Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
บทที่ 1 หน้าที่ในการชำระหนี้
1.1 หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุแห่งหนี้
หนี้กระทำการ
ตัวอย่างเช่น นายแดงรับจ้างตัดผมให้แก่นายดำ นายแดงจึงเป็นลูกหนี้ต้องทำการตัดผมให้แก่นายดำ
วัตถุแห่งหนี้คือการตัดผม ซึ่งเป็นหนี้กระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการ
ตัวอย่างเช่น นางหญิงทำสัญญากับนายกล้าว่าจะไม่เปิดร้านอาหารเเข่งขันกับนายกล้าเพราะนายกล้าเคยสอนทำอาหารให้ ดังนั้นนางหญิงเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องไม่มาเปิดร้านแข่งขันกับนายกล้า
วัตถุแห่งหนี้คือ การงดเว้นกระทำการเปิดร้านอาหาร
(ม.194)
หนี้ส่งมอบทรัพย์
ตัวอย่างเช่น นายดำทำสัญญาซื้อเครื่องตัดหญ้ากับนายขาว นายขาวเป็นลูกหนี้ที่ต้องกระทำการส่งมอบเครื่องตัดหญ้าให้แก่นายดำ
วัตถุแห่งหนี้คือ การส่งมอบเครื่องตัดหญ้า
(ม.195)
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
สภาพของนิติกรรมหรือตามเจตนาไม่อาจกำหนดได้ว่าทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ต้องเป็นชนิดใดแล้วมาตรา ๑๙๕ กำหนดให้ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ประเภทในชนิดปานกลาง
" เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้ได่ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง..."
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์ที่ต้องใช้ชำระหนี้ เช่น ตกลงซื้อขายควายเผือกหนึ่งตัว หนี้ของผู้ซื้อคือชำระราคาควายให้แก่ผู้ขาย และหนี้ของผู้ขายคือส่งมอบควายให้แก่ผู้ซื้อ การชำระราคาและการส่งมอบควายเป็นวัตถุแห่งหนี้ ส่วนเงินที่จะชำระและควายที่ซื้อขายกันนั้นคือทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ วัตถุแห่งหน้ีได้และไม่จำ เป็นตอ้งเป็นทรัพยเ์ฉพาะสิ่ง เช่น ซ้ือขายรถยนต์ดังนี้รถยนต์คือวตัถุแห่งหนี้
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
มาตรา ๑๙๕ วรรคสองกำหนดว่า ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนพึงจะต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือ ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป
วิธีการตามกฎหมายที่จะทำให้ตัวทรัพย์ที่ยังไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจงให้เป็นทรัพย์เฉพาะเจาะจงที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ที่แน่นอน หรือที่เรียกว่าเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งทำได้ ๒ วิธี คือ
-วิธีที่ ๑ ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนพึงจะต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการ หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ลูกหนี้ได้กระทำการต่างๆ อันเป็นหน้าที่ของตนในการกระทำการส่งมอบทรัพย์ทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่เพียงการรับการชำระหนี้ของเจ้าหนี้เท่านั้น เช่น สัญญามีข้อตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสาร ๑ กระสอบถึงบ้านของผู้ซื้อ เช่นนี้ข้าวสารที่มีคัดแยกกระสอบออกมาหนึ่งกระสอบในร้านของผู้ขายแล้ว แต่ยังไม่นำข้าวสารกระสอบนั้นไปส่งมอบ ข้าวสารกระสอบนั้นยังไม่ถือเป็นทรัพย์ที่เป็นวัตถุแหน่งหนี้ตามสัญญาซื้อขาย
-วิธีที่ ๒ ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยืนยอมของเจ้าหนี้ คือ วิธีการทำตัวทรัพย์ที่ไม่แน่นนอนให้เป็นทรัพย์ที่วัตถุแห่งหนี้ที่แน่นอนด้ายการที่ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดตัวทรัพย์ที่จะส่งมอบด้วยเจ้าหนี้ได้ยินยอมแล้ว
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
กรณีหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้ได้ตั้งแต่เวลาที่มูลหนี้เกิดขึ้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ เพราะหนี้ที่เกิดขึ้นไม่มีข้อจำกัดของเงื่อนเวลา ดังที่มาตรา 194 รับรองสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ว่าด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้แล้ว
ตัวอย่างเช่น
นายดำกู้เงินนายแดงไป 1000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาคืนไว้และไม่สามาร๔อนุมานได้จากพฤติการณ์อย่างใดได้ว่ามีกำหนดคืนเมื่อใดแล้ว นายแดงย่อมมีสิทธิเรียกให้นายดำชำระหนี้คืนเงินเมื่อใดก็ได้
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่มีการกำหนดลงไว้นี้เป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่กำหนดไว้ชัดแน่นอนว่าลูกหนี้ต้องชำระหนี้เมื่อใด เช่น กำหนดตามวันเวลาปฏิทิน (วัน เดือน ปี ) หรือกำหนดชำระหนี้ภายในวันเวลาที่นับได้แน่นอนตามวันปฏิทิน
ตัวอย่างเช่น
นายไก่ กู้เงินนายไข่ ไป 1000 บาท สัญญาว่าจะใช้คืนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ผลคือ เมื่อถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 อันเป็นวันที่ถึงกไหนดชำระหนี้นายไก่ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้นายไข่ชำระหนี้ได้ หรือ สัญญาว่าจะชำระหนี้เงินกู้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ดังนี้เมื่อครบหนึ่งเดือนนับแต่ที่วันทำสัญญากู้เงิน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย
(มาตรา 203 วรรค 2) กำหนดเวลาที่กำหนดไว้นั้นจะถึงกำหนดเวลาเมื่อใด เนื่องจากกำหนดเวลาชำระหนี้เป้นเรื่องของเงื่อนเวลาเริ่มต้นซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้(มาตรา 192) ดังนั้นกรณีมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แม้จะชัดเจนว่าจะถึงกำหนดเวลานั้นเมื่อใด กฎหมายจึงไม่ให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้น แต่ฝ่ายลูกหนี้อาจจะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้
ตัวอย่างเช่น
สัญญากู้เงินมีข้อตกลงเพียงว่าให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนภายใน 15 วัน ข้อตกลงเช่นนี้ช่วงเวลา 15 วันจะเริ่มนับเมื่อใด
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สังสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ต้องอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงนี้เป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ไม่แน่นนอนชัดตามวันเวลาปฏิทิน เป็นกำหนดการชำระหนี้ที่ขึ้นกับข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ของมูลหนี้ที่เกิดขึ้น ว่าเมื่อมีข้อเท็จที่กำหนดเกิดขึ้นแล้วเมื่อใดเจ้าหนี้จึงเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้เมื่อนั้น
ตัวอย่างเช่น
สัญญายืมเครื่องเพชรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการยืมเครื่องเพชรว่าเพื่อใช้ในงานแฟชั่นโชว์แบบเสื้องานหนึ่ง แม้จะไม่ได้กำหนดเวลาแน่นนอนวันส่งคืนเป็นวันปฏิทินแต่ตามพฤติการณ์การยืมนี้พออนุมานได้ว่าเมื่อเสร็จงานแฟชั่นโชว์แบบเสื้อนั้นแล้ว ผู้ยืมต้องส่งมอบเครื่องเพชรคืน
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด(ลูกหนี้)
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว มีการเตือนของเจ้าหนี้ว่าหนี้ถึงกำหนดเวลาที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้แล้ว ถ้าลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ให้อีก จึงถือว่าลูกหนี้ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา ๒o๔ วรรคหนึ่ง
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
กรณีหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันปฏิทินเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามวันปฏิทินที่กำหนด ก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดทันทีเพราะกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันปฏิทินเป็นการกำหนดเวลาไว้เป็นที่แน่นนอนชัดเจนที่รู้ได้ว่าเป็นวันใดที่ต้องทำการชำระหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่จำเป็นต้องเตือนอีก ตามมาตรา ๒o๔ วรรคสอง
ตัวอย่างเช่น
สัญญายืมเงินมีข้อสัญญากำหนดว่าผู้ยืมจะส่งเงินคืนในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ หรืสัญญามีข้อตกลงว่าผู้ยืมจะใช้คืนเมื่อครบ ๒ เดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา ดังนี้เมื่อครบกำหนดตามสัญญาตามวันปฏิทิน ถ้าผู้ยืมไม่นำเงินมาคืน ผู้ยืมก็ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดโดยผู้ให้ยืมไม่ต้องเตือน
กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
ตอนท้ายของมาตรา ๒o๔ วรรคสอง ได้กำหนดถึง " ........กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ชำระหนี้ ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว" ในกรณีเช่นนี้ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระตามกำหนดที่ว่านั้น ก็ได้ชื่อว่าลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือนเหมือนกัน
ตัวอย่าง
นายไก่ให้นายไข่กู้เงินไป ๕oo บาท ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่มีข้อตกลงกันว่านายไก่ต้องการเงินคืนเมื่อใดนายไก่จะบอกกล่าวให้นายไข่รู้ล่วงหน้า ๓ วัน ดังนั้นหากข้อเท็จจริงในวันที่ ๑ มิถุนายน นายไก่แจ้งให้นายไข่ให้คืนเงิน นายไข่มีเวลา ๓ วันนับแต่วันที่นายไก่บอกกล่าว วันครบกำหนดเวลาชำระหนี้จึงเป็นวันแห่งปฏิทิน คือวันที่ ๔ มิถุนายน ถ้าไม่ชำระหนี้ภายในวันดังกล่าวก็ถือว่านายไข่เป็นลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องมีการเตือนจากเจ้าหนี้อีก
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ข้อยกเว้นที่ทำให้ลูกหนี้ยังไม่ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด
1.กรณีที่พฤติการณ์นั้นเกิดจากตัวลูกหนี้เอง แต่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจหลี่กเลี่ยงได้ เช่น หนี้กระทำการเมื่อลูกหนี้เจ็บป่วยขึ้นมาก็ไม่สามารถไปทำได้ เจ็บป่วยโดยกะทันหัน ที่สามารถอ้างพฤติการณ์นั้นเกิดจากตัวลูกหนี้เอง ที่จะปรับเข้ามาตรา ๒o๕ ได้ แต่ถ้าเป็นหนี้กระทำการส่งมอบทรัพย์ เป็นหนี้ที่สามารถใช้ให้คนอื่นไปชำระให้แทนได้จะอ้างไม่ได้
2.พฤติการณ์ที่เกิดจากบุคคลภายนอกหรือเป็นพฤติการณ์ภายนอกหรือพฤติการณ์ตามธรรมชาติ
3.พฤติการณ์ที่เกิดจากความผิดของเจ้าหนี้เอง หรือกรณี เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้หรือกรณีของเจ้าหนี้ผิดนัด ดังนี้ลูกหนี้อ้างมาตรา ๒o๕ ว่าการที่เจ้าหนี้ผิดนัดเองหรือที่เจ้าหนี้ผิดนัดเลยทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัดได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ให้เช่าเป็นผู้มาเก็บค่าเช่ามาตลอดตั้งแต่มีสัญญาเช่ากันมา เมื่อผู้ให้เช่า(เจ้าหนี้)ไม่มาเก็บค่าเช่าเองจะถือว่าผู้เช่า(ลูกหนี้)ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่ายังไม่ได้
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
มาตรา 217กำหนดว่า ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด
เป็นหลักการสำคัญของความรับผิดของการเป็นลูกหนี้ผิดนัดโดยเฉพาะกฎหมายวางหลักความรับผิดเพราะสาเหตุการผิดนัดของลูกหนี้อย่างเดียว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตาม ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณีที่เกิดหลังการผิดนัดจึงมีการเรียกว่าหลักความรับผิดของลูกหนี้ผิดนัดเป็นลักษณะของความรับผิดเคร่งครัด(strict liability) ความรับผิดตามมาตรานี้กำหนดความรับผิดแก่ลูกหนี้ผิดนัดที่หนักขึ้นกว่ากรณีความรับผิดของลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดนัด เพราะกฎหมายไม่ต้องพิจารณาให้ว่าความเสียหายเกิดจากความมผิดที่เกิดจงใจหรือประมาทเลินเล่อของลูกหนี้หรือไม่ ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการผิดนัดของตน เพราะการผิดนัดถือว่าเป็นการจงใจไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ที่เป็นฐานของความรับผิดตามมาตรา 217
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
มาตรา 216 กำหนดว่า ถ้าโดยเหตุผิดนัด การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้่หนี้ เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก้ได้
ผลทางกฎหมายตามมาตรา 216 คือ 1) เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับชำระหนี้ 2) เจ้าหนี้เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้นั้น
คือ เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดไม่รับชำระหนี้ และยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้นั้นได้อีกด้วย เนื่องจากกำหนดเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เช่น สั่งร้านดอกไม้ให้จัดส่งดอกไม้สำหรับวันไหว้ครู ถ้าร้านดอกไม้ทำให้ไม่ทันตามกำหนดเวลา มาส่งให้หลังวันไหว้ครูไปแล้ว เช่นนี้การส่งมอบดอกไม้ภายหลังวันไหว้ครู จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้ออีกต่อไป
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
ตามมาตรา ๒๒๔ วรรคสาม กำหนดว่า "....การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้ " กล่าวคือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียนค่าเสียหายอย่างอื่นเพิ่มเติมในกรณีที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความเสียหายอื่นอีก
ตัวอย่างเช่น
เจ้าหนี้อาจนำเงินที่ให้กู้ยืมไปลงทุนทางการค้าซึ่งได้ผลประโยชน์มากกว่าร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ลูกหนี้ผิดนัดอาจต้องรับผิดในความเสียหายมากกว่าอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามที่กฎหมายกำหนดถ้าเจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ถึงความเสียที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะลูกหนี้ต้องรับผิดต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากการผิดนัดของตน