Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับภัยคุกคามทางไซ…
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค และ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับภัยคุกคามทางไซเบอร์
WHAT 😵❓
องค์กรผู้บริโภค 💸
โดยจะต้องเป็นองค์กรที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคคล ธรรมดาตั้งแต่สิบคนขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่แสวงหากำไร ไม่ว่าการรวมตัวจัดตั้งนั้นจะจัดตั้งเป็นรูปแบบใด และจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม
กำหนดลักษณะขององค์กรของผู้บริโภค โดยจะต้องเป็นองค์กรที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นบุคคล ธรรมดาตั้งแต่สิบคนขึ้นไปรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและไม่แสวงหากำไร ไม่ว่าการรวมตัวจัดตั้งนั้นจะจัดตั้งเป็นรูปแบบใด และจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม
การรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ จะแบ่งเกณฑ์พิจารณาเป็น 3 ระดับ⚠️
ระดับไม่ร้ายแรง หมายถึงมีความเสี่ยงอย่างมีนัยยะสำคัญจนถึงทำให้โครงสร้างพื้นฐานและบริการของภาครัฐด้อยประสิทธิภาพ
ระดับร้ายแรง หมายถึงภัยคุกคามที่โจมตียังระบบคอมพิวเตอร์อันทำให้โครงสร้างสารสนเทศได้รับความเสียหายจนไม่อาจใช้การได้ ซึ่งกระทบทั้งทั้งบริการของรัฐ ความมั่นคง ไปจนถึงการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ระดับวิกฤติ หมายถึงภัยคุกคามที่ส่งผลต่อโครงสร้างสำคัญเป็นวงกว้าง ทำให้ล้มเหลวทั้งระบบจนรัฐไม่สามารถควบคุมการทำงานส่วนกลางของระบบคอมพิวเตอร์ได้ หรือเป็นภัยคุกคามที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐหรือทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน
มาตราการทางไซเบอร์ 📖
มาตราการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
มาตราการตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์
มาตราการเผชิญเหตุเมื่อมีการตรวจพบภัยคุกคามทางไซเบอร์
มาตราการรักษาและฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูล คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ล่วงรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูล ของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่บุคคลใดผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับ หรือท้ังจำทั้งปรับ
ใครรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของผู้ใช้บริการ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลน้ันต่อผู้หนึ่งผู้ใดโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางสารสนเทศใดไม่รายงานเหตุภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ส่งข้อมูลให้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีเหตุอันสมควร แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของ กกม. โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท นับแต่วันที่ครบกาหนดระยะเวลาที่ กกม. ออกคำสั่งให้ปฏิบัติจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของ กกม. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติการตามคาสั่งของ กกม. โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำ ความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือ กระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษ ตามที่บัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
พรบ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ 🕵🏻♂️💻
มาตราการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันและรับมือ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
การแก้ไขปัญหาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยใช้บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบ โปรแกรม หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ใดๆที่ดำเนินการโดยมิชอบโดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
WHERE 🏠❓
พรบ.ไซเบอร์ 💻
หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศนั้นๆ
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)และ ประสานการปฏิบัติงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน
พรบ.ผู้บริโภค 🧾
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
WHEN 🕐❓
พ.ร.บ. เมื่อได้รับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 🖥
ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤต
ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ซึ่งอยู่ในระดับร้ายแรง
เมื่อปรากฏแก่ กกม. ว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง
ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบสารสนเทศ ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ
เมื่อมีความจำเป็นเพื่อการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
ในการรับมือและบรรเทาความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง
ในกรณีที่เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วน และเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤต
ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 📉
ในกรณีที่ผู้กระทำการโฆษณาอ้างอิงรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด แล้วต้องพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นไปตามที่อ้างอิง
