Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้างและ ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง และตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 425 วางหลักว่านายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1043/2540 จำเลยที่1เป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีและจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจนครบาล7มีนบุรีต่างมีอาชีพรับราชการจำเลยที่1เป็นแต่เพียงผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่2ตามสายการบังคับบัญชาเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขับรถยนต์ให้จำเลยที่2บ้างก็น่าจะเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัยและการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์ของจำเลยที่2อาสาไปส่งจำเลยที่4ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีนั้นก็เป็นเรื่องเอื้อเฟื้อส่วนตัวของจำเลยที่1ข้อเท็จจริงเช่นนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อโจทก์ที่1
มาตรา 426 วางหลักว่านายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547
จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อ ชนนาง ศ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ตายฟ้องโจทก์แต่ผู้เดียวในฐานะนายจ้างให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยและให้โจทก์ใช้ค่าฤชา ธรรมเนียมแทน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ ทำนั้นชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้าง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกจึงชอบที่จะ ได้รับชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่า นั้น สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้ให้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความรับผิดตาม คำพิพากษา อันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้ คดี ค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
มาตรา 427 วางหลักว่าบทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2557 แม้จำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ขึ้นที่บ้านของตนเอง การจุดพลุเป็นพิธีการส่วนหนึ่งของการเปิดงาน การที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุ อันเป็นสัญญาณเริ่มต้นเปิดงานต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการจุดพลุเปิดงานเลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จำเลยที่ 2 จัดให้มีขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำการจุดพลุโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ร่วมทั้งสองเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามคำสั่งที่จำเลยที่ 2 ใช้ให้กระทำแทนจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ประกอบมาตรา 427 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองด้วยผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1332 เจ้าของทรัพย์เดิมมอบอำนาจให้ตัวแทนมายึดทรัพย์คืนโดยไม่ชดใช้ราคา เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ จึงต้องร่วมกันรับผิดกับตัวแทนในผลแห่งละเมิดนั้น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไรความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ และ ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 วางหลักว่าครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12979/2558
เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้เยาว์ส่งสถานพินิจฯ เป็นหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ไม่มีเจตนารับดูแลผู้เยาว์ เมื่อผู้เยาว์หลบหนีไปทำละเมิด เจ้าพนักงานตำรวจไม่ต้องรับผิดเพราะไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 430 ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดเพราะเป็นเพียงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ทำละเมิดโดยตรงที่หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
มาตรา 429 วางหลักว่าบุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้ อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่งทำอยู่นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2523 แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาจะเคยห้ามปรามจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบุตรผู้เยาว์ไม่ให้เอารถยนต์ไปใช้ และเก็บลูกกุญแจรถไว้เองโดยเก็บไว้ในที่สูงก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 รู้ที่เก็บและเคยเอารถออกไปขับ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถหาได้ใช้ความระมัดระวังในเรื่องนี้ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 นำสืบพิสูจน์หักล้างความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น และ หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 วางหลักไว้ว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2550 จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดวิธีการให้ผู้รับจ้างตัดต้นไม้และให้คนควบคุมดูแลการตัดต้นไม้ตลอดเวลา แต่ในวันที่มีการตัดต้นไม้และทำให้ไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าแรงสูงในที่ดินของโจทก์ขาดก่อให้เกิดความเสียหายกลับไม่มีผู้ใดควบคุม การที่ผู้รับจ้างไม่มีความรู้ความชำนาญในการตัดต้นไม้ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างข้างเคียงหรือไม่ยอมทำตามวิธีการที่ถูกต้อง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง วางหลักว่าในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าไม่อาจรับคำอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้ เนื่องจากมาตรา 21, 25 และ 87(3)แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน ซึ่งโจทก์เห็นว่ายังไม่ถูกต้องเพราะกรณีตามมาตรา 21, 25 และ 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่ห้ามมิให้อุทธรณ์นั้น หมายถึงว่าโจทก์ต้องได้รับทราบหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน แต่กรณีของโจทก์นั้นโจทก์ไม่เคยรับทราบหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จำเลยให้การว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้องศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายกฟ้อง