Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการ กระทำของบุคคลอื่น
ต้องเข้าใจก่อนว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหรือไม่
นำมาตรา 428 มากล่าวไว้ในหน่วยว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นโดยเหตุที่ว่า มาตรา 428 นั้นแสดงว่าผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วย
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.กม.ได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นมิได้กระทำด้วยตนเอง ถ้าได้ทำละเมิดด้วยแล้ว ก็ไม่ใช่การรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่าความเสียหาย ไม่ได้ใช้ กระทำการละเมิด โดยความเสียหายที่เกิดไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้
3.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมือผู้ว่าจ้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอก
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
1.ความผิดการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างทำถนนเพื่อเข้าที่ตนเอง
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือ แม้การงานที่สั่งไม่เป็นการละเมิดแต่อาจสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ เป็นคำสั่งที่ไม่ใช่คำสั่งแต่เป็นคำแนะนำ
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้าง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ
หลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ผู้ว่าจ้างไม่ใช่ว่าจะรับผิดเสมอไป ถ้าไม่มีส่วนผิด แต่ถ้าผู้ว่าจ้างมีส่วนผิด ก็ต้องรับผิดด้วย
ex.เมื่อผู้ว่าจ้างมาจ้าง ผู้รับจ้างก็เอ าทรัพย์สินซึ่งรู้ว่าเป็นของผู้อื่นมาเป็นสัมภาระในการทำงานที่รับจ้าง แต่ผู้จ้างไม่รู้เห็น ผู้รับจ้าจึงรับผิดผู้เดียว
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
หากลูกจ้างให้คนอื่นทำแทน โดยหลักอำนาจการบังคับบัญชาของนายจ้างและการจ่ายสินจ้างแล้วก็จะเห็นได้ว่าคนอื่นที่มาทำแทนนั้นไม่ใช่ลูกจ้าง เพราะไม่มีการจ่ายสินจ้างให้บุคคลนั้น
-นายจ้างปฏิเสธได้ว่าคนทำแทนนั้นไม่ใช่ลูกจ้าง
-นายจ้างก็ต้องรับผิดในผลที่ละเมิดที่เกิดขึ้นโดยคนทำแทนเพราะถือว่าลูกจ้างที่ไปวานให้คนอื่นมาทำแทนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นมาทำแทนไม่ควบคุมดูแลบุคคลอื่นที่มาทำแทน ไม่ใช่รับผิดจากการที่บุคคลภายนอกทำละเมิด
ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง หลักนี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช้แก่การกระทำในทางการที่จ้าง แม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ
ex.แดงเป็นลูกจ้างของดำ ดำใช้ให้แดงขับรถยนต์ไปส่งของ เขียวลูกค้า ด้วยความไม่พอใจนายจ้างดำแกล้งขับรถตกหลุมบ่