Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น" - Coggle Diagram
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น"
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่ง มีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกคนหนึ่ง นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการ อีกด้วย และลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม และหากลูกจ้างมิได้ทำละเมิดก็ไม่มี ประเด็นให้ต้องพิจารณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้อง อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหากลูกจ้าง ได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การที่นายจ้างยังหาต้องรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้างหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ต่อไปว่าการกระทำละเมิดนั้น ได้เกิดในทางการที่นายจ้าง นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ไม่ว่าลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไร แม้การละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ และไม่ว่า การละเมิดนั้นจะก่อขึ้นแก่ผู้ใด ถ้าหากมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วก็ไม่ต้องร่วมรับผิด
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงานที่จ้างเป็นอย่างไรเสียก่อน แล้วจึงจะได้พิจารณา กันต่อไปว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่
เช่น ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหาย โดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด
กรณีที่ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน ในกรณีนี้ถือว่าลูกจ้างปฏิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่ เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้น อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้อง รับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
เนื่องจากค่าสินไหมทดแทนที่นายจ้างใช้ให้ผู้เสียหายไปเป็นหนี้เงินซึ่งลูกจ้างต้องใช้คืน เมื่อนายจ้าง ทวงถามให้ลูกจ้างชำระแล้วหากลูกจ้างไม่ชำระก็ถือเป็นการผิดนัดตามมาตรา 204 นายจ้างย่อมมีสิทธิเรียก ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ลูกจ้างผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จตามมาตรา 224
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
มาตรา 797 อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิด ในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
กิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการ เพราะตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการ จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ
ความรับผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตาม หน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน ฉะนั้น ในเบื้องแรกจึงต้องทราบขอบเขตของ การเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไร ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการ ได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป
เช่น จ้างคนขับรถมาส่งให้แก่ตัวการ เป็นต้น แต่ตัวแทนไม่มีอำนาจที่จะเอารถยนต์นั้นไปโอนขายได้อีกต่อไป เว้นแต่เหตุฉุกเฉินเพื่อป้องการมิให้ตัวการเสียหาย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย” หาได้ใช้คำว่า “กระทำละเมิด” หรือ “ละเมิด” โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิด เพราะได้มีส่วนผิด จึงเป็นอีกข้อหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
การจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ตัวอย่างของการจ้างทำของ เช่น นายดำสั่งให้นายแดงต่อโต๊ะ
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง คือ จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็น ผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด ผู้จ้างมีความผิดในการเลือกผู้รับจ้าง
เช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนา จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดย สุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่อง ในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิดที่ เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด เพราะเป็นเรื่องความบกพร่องในการควบคุมดูแล
ตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดที่ ผู้ไร้ความสามารถไปทำความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อบุคคลภายนอกตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตาม มาตรา 420 ถ้าหากไม่เป็นการละเมิดผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 429
แต่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลที่มีหน้าที่ดูแลนั้นอาจต้องรับผิดฐานละเมิด เป็นส่วนตัวโดยการกระทำผิดตามมาตรา 420 เพราะการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแลเป็นเหตุให้ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตนั้นไปทำความเสียหายแก่บุคคลอื่นอีกด้วยก็ได้
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว หากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล
เช่น จ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เด็กอยู่กับบิดามารดา เห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดา หาได้อยู่กับครูพิเศษนั้นไม่
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบ ให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบ ให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
ฎ. 62/2522 เด็กหนีจากบ้านไปตั้งแต่อายุ 12 ปี แม้ถูกล่ามโซ่ไว้ก็ยังหนีจนอายุ 18 ปี ไปรับจ้างขับรถยนต์ บิดามารดาใช้ความระวังดูแลอย่างดีแล้ว นอกเหนืออำนาจของบิดามารดาจะระวังได้ บิดามารดาไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่บุตรขับรถชนผู้อื่นโดยประมาท
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคล ภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้