้ผลดีกว่าเดิม ต้องมีการมองหลายๆแง่มุม ทำให้ผู้คิดมีความมั่นใจในจุดยืนของตนเอง
ความหมาย
ความสามารถทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกนัยนำไปสู่การคิดค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่ง ผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้น ทฤษฎีหลักการได้สำเร็จ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้นี้มิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็นไปได้ หรือสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ความคิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะก่อให้เกิดความแปลกใหม่ แต่ต้องควบคู่กันไปกับความพยายามที่จะสร้างความคิดฝัน หรือจินตนาการให้เป็นไปได้ จึงทำให้เกิดผลผลิตที่ยังประโยชน์ต่อสังคม
ขั้นตอน
Fact Finding ขั้นสงสัยในความเป็นจริง
Problem Finding ขั้นค้นพบปัญหา
Idea Finding ขั้นคิดตั้งสมมุติฐาน
Solution Finding ขั้นแก้ปัญหาได้และพบคำตอบ
Acceptance Finding ขั้นยอมรับผลที่ค้นพบนั้น
การคิดเชิงวิพากษ์ : การใช้เหตุผลในการตอบ การคิด จะต้องมองสถานการณ์ให้ออก จะต้องมีการตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ ต้องมีการใส่ความคิดเห็นของตนเองได้
ความหมาย
หมายถึง กระบวนการคิดอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ความคิด/คำตอบท่ีดีที่สุด มีความสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ โดยผ่านการพิจารณาและประเมินข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และความคิดเห็นอย่างรอบคอบ ทั้งทางกว้าง ลึก และไกล รวมท้ังการพิจารณากลั่นกรอง คุณ-โทษ และคุณค่าท่ีแท้จริงของเรื่องที่คิด
ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนโดยระบุพฤติกรรมและพฤติกรรม ท่ีพึงประสงค์ของความคิดขั้นสูงของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 2 การคิดเชิงวิพากษ์จะเกิดขึ้นได้ โดยการสอนด้วยการตั้งคาถาม ผู้สอนต้องมีเทคนิคการ ตั้งคำถาม สร้างข้อคำถามที่เหมาะสม มีการกระตุ้นและการอภิปราย
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการปฏิบัติก่อนทำการประเมิน โดยจะต้องเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ประโยชน์ขององค์ประกอบเก่ียวกับกิจกรรมการเรียน
ขั้นตอนที่ 4 ในการจัดการเรียนการสอน จะต้องมีการทบทวนการปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมในช้ัน เรียน รวบรวมข้อมูลย้อนกลับจากผู้เรียน
ขั้นตอนท่ี 5 การสะท้อนกลับและการประเมิน ผู้เรียนการสะท้อนผู้เรียนเปิดโอกาสให้มีการประเมินตนเอง การสะท้อนเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาความคิด และการคิดมักเกิดข้ึนในระหว่างวงจรของข้อมูลย้อนกลับ
ทักษะการสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสาร
การสื่อสารหนึ่งทาง
การสื่อสารสองทาง
ประโยชน์การสื่อสาร
คนสองคนเข้าใจกัน
เกิดการประสานงานที่ดี
เข้าใจในทิศทางเดียวกัน
การดำเนินงานไม่ติดขัดและมีความรวดเร็ว
การโน้มน้าวใจ
บอกถึงข้อดีนั้นๆ
การชักชวนในคนมาเห็นด้วยกันเรา
สร้างบรรยากาศที่ดี
เข้าใจบริบท วัฒนธรรมในแต่ละคน
แรงจูงใจ
ผู้ที่สื่อสารต้องมีความคิดในแง่บวก
มีความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดี
มีผลประโยชน์ต่อฝ่ายตรงข้าม
การเจรจาต่อรอง
บุคคลแต่ละฝ่ายมีการยอมกันและกัน
มีบุคคลที่เป็นคนกลาง
เสนอข้อคิดเห็นและยอมรับข้อคิดเห็นเพื่อค้นหาและยุติปัญหา
การชักชวน
พูดโน้มน้าวใจให้น่าสนใจให้คนทำตาม
บอกสิ่งที่ดีชักชวนให้ฝ่ายตรงข้ามมาทำ
1.มีการใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งการสื่อสารทางตรง โดยการพูดคุยกันโดยตรง ทางโทรศัพท์ ทางไลน์
สื่อสารให้กระชับ ชัดเจน มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม
3.เปิดโอกาสให้ติดต่อได้ตลอดเวลา
จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องการสื่อสาร
5.ตักเตือนหากใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เพื่อให้เห็นความสำคัญของการสื่อสารสองทางมากกว่าการตีความจากการรับสารทางเดียวจากสื่อโซเชียล
สุรีพร แซ่หนึ่ง และอารียาวรรณ อ่วมตานี.(2563). สื่อสารอย่างไรให้ได้ใจพยาบาลรุ่นอายุแซด.วารสารพยาบาลทหารบก.
ทักษะการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหา: การรับฟังความคิดเห็นของทุกคนเพื่อค้นหาสาเหตุ ค้นหาและวางแผนร่วมกัน ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ ประเมินผล ร่วมกันหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งซ้ำ
การแก้ไข
Plan คือ การวางแผนที่จะคลอบคลุมในเรื่องการกาหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ แก้ไขปัญหา และจัดทำแผนการดำเนินงานในกิจกรรมที่ประกอบกัน จำเป็นจะต้องมีการระบุข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีผลต่อแผนยกตัวอย่าง เช่น ทรัพยากร มนุษย์ วัตถุดิบ เงินทุน และระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินการ และพิจารณาหาวิธีการที่เป็นไปได้
Do คือ การลงมือปฏิบัติ หลังจากจบจากการวางแผนแล้วเริ่มเข้าสู่ข้ันตอนการปฏิบัติงานหรือ ดาเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ที่วางไว้ และควรนาไปปฏิบัติเพื่อให้มันใจว่ามีการปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงในขั้นตอนดังกล่าวคือ
2.1 สร้างความมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบ
2.2 ให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบได้รับรู้เนื้อหาและแผนที่วางเอาไว้และดำเนินการตามแผน
2.3 จัดให้มีการศึกษา และฝึกอบรมเพื่อให้มีความเข้าใจในแผนและดำเนินงาน
2.4 จัดหาทรัพยากรให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน
Check คือ การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน เมื่อทำการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ตามแผนเพื่อให้สามารถเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและรีบดำเนินการแก้ไขจนได้รับกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติงานที่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐาน
Act คือ การปฏิบัติตามผลการตรวจสอบ หรือแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการใดๆ ที่เหมาะสมตามผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการตรวจสอบ หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไข แต่หากในกรณีที่ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้จัดทำเป็นมาตรฐาน ซึ่ง เรียกขั้นตอน นี้ว่าการนำไปปฏิบัติและกำหนดเป็น มาตรฐาน (Action)
การจัดการความขัดแย้ง
การเจรจาต่อรอง
บุคคลแต่ละฝ่ายมีการยอมกันและกัน
มีบุคคลที่เป็นคนกลาง
เสนอข้อคิดเห็นและยอมรับข้อคิดเห็นเพื่อค้นหาและยุติปัญหา
มีสองรูปแบบ
1.win win
2.win lose
ขั้นตอนการเจรจารมี3ขั้นตอน
1.การเตรียมการเจรจา
2.ดำเนินการ
3.บังคับใช้ผลของการเจรจาให้ปฏิบัติได้จริง
การประณีประน้อม
เป็นมิตรต่อกัน
ลดความขัดต่อกันทั้งสองฝ่าย
การปรองดองกันทั้งสองฝ่าย
วิธีแก้ปัญหา
โดยประชุมทั้งสองฝ่ายเพื่อหาวัตถุประสงค์ของปัญหา และถูกวิธีแก้ปัญหาใช้วิธียึดเป้าหมายหลักร่วม, ใช้วิธีการหลีกเลี่ยง, สร้างความราบรื่น,ใช้วิธีการประนีประนอม, ใช้คำสั่ง,เปลี่ยนแปลงตัวแปรด้านมนุษย์ ศิริวรรณ, (2559):
ทักษะการประสานงานและความร่วมมือ
ลักษณะการประสานงาน
การประสานงานในองค์กรและนอกองค์กร
การประสานงานเพื่อการส่งต่อ
มีทักษะในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย
ประโยชน์
ทำให้การดำเนินงานราบรื่นและสามัคคีกัน
บรรบุตามเป้าหมายที่วางไว้
ทำให้งานเกิดไปในทิศทางเดียวกัน
ช่วยลดต้นทุน ทรัพยากร เช่น งบประมาณ ระยะเวลา เป็นต้น และลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน
ปัจจัย
ด้านทรัพยากร
มีเครื่องมือ เทคโนโลยีในการประสานงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
มีสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ เพื่อการสื่อสารที่ผิดพลาด
ด้านบุคคล
คนภายในทีมต้องเข้าใจกัน
เข้าใจในเป้าหมายและองค์กร
ต้องมีการสื่อสารและรับฟังที่ดี
มีศักยภาพในการทำงาน
มีประสบการณ์ในการทำงาน
มีการเตรียมตัวที่ดี
ลักษณะการร่วมมือ
เกิดจากความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือ
การกระทำบางอย่างร่วมกัน
ทักษะการตัดสินใจ
มีการประชุมและหารือกับผู้บริหาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
ต้นทุนที่มีอยู่ ทรัพยากรบุคคล ประเมินผลกระทบทั้งผลดีและผลเสีย
ชนิดของการตัดสินใจ (Bernhard & Walsh, 1995) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.การตัดสินใจด้วยวิธีที่ทําให้ได้ผลเท่าที่พอใจ ซึ่งจะมีการตัดสินใจเลือกมาตรฐานขั้นต่ำตามวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนาเท่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทำให้การตัดสินใจแบบนี้อาจจะเสียโอกาสได้หากรีบตัดสินใจไปก่อน
การเลือกตัดสินใจที่ให้ผลดีที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลา เพื่อลดความผิดพลาดและได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าโดยสามารถพิจารณาประสิทธิภาพการตัดสินใจ คุณภาพการตัดสินใจ และการยอมรับการตัดสินใจ ของผู้ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจนั้น
องค์ประกอบของการตัดสินใจเชิงบริหาร
ผู้ทําการตัดสินใจ : อาจเป็นคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้
เรื่องราว หรือปัญหา หรือเป้าหมายที่ต้องทําการตัดสินใจ : โดยอาศัย ข้อมูลที่หลากหลายเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสาเหตุหรือปัญหา ปัจจัยต่างๆจนตัดสินใจ และได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาท่ีเหมาะสม(มธุรดา บรรจงการ และธัญสินี พรหมประดิษฐ, 2562)
ทางเลือกต่าง ๆ : มักมีทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก ขึ้นไป ซึ่งทางเลือกจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับข้อมูล ความสามารถ เวลามีอยู่ด้วย
เวลา : การตัดสินใจต้องใช้เวลาและ ทุ่มเทกับการพิจารณาข้อมูลหรือรายละเอียดเล็กๆ จะทําให้ตัดสินใจได้ดี (มธุรดา บรรจงการ และธัญสินี พรหมประดิษฐ, 2562)
สถานการณ์หรืตัดสินใจ ของผู้ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจนั้นสภาพแวดล้อม บางประเด็นเป็นสถานการณ์ปกติธรรมดา บางสถานการณ์ก็ เสี่ยง และบางสถานการณ์ก็ไม่แน่นอน ดังนั้นผู้บริหารต้องพิจารณาถึงผลที่จะเกิดต่อการตัดสินใจ