Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 วางหลักว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง ที่วางหลักไว้ในมาตรา425 หมายถึง สัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา575
มาตรา575 วางหลักว่า "อันว่าจ้างแรงงานั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงาานให้
ซึ่งในสัญญาจ้างแรงงานความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกคนหนึ่ง นายจ้างมีอำนาจสั่งให้,ุกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการและลูกจ้างต้องปฎิบัติตามคำสั่งเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
การที่นายจ้างต้องรับผิดต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน
กรณีที่ลูกจ้างปฎิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริง แม้ลูกจ้างได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดละเมิด ก็ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เช่นขณะขัลรถดื่มสุราไปด้วย จนชนคนข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ
กรณีนายจ้างมีคำสั่งห้าม
นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง เป็นเพียงวิธีปฎิบัติสิ่งที่ลลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
ฎ.1089/2519 ลูกจ้างขนปี๊บหน่อไม้จากฉางของนายจ้างบรรทุกข์รถยนต์ตามคำสั่งของนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อจุดบุหรี่สูบ หัวไม้ขีดไฟที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นและปอในฉางทำให้เกิดเพลิงไหม้ฉางและลุกลามไปไหม้บ้านโจทก์ ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
การกระทำโดยจงใจเป็นเรื่องที่ผู้กระทำเล็งเห็นได้ว่าการกระทำของตนถ้าทำลงไปแล้วจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
การกระทำโดยจงใจบางที่ไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานเพื่อนายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่ลูกจ้างกระทำไปเพื่อประโยชน์หรือความเจ็บแค้นส่วนตัว ซึ่งยากที่จะชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำโดยส่วนตัวหรือเพื่อนายจ้าง
การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า ลูกจ้างได้กระทำโดยมีเจตนาปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
ฎ.10302/2553 หลังเลิกงานจำเลยที่1 ลูกจ้างขับรถไปเก็บที่บ้านด้วยความยินยอมของจำเลยที่2 นายจ้าง เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาและนำรถกลับมาทำงานวันรุ่งขึ้นแล้วเกิดเหตุขึ้น ถือว่าเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 วางหลักว่า "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลลูกจ้างนั้น
การละเมิดเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้วนั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายก็ชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยให้ลูกจ้างชดใช้ตนได้
ฎ.648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
มาตรา797 วางหลักว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น"
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดีวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง ต้องพิเคราะห์ดูว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกัน
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดยอนุโลม
ฎ.2385/2518 เจ้าของเรือขับเรือไม่เป็น จึงให้ ก. ขับเรือไปรับขบวนผ้าป่า เจ้าของเรือนั่งไปด้วย ดังนี้ ก.เป็นตัวแทน เจ้าของเรือต้องรับผิดร่วมกับก. ที่ขับเรือชนโจทก์เสียหาย
ฎ.125/2506 เพียงแต่เจ้าของเรือยนต์นั่งไปกับเรือและอนุญาตให้ ล. ขับเรือ ไม่ทำให้เจ้าของเรือต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ล. ขับเรือชนผู้อื่น (ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่า ล. ไม่ใช่ตัวแทนของเจ้าของเรือ
ความรับผิดของตัวการ
ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการได้เพียงสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ตัวการได้รับมอบหมายแก่ตนให้สำเร็จ
ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ต้องสันนิฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะทำการใดๆ เช่นอย่างวิญญูชนพึงกระทำก็มีอำนาจที่จะกระทำได้
ตัวอย่างเช่น ก. ตั้ง ข. เป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่งของ ก. ซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมาก ข. หลอกลวง ค. ผู้ซื้อโโยพาไปที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมบ่อเลย และเป็นของบุคคลตามโฉนดของ ก. ค. ตกลงรับซื้อโดยคิด่าเป็นที่ดินของ ก. ในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของ ก. ก.ตัวการต้องรับผิดต่อ ค. ร่วมกับ ข. ด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปแล้ว ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 วางหลักว่า "ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง"
ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชา
ex.สร้างบ้าน
เหตุผลที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา428
1.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมมาตรา428 เป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา420
2.ควาามรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
3.เมื่อผู้ว่าจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1.ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนเป็นการละเมิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
การงานที่สั่งให้ทำไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหาย คำสั่งที่ว่านั้นเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น ้เช่นแนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
เลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้าง คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังแก่สภาพของงานที่จ้างให้ทำ เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่น จ้างสร้างบ้านาทำด้วยไม้ แต่ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาทำให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 429 วางหลักว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น"
วิกลจริตถ้ากระทำโดยรู้สำนึก=ทำละเมิด
วิกลจริตกระทำโดยไม่รุ้สำนึก=ไม่ละเมิด
เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ไม่ต้องรับผิด
"บุคคลไร้ความสามารถ" หมายถึง ผู้เยาว์และบุคลวิกลจริตไม่รวมถึงผู้เสมือนไร้ความสามรถ
"ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามมาตรา19
"บุคคลวิกลจริต" หมายถึงบุคคลมีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ หรือไม่สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี
"บิดามารดา" หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์
"ผู้อนุบาล" หมายถึง
คคลซึ่งศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรา420 คือมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ มีความเคลื่อนไวในอริยาบทโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหว และจะต้องรู้สำนึกถึลผลเสียหายที่เกิดจาการกระทำของตน
เด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สภาพการกระทำของตนจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ แต่ถ้ารู้ว่าได้ทำอะไรลงไปแต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือยับยั้งไม่ได้อาจะเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ฎ.934/2517 โจทก์เป็นเด็กไปเล่นที่บ้านจำเลย ถูกบุตรผู้เยาว์ของจำเลยยิงด้วยหังสติ๊กนัยน์ตาบอดบุตรของจำเลยยิงเล่นอยู่แต่อยู่ภายในบริเวณบ้านโดยยิงทางบนเรือนเพียงครั้งเดียวก็ถูกโจทก์ ถือว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดารหรือผู้อนุบาล
บิดารมารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้ครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 วางหลักว่า "ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
บุคคลที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามรถตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู็ช่วยเหลือในการดูแล
มาตรา430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามรถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
ครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถใช้ค่าสินไไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามรถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้เช่นเดียวกับกรณีมาตรา429
ฎ.1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมคววรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว บิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา429