Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสื่อดิจิทัลและนวัตกรรม - Coggle Diagram
สรุปสื่อดิจิทัลและนวัตกรรม
บทที่1 :red_flag:แนวคิดทฤษฎ๊ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation)
คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ หรือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
เครื่องสอน (Teaching Machine)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ
ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
เทคโนโลยี (Technology)
หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา
Trend Technology
Cloud Computing
Internet of Things (IoT)
PromptPay
Mobility
บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
ทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยลดเวลาในการสอน
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย
บทที่2 ความเข้าใจสื่อดิจิทัล :<3:
เข้าใจ
Understanding
เข้าใจบริบท และประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พบ
การรู้สื่อ
Media Literacy
การเข้าถึง การวิเคราะห์ และการผลิตสื่อผ่านความเข้าใจ
การรู้สารสนเทศ
การประเมินว่าสารสนเทศใดที่มนุษย์ต้องการ
ดิจิทัลมีเดีย
สื่อดิจิทัล หมายถึง อะไรก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดข้อมูลเลข ฐาน 2 คือ ตัวเลข 1 และ 0 สำหรับประมวลผล จัดเก็บหรือแสดงผลของข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งต่อข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งกำเนิดสารหรือผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
อดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
ข้อความ (Text)
เสียง (Audio)
ภาพนิ่ง (Still Image)
ภาพเคลื่อนไหว (Animation
ภาพวิดีโอ (Video
ประเภทของสื่อ
มี 4 ประเภท คือ
VCD/DVD
CD Presentation
CD Training
E-book และ E-document
เครื่องมือที่ใช้ใน
การนำเสนอข้อมูลยุคดิจิทัล
โพรเจกเตอร์ (Projector)
เครื่องฉาย 3 มิติ (Visualizer)
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
สมาร์ทโฟน (Smartphone)