Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
*Administration of Head Ward * - Coggle Diagram
*
Administration of Head Ward
*
การจัดการกับความขัดแย้ง (Conflict Adnministration)
ความหมาย ความสำคัญ
ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างที่บุคคล 2 คน หรือ มากกว่า แสดงพฤติกรรมเปิดเผยออกมาอย่างแตกต่างกัน
การเกิดความขัดแย้งในองค์กรก่อเกิดผลกระทบต่อการทำงาน สัมพันธภาพและสภาพแวดล้อม ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพได้ หากความขัดแย้งมีความรุนแรง จีงควรมีการจัดการความขัดแย้งในองค์กร เพื่อการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
(รัฐพล เย็นใจมา และ สุรพล สุยะพรหม, 2561)
ประโยชน์
1.การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทำให้เกิดการแก้ปัญหาร่วมกันในองค์กร
เกิดสัมพันธภาพที่ดี
มีการทำงาน และประสานงานที่ดีมากยิ่งขึ้น
เกิดความสามัคคีในองค์กร
ลักษณะ
ความขัดแย้งภายในบุคคล
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่ม
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มภายในองค์การเดียวกัน
ความขัดแย้งระหว่างองค์การ
ปัญหาความขัดแย้งในหอผู้ป่วย
1.ทีมพยาบาลมีความขัดแย้งกันเอง
2.เกิดความขัดแย้งกับแผนกอื่นๆ จากการประสานงาน เช่น การได้รับยาที่ไม่ถูกต้อง การส่งผู้ป่วยตรวจแผนกต่างๆ
3.เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยกับพยาบาล
ปิยาภรณ์ เลิศปัญจทรัพย์ และอรพิน สถินมน (2560) ได้ศึกษา พบว่า รูปแบบความขัดแย้งของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน เป็นความขัดแย้งในด้านเนื้อหาของงานที่ปฏิบัติ และความรู้สึก ทางด้านอารมณ์ โดยมีระดับความขัดแย้งในระดับเริ่มปรากฏ มากที่สุด และสาเหตุมาจากสถานการณ์ชี้นำด้านโครงสร้างของ องค์กร และด้านบุคคล พบว่า พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบประนีประนอมในการแก้ไขปัญหามากที่สุด
การยุติความขัดแย้ง
ใช้อํานาจและการระงับ
การประนีประนอม
การแก้ปัญหาโดยร่วมมือ
บุบผชาติ อุไรรักษ์ (2561) การบริหารการจัดการความขัดแย้งระหว่างวิชาชีพพยาบาล กับวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ พ.ศ. 2561 นำแนวคิดการบริหารการจัดการความขัดแย้งมาประยุกต์ใช้ในสถานการ์ โดย การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจ(Task forces)ขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาไปในทางสร้างสรรค์สนับสนุนให้เกิดความคิดในแง่บวกเพื่อให้เกิดการยอมรับในข้อตกลงร่วมกันได้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งควรเลือกรูปแบบความขัดแย้งแบบชนะ-ชนะ(win-win conflict)เป็นกลยุทธ์การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลเพื่อแสวงหาแนวทางที่ทาให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบโดยการใช้กลยุทธ์นี้คือความร่วมมือกันในการหารือการแก้ปัญหา(Collaboration or problem solving)
การแก้ปัญหา (ploblem solving)
ประโยช์
มีความเข้าใจตรงกัน เกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในทีม :
ทำให้เห็นจุดเสียน้อยลง
ทำให้งานสามารถบรรลุสู่เป้าหมายทีวางไว้
รูปแบบการแก้ปัญหา
2.การดำเนินการ
3.การควบคุม
1.การเตรียมการ
ความหมาย ต้องใช้การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันกับทุกสถาณการณ์ ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยจนกระทั้งปัญหาที่ใหญ่โตระดับองค์กร ผลที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ที่เป็นอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตาม ความคาดหวังที่ต้องการให้เป็น โดยที่เจ้าของปัญหามีความรู้สึกว่า มีบางสิ่งบางอย่างเบี่ยงเบนไปทําให้ไม่ สามารถดําเนินการตามปกติได้และมีความต้องการที่จะแก้ไขเหตุการณ์หรือสถานการณ์ให้เป็นไปตามแนวทาง ที่กําหนดไว้
องค์ประกอบของการแก้ปัญหา
(จิราภรณ์ ตั้งสกุล และคณะ, 2563)
1.การแลกเปลียนข้อมูล
2.การสื่อสารในทีม
3.การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
4.การเลือกวิธีแก้ปัญหา
5.การจัดลำดับตวามสำคัญปัญหา
6.การรักษาระเบียบกลุ่ม
กระบวนการแก้ปัญหา
การระบุปัญหาต้องระบุให้แน่ชัดก่อนจึงจะแก้ปัญหาเพื่อจะได้ตรงตามความต้องการ
การวิเคราะห์และการค้นหาสาเหตุของปัญหา
การกําหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา
การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดโดยเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเกี่ยวกับเวลางบประมาณที่ใช้
การดําเนินการแก้ปัญหา ควรแก้ไขตามทางเลือกที่กําหนดไว้
การประเมินผลการดําเนินงานควรทําทุกขั้นตอนการดําเนินงานจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการ
ข้อพึงระวังก่อนที่คิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ควรพิจารณาเกี่ยวกับ
การมีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบที่จะทําการแก้ปัญหาหรือไม่
มีความรู้ความสนใจมีเวลาทรัพยากรเพียงพอหรือไม่
ตนเองมีคุณลักษณะเพียงพอหรือมีความสามารถเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาหรือไม่
สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นได้หรือไม่
ปัญหานั้นควรจะทําการแก้ไขหรือไม่
มีผลที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาหรือมีผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหาหรือไม
ปัญหาที่จะแก้ไขนั้นมีความสําคัญหรือไม่และสําคัญมากน้อยเพียงใด
ความคิดสร้างสรรค์( creative thinking)
การคิดหลายๆแง่หลายๆทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมีออกรอบด้าน ( นิพาดา เทวกุล , มปป ).
พื้นฐานสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
สร้างอุปนิสัยช่างสังเกต
2.นักคิด
3.มองโลกในเเง่ดี
4.การรับรู้ในความเเตกต่างของมนุษย์เเละรู้จักมองตนเอง
5.การมีประสบการณ์ทั้งทางตรงเเละทางอ้อม อย่างเพียงพอ
การประสานงาน (Co-ordination)
การติดต่อประสานงานภายใน-ภายนอก หน่วยงานมีความสำคัญ ความจำเป็นอย่างไร
ทําให้การดําเนินงานไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้นและมีบรรยากาศการทํางานแบบมีส่วนร่วม
ช่วยให้ทุกคนเข้าใจนโยบาย เป้าหมายที่ตรงกันเพื่อจะได้มีทิศทางในการทํางาน
ประหยัดเวลา วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณในการดําเนินงาน
ส่งเสริมการทํางานร่วมกัน การทํางานเป็นทีม ลดข้อขัดแย้งแต่ส่งเสริมความสามัคคีต่อกัน
สร้างขวัญและกําลังใจในการทํางานหากไม่มีความขัดแย้งกันในองค์กร
ขจัดปัญหาที่ซับซ้อนและเหลื่อมล้ำกัน
องค์ประกอบของการประสานงาน
(ภิญญา ทนุวงษ์,2555)
การประสานงานแบบเป็นทางการ
เน้นเรื่องของการจัดโครงสร้างองค์กร การจัดสายบังคับบัญชา การจัดขั้นตอนในการประสานงาน รูปแบบการประสานงาน เพื่อให้การประสานงานมีลำดับขั้นตอนและมีความเป็นระบบ
การประสานงานแบบไม่เป็นทางการ
เน้นที่การให้ความร่วมมือของบุคคลในการพูดคุยประสานงานกัน
ทักษะการประสานงานที่ดี
การทำงานต้องมีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน
การเข้าใจที่ตรงกันและพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน
มีการติดต่อสื่อสารที่ดีมีการประชุมอยู่เสมอ
ผู้บริหารควรเห็นความสำคัญของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
การเจรจาต่อรอง (Negotiation)
ความหมาย :pen:
คือ กระบวนการที่บุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปดําเนินการแลกเปลี่ยนข้อเสนอ-สนอง ในเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างมีประโยชน์ได้เสีย แล้วต่างฝ่ายต่างพยายามลดหย่อนผ่อนปรนเงื่อนไขข้อเรียกร้อง ระหว่างกัน เพื่อแสวงหาข้อยุติ
ที่ทุกฝ่ายตกลงยอมรับกันได
ลักษณะและรูปแบบ :star:
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการร่วมมือ (Win-Win)
คือต่างฝ่ายต่างแสวงหา ข้อตกลงที่จะให้
ทุกฝ่ายที่ร่วมเจรจาได้รับประโยชน์ด้วยกัน
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน (Win-Lose)
คือ มุ่งที่จะให้ฝ่ายตนได้รับประโยชน์ เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คํานึงว่าฝ่ายอื่นจะได้รับประโยชน์หรือ ไม่
ขั้นตอนการเจรจาต่อรอง :red_flag:
3ขั้นตอน
ได้แก่
ขั้นเตรียมการ
ต้องกําหนดกลยุทธ์ในการกําหนดยุทธศาสตร์ จําเป็นต้องเตรียมข้อมูลและศึกษาประเด็นปัญหาต่อไปนี้ให้พร้อม กําหนดวันและเวลาสําหรับการเจรจา
ขั้นตอนในการดําเนินการเจรจา
ใช้ความสามารถเฉพาะตัวอย่างเต็มที่ และจะต้องรักษากฎ ระเบียบ และพิธี การในการเจรจาต่อรอง
ขั้นการมีผลบังคับใช
เป็นขั้นตอนที่จะให้มีการปฏิบัติตามผลของการเจรจาที่ได้ตกลงกันไว้ โดยทําสัญญาหรือความตกลง ระหว่างกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างระมัดระวัง
ข้อห้ามที่ต้องระวัง :warning:
อย่าถือว่าคู่เจรจาเป็นศัตรู
อย่าใช้ วิธีการขู่เข็ญคุกคาม ใช้การประนีประนอม
อย่าคิดว่าทุกคนคิดเหมือนที่เราคิดต่างคนก็ต่างมีมุมมองของตน
อย่ารีบร้อนในการให้คําตอบ
คุณลักษณะนักเจรจาต่อรองที่ดี :check:
ยึดสาระในหลักธรรม
มีคุณสมบัติที่ดีโดยทั่วไป
ได้แก่ มีบุคลิกภาพดี มีความรู้ ความสามารถและศิลปะในการสื่อความหมาย มีสามัญสํานึกที่ดี
การนำไปประยุกต์ใช้ในหอผู้ป่วย :silhouettes:
การเจรจาต่อรองลดความขัดแย้ง
มี3ประเด็น ได้แก่
1 ดําเนินการอย่างเป็นระบบ
ก่อนเจรจาต้องฟังอย่างตั้งใจ การพูดและการฟัง
การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจรจาต่อรอง เพื่อลดความเครียด
สร้างทางออกให้เลือก การสร้างทางออกร่วมกัน เป็นสิ่งที่จะทําให้ทุกฝ่ายเกิดความพอใจ
ยึดมั่นในมาตรฐานและต้องยุติธรรม
เน้นแก้ที่ปัญหาที่เกิดอย่างรวดเร็ว
มีความเหมาะสม ผลประโยชน์มาให้ทั้ง 2 ฝ่าย
มีหลักการดังนี้
สัมพันธภาพยังคงอยู่ เน้นให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี
ประโยชน์เกิดกับผู้ป่วยหรือญาติ โดยที่ผลประโยชน์ไม่ใช่จุดยืนของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง
อ้างอิง
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า ปี2564
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking
นิยาม
เป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการพิจารณา ประเมิน และตัดสินใจสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากข้อสงสัยหรือข้อโต้แย้งด้วยการแสวงหาคำตอบอย่างสมเหตุผล
(มณีรัตน์ ภาคธูป , 2561 )
ความสำคัญและประโยชน์
(มณีรัตน์ ภาคธูป , 2561 )
1.การปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ตัดสินใจ เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และคัดเลือกวิธีการปฏิบัติการพยาบาลที่ดีที่สุดในการช่วยชีวิตผู้ป่วย
2.การนำผลงานวิจัยและการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ ใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการอ่านงานวิจัย และนำวิจัยมาใช้ปฏิบัติการพยาบาล หรือการทำวิจัย
3.การตัดสินใจในงานบริหาร ใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ปัญหาในองค์กร ผู้บริหารที่มีทักษะคิดเชิงวิพากษ์จะสามารถบริหารงานได้ดี เนื่องจากสามารถคิดวิเคราะห์งานได้ รวมทั้งสามารถคาดการณ์และมองเหตุการณ์ในอนาคตได้
คุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์
(มณีรัตน์ ภาคธูป , 2561 )
มีความยุติธรรมไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าใจในความที่เป็นของผู้อื่นเข้าใจในการกระทำของผู้อื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจ
เป็นคนที่มีเหตุผลไม่หุนหันพลันแล่นมีความรอบคอบในการกระทำหรือการตัดสินใจ
มีความซื่อสัตย์ในการเผชิญกับอคติ
มีความคิดอิสระ
มีความอ่อนน้อมถ่อมตนรู้จักการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความคิดสร้างสรรค์
เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ
มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองและมีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย
ขั้นตอนและเทคนิคการคิดเชิงวิพากษ์
1.เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (Trigger) ซึ่งการเผชิญหน้าทําให้เปลี่ยนมุมมองและเรียนรู้ที่จะ คิดในเชิงโต้แย้ง
2.การประเมินสถานการณ์ (Appraisal) โดยตรวจสอบด้วยตนเองอย่างละเอียดว่าเกิดสิ่งใดขึ้นเพื่อ ประเมินค่าว่าจะตอบสนองอย่างไร
3.การวินิจฉัยตรวจสอบอย่างละเอียด (Exploration) เริ่มยอมรับและพยายามหาทางอธิบายสิ่งที่ เกิดขึ้นเพื่อลดความรู้สึกไม่สบายใจ
4.พัฒนามุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม (Development of Alternative Perspectives) เป็นการค้นหา ทางเลือกใหม่ แนวคิดใหม่ จัดระเบียบโลกทัศน์ใหม่ โดยคิดว่าจะต้องดีกว่าเดิม
5.บูรณาการวิธีคิดและพฤติกรรมใหม่ (Integration) โดยคิดว่าสิ่งนั้นถูกต้องและสมเหตุสมผล
การตัดสินใจ (decision-making)
(เกียติกำจร กุศล และคณะ, 2565)
เป็นการเลือกแนวทางที่ดีที่สุดมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา 🌻
ลักษณะของการตัดสินใจ 3 ลักษณะ 🪐
1.ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Decision) ตัดสินใจเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน
2.ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (Management Decision) ตัดสินในเพื่อการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร
3.การตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (Operational Decisions) ตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำในหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
🌳
1.ช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยลงต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
2.ช่วยในการบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.ช่วยให้งานสามารถดำเนินไปได้ไม่ล่าช้า
4.ช่วยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมีการยับยั้งคิดหรือพิจารณา
องค์ประกอบของการตัดสินใจเชิงบริหาร 🌈
1.ผู้นำทำการตัดสินใจ
2.ประเด็นปัญหาเรื่องราวปัญหาหรือเป้าหมายที่ต้องการทำการตัดสินใจ
3.เวลา
4.ทางเลือกในการตัดสินใจ
5.สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม
รูปแบบของการตัดสินใจ ✨
1.การตัดสินใจที่ได้เตรียมการล่วงหน้า
2.การตัดสินใจที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า
แรงจูงใจ ( motivation )
เป็นกระบวนการที่ใช้ในการกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลเเสดงพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ต้องการ
แรงจูงใจภายนอก
เป็นจากการใช้สิ่งเราภายนอก เช่น เงินเดือน รางวัล เป็นต้น
ความต้องการและความคาดหวัง พยาบาลวิชาชีพ Generation Y (สิริพิมพ์ ชูปาน, 2561)
พยาบาลวิชาชีพ Generation Y ต้องการค่าตอบแทน ในอัตราที่เป็นเหตุ เป็นธรรม และคุ้มกับค่าแรงที่งาน รวมท้ังสวัสดิการขององค์กรท้ังส่วนของตัวเองและ ครอบครัว นอกจากน้ีความก้าวหน้าในวิชาชีพยังเป็นสิ่งที่พยาบาลวิชาชีพGenerationYพิจารณาตัดสินใจในการปฏิบัติงานเพื่อคงอยู่ในองค์กร
ตารางการปฏิบัติงานท่ีชัดเจนยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้
ภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีการใช้เทคโนโลยีทั้งในด้านการติดต่อสื่อสาร วัสดุอุปกรณ์ หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
แรงจูงใจภายใน
การใช้เเรงจูงใจที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลเอง เช่น ต้องการอำนาจ ต้องการชื่อเสียง เป็นต้น
ความต้องการและความคาดหวัง พยาบาลวิชาชีพ Generation Y (สิริพิมพ์ ชูปาน, 2561)
ความต้องการการยอมรับนับถือ พยาบาลวิชาชีพ Generation Y ต้องการให้ทุกคนเคารพใน ความเป็นบุคคลของตนเอง รวมทั้งต้องการให้ผู้ร่วมวิชาชีพหรือทีมสหสาขาวิชาชีพยอมรับและให้เกียรติในฐานะผู้ร่วมงาน
ต้องการเข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้หรือทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการจูงใจ
ความต้องการ
เเรงขับ เพื่อไปสู่เป้าหมาย
เป้าหมาย เป็นจุดปลายทางหรือจุดเป้าหมาย
ข้อดี
(สมบัติ อาริยาศาล ,2561)
ร่วมทำให้เกิดความร่วมใจในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ก่อให้เกิดความซื่อสัตย์ ภักดี ที่ผู้ปฏิบัติงานจะพึงมีต่อองค์การ
เสริมสร้างให้เกิดการปฏิบัติตามข้อบังคับระเบียบแบบแผน
ทำให้องค์การแข็งแกร่ง สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้
ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจองค์การ
ทักษะการสื่อสาร (Communication)
ทักษะการพูด
(บัณฑิกา จารุมาและพยอม ก้อนในเมือง,2563)
การใช้ท่าทางในการสื่อสาร
สีหน้า
แววตา
น้ำเสียง
การใช้คำพูดในการสื่อสาร
ดูข้อจำกัดในการสื่อสาร เช่น อายุ หน้าที่ ตำแหน่ง
คำเริ่มบทสนทนา คำลงท้ายของประโยค หรือลงท้ายบทสนทนา
ประโยชน์ของการสื่อสาร
ข้อมูลข่าวสารที่ดีสามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการบริหารครั้งต่อไปได้
ช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี ช่วยให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง สั่งการได้รวดเร็ว แม่นยํา ช่วย ควบคุมงานให้เกิดผลดี เกิดเอกภาพในสายงาน
เกิดความสามคั คีในหมู่คณะ ผู้ร่วมงานมีขวัญกําลังใจในการทํางาน
มีความเข้าใจได้ตรงกัน เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะ
รูปแบบการสื่อสาร
รูปแบบเส้นตรง (Chain) ในแนวดิ่ง (Vertical) แบบบนลงล่าง (Top down) ลักษณะการสั่งการ หรือจากล่างขึ้นบน (Bottom Up) เป็นการนําเสนอผู้มีอํานาจ หรือแนวระนาบ (Horizontal ) เป็นการแจ้ง ข้อมูลข่าวสารในระดับเดียวกัน
2.รูปแบบวงล้อ (Wheel) เป็นการสื่อสารกระจายรอบทิศ
รูปแบบวงกลม (Circle) เป็นการสื่อสารสิ่งที่ต้องการให้รู้กันทั่วไป
รูปแบบทุกช่องทาง (All Channel) สามารถติดต่อกันได้ทุกมิติ
ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ต้องเข้าใจได้ เชื่อถือได้ ยอมรับได้และปฏิบัติได้ และต้องมองในเรื่องของ ความจริงใจ เชื่อมั่นระหว่างกัน มีระบบการสื่อสารที่ดีทั่วทั้งองค์กร มีช่องทางการสื่อสารที่ทำได้สะดวกทั้ง 2 ทาง
ทักษะ ของหัวหน้าวอร์ดนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรในหอผู้ป่วย และให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (จิราภรณ์ รัตติกาลสุขะ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี ,2557)
พัฒนาตนให้มีความรู้ บริหารตนสู่ความสมดุล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย
1.1) เรียนรู้จากรุ่นพี่ ประสบการณ์ท่ีมี เก็บสิ่งดี ๆ มาพัฒนา
1.2) ไม่หยุดการค้นคว้า หาเวลา ศึกษาอย่างต่อเนื่อ
และ
1.3) แบ่งให้เวลากับงาน พอกลับบ้านแยกงานจาก ชีวิตส่วนตัว
ลูกน้องต้องสนับสนุน สร้างต้นทุนการทำงาน ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย
2.1) สนับสนุนให้สร้างงาน เพิ่มความ เชี่ยวชาญสู่การเป็นวิทยากร
2.2) ส่งเสริมความสามารถ สร้างคน สร้างโอกาสให้เรียนต่อ
2.3) รับฟังปัญหา คอยเป็นที่ปรึกษา และแก้ปัญหาเวลาติดขัด
2.4) สร้างบรรยากาศการทำงานเหมือนเป็นบ้านที่สองของทุกคน
2.5) มอบหมายงานตามความ สามารถ เปิดโอกาสตัดสินใจได้เต็มที่
โครงการต้องสร้างสรรค์ บริหารงานอย่างจริงใจ ไม่เห็นแก่ใคร แต่ใช้ตามหลักการ ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 3.1) พัฒนาโครงการ ตอบสนองงานตามนโยบาย นำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
3.2) บริหารด้วยความจริงใจ ใช้หลักความยุติธรรม มีธรรมะในการทำงาน
3.3) มีความสามารถ บริหารคนได้ บริหารงานดี มีภาวะผู้นำ
3.4) ทุ่มให้งานอย่างเต็มที่ มีท้อใจบ้าง แต่ไม่ปล่อยวาง ยังมุ่งมั่นทำงานต่อไป