ผู้กระทำการโฆษณาใช้ข้อความในการโฆษณาที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
ในกรณีที่สินค้าหรือบริการอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค (ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งเตือนภัยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เรียกคืนสินค้า ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำสินค้าออกขาย)
มีผู้ขายสินค้าไม่มีฉลากหรือฉลากไม่ถูกต้อง
มีผู้เจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เช่น แหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ สาระสำคัญอื่นๆหรือใช้ฉลากท่ีมีข้อความอันเป็นเท็จ
มีผู้เจตนาฟ้องร้องเพื่อกลั่นแกล้งผู้ประกอบธุรกิจคนอื่นๆให้ได้รับความเสียหาย
มีผู้เปิดเผยข้อเท็จจริงเก่ียวกับกิจการของผู้ประกอบธุรกิจโดยผู้ประกอบธุรกิจจะพึงสงวนไว้ ไม่เปิดเผย
มีผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย สุขภาพ จิตใจ อนามัยหรือทรัพย์สิน
WHY 🤔❓
พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องเมื่อได้รับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 📁
สร้างมาตรการและกลไกเพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยง จากภัยคุกคามทางไซเบอร์
สร้างมาตรการในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสาคัญทางสารสนเทศของประเทศ
ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
การพัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน
การสร้างความตระหนักและความรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค 💵
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
เพื่อป้องกันหรือทำให้ความเสี่ยงต่ออันตรายอันเนื่องมาจากสินค้าที่ขายหรือสินค้าที่นำออกให้บริการ
HOW 🧐❓
ผู้บริโภค👤
ผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการ และการบริการที่ดี เช่นการได้รับข้อสัญญาที่ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้
สิทธิที่ต้องได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูก
เอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยค่าเสียหายจากการที่ผู้ประกอบการละเมิดสิทธิข้างต้น
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องสำหรับสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณาสินค้าตามความเป็นจริงและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ผู้ประกอบการ🕴
ผู้ประกอบการต้องโฆษณาตามความเป็นจริงตามสินค้า ไม่เช่นนั้นคณะกรรมการจะออกคำสั่งระงับการโฆษณาชั่วคราวจนกว่าจะทราบผลการพิสูจน์ได้
ผู้ประการสามารถยื่นคำร้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของตัวเองได้ว่าถูกกลั่นแกล้งก่อให้เกิดความเสียหายจากคณะหรือสมาชิกที่ระบุไว้ได้
ผู้ประกอบการต้องนำสินค้าที่ได้รับอนุญาตมาจัดจำหน่ายให้ผู้บริโภค เพื่อป้องกันไม่ให้
สินค้านั้นหมดสิ้นไป หากมีกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสินค้าหรือบริการใดอาจเป็นสินค้าหรือบริการที่เป็นอันตราย คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยอาจออกคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการนั้นได้ หากไม่ผ่านต้องห้ามจำหน่ายและผลิตสินค้าชิ้นนั้น และจัดเก็บสินค้านั้นคืน ทั้งจากผู้ขาย
ผู้ประกอบการจะโดนยื่นคำร้องให้ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือโฆษณาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ผู้ประกอบการแจ้งปิดบริการ ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคได้รู้ โดยการปิดประกาศหรือโฆษณาข่าวสารให้กระทำต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ 💻 ‼❌
วิเคราะห์และตรวจจับสถานการณ์ ประเมินผลกระทบและความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
กำหนดระดับของภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมวิธีป้องกัน รับมือ ประเมิน ปราบปราม ระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์
บังคับใช้เฉพาะกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure : CII)
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องคำนึงถึงการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน ที่ต้องสอดคล้องกับ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายและแบบแผนที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
WHO 👤❓
ผู้เกี่ยวข้องกับพรบ.ไซเบอร์ 🤝💻
พนักงงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
เรียกโดยย่อว่า “กมช.” หรือ National Cyber Security Committee (NCSC)
เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
หน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศต่างๆ หรือที่เรียกว่า หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure : CII)
หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลการดำเนินกิจการของหน่วยงานรัฐ
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามราชบัญญัตินี้
พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค✨
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 🎩
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
ภาคประชาชน
ภาคผู้ประกอบธุรกิจ
ภาควิชาการ
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ปลัดกระทรวงมหาดไทย