Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
"นายจ้าง" "ลูกจ้าง" หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. ลักษณะ 6 ตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586
มาตรา 575 มีความว่า อ่านว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
คำว่านายจ้างลูกจ้างตามสัญญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึงหมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575 มิใช่สัญญาจ้างทำของดังบัญญัติไว้ในมาตรา 587
อุทาหรณ์
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทร่วมการกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิดนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ถ้าลูกจ้างปฏิบัติการโดยมีเจตนาจูงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้เนื่องจากการทะเลาะวิวาทซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างแล้วก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้างความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฏิบัติตามหน้าที่
การที่ลูกจ้างได้กระทำไปนั้นต้องเป็นการปฏิบัติให้งานลุล่วงไป และเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานนั้นมิใช่เป็นแต่เพียงเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ลูกจ้างกำลังปฏิบัติงานที่จ้างอยู่เท่านั้น
อุทาหรณ์
1.ก. จ้าง ข.เป็นลูกจ้างไว้คอยรับใช้ทำงานในบ้านเรือนตลอดจนทำความสะอาดต่างๆ เช่น ซักรีด กวาดถูบ้าน ข.ซักผ้าเสร็จแล้ว เทน้ำที่ใช้ซักผ้าเข้าไปในบริเวณบ้านของ ค. ที่อยู่ข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจูงใจหรือประมาทเลินเล่อ ย่อมถือว่าเป็นเหตุที่เกิดในทางการที่จ้าง ก.ต้องรับผิดในการกระทำของ ข. แต่เมื่อว่างงาน ข.เกิดไปรับจ้าง ง.เพื่อนบ้านของ ก. ซักผ้าแล้วโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้เทน้ำที่ใช้ซักผ้าทิ้งลงไปในบริเวณบ้านของ ค. เช่นเดียวกัน ดังนี้ ก. ก็ไม่ต้องรับผิดในการกระทำของ ข. แต่ ง.นายจ้างต้องรับผิดต่อ ค.
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน
แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้นถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
เพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้นอาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วยจนเกิดชนคนข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม
การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นแต่เพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
อุทาหรณ์
ฎ.1169 - 1170/2509 การที่นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานให้แก่ตน หากลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งหรือระเบียบแต่ยังปฏิบัติงานของนายจ้างอยู่ นายจ้างจะอ้างคำสั่งหรือระเบียบภายในมาต่อสู้บุคคลภายนอกหาได้ไม่ นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิด
ฎ.301/2522 ลูกจ้างขับรถกลับจากงาน นำรถเข้าตรวจสภาพแล้วนำรถขับไปบ้านเพื่อกลับมารับงานในวันรุ่งขึ้น ฝ่าฝืนระเบียบที่ไม่ให้นำรถออกไปอีกนอกจากได้รับอนุญาต ลูกจ้างขับรถออกไปแล้วชนรถของโจทก์ ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยตรงใจ
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า
ลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีเจตนาปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหาลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง และมิใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้าง หรือในการกระทำละเมิดโดยจูงใจนั้นเน้นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัว นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
อุทาหรณ์
ฎ.2499/2524 การที่นายจ้างมอบอาวุธปืนให้ลูกจ้างไปใช้ในการอยู่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้าง และลูกจ้างใช้ปืนนั้นลอบไปยิงผู้เสียหายในขณะที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อย่างเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่านายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ด้วยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย เมื่อนายจ้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้ มาตรา 229 (3) และ มาตรา 426
อุทาหรณ์
ฎ.648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างได้เบี้ยไม่ได้
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
ด้วยเหตุที่ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้างจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน
มาตรา 427 ถึงบัญญัติให้นำมาตรา 425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลมเพราะความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนมีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
มาตรา 797 บัญญัติว่าอันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกตัวการและตกลงจะทำการดังนั้น
อุทาหรณ์
ฎ.1049/2505 มารดาใช้ให้บุตรเป็นตัวแทนในการเดินรถขนส่งบนโดยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดาในการนี้มารดาให้บุตรขับรถยนต์ของมารดาด้วยบุตรขับรถชนผู้เสียหายโดยละเมิดดังนี้มิใช่เป็นการที่มารดาใช้ให้บุตรขับรถเท่านั้นแต่เป็นการมอบหมายให้บุตรเป็นตัวแทนในการรับขนส่งมารดาต้องรับผิดร่วมกับบุตรในการที่บุตรทั้งละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนนั้นด้วยตามมาตรา 427
ความรับผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เบิกขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในทานที่ตัวแทนได้ทั้งการเป็นตัวแทน
ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการย่อมจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ทุนนั้นสำเร็จลุล่วงไป (มาตรา 800)
อุทาหรณ์
ก. ตั้ง ข.เป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่งของ ก. ซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมาด ข.หลอกลวง ค.ผู้ซท้อโดยพาไปดูที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมบ่อเลย และเป็นของบุคคลตามโฉนดของ ก. ค.ตกลงรับซื้อโดยคิดว่าเป็นที่ดินของ ก. ในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของ ก. ก.ตัวการต้องรับผิดต่อ ค. ร่วมกับ ข. ด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น
มีเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ผู้ว่าจ้างได้กระทำละเมิดด้วยแล้วก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเองถ้าหากเป็นผู้ผิดแล้วจึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิดแต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิดซึ่งเห็นได้ชัดว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
3.โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ช่วยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้วจึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
2.2.1ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด
อุทาหรณ์
ฎ.940/2501 จำเลยจ้างผู้รับเหมาตอกเสาเข็มในการปลูกสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของจำเลยกว่า 100 ต้นๆ 1 ยาว 16-17 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรโดยใช้เครื่องกดลงไปแล้วใช้ตุ้มเหล็กต่อเป็นผลให้ดาดฟ้าตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินติดต่อกันราวรั้งสังกะสีเสียหาย ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
2.2.2 ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเองแต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
2.2.3 ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
คือการจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
อุทาหรณ์
ฎ.1289/2522 จำเลยจ้างเหมาต่อเติมอาคารลูกจ้างของผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำโดยประมาทเลินเด้อปล่อยให้เศษปูนตกลงบนหลังคาและท่อน้ำฝนล้นร่างเปียกหนังสือพิมพ์ที่คล้ายในร้านของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการงานที่สั่งให้ทำในคำสั่งที่ให้ไว้หรือในการเลือกผู้รับจ้างจำเลยไม่ต้องรับผิด
3.ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่าบุคคลใดแม้ในความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้น
การที่จะถือว่าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตได้ทำละเมิดเลยซึ่งหาความจริงหามีไม่
เช่น ในกรณีที่เด็กแฟนบอกซึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสาปัสสาวะลดบุคคลอื่น จะถึงว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของเด็กนั้นหาได้ไม่ เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิด บิดามารดาหรือพวกอนุบาลก็ไม่ต้องรับผิด
อุทาหรณ์เกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ฎ.1315/2520 บิดาเคยใช้บทขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว บิดากับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่จักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบทตามมาตรา 429
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 บัญญัติว่าครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดีชั่วครั้งชั่วคราวก็ดีจำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตนถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
อุทาหรณ์กรณีเกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลที่ทำอยู่
ฎ.356/2511 ในตอนเช้าครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอากระบอกพูดมาเล่นกันตัวเองจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กมิให้เล่นต่อไปแต่เด็กได้ใช้ผู้หญิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
อุทาหรณ์
ฎ.9164/2593 การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 นำกุญแจรถยนต์จิ๊บไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก็บเงินในร้านขายของของเจ้าในที่ 3 ซึ่งไม่ได้ใส่กุญแจในขณะที่จำเลยที่ 3 ขายของจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 แอบหยิบเอากุญแจไปใช้ขับรถจิ๊บโดยประมาณชนรถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดต่อโจทย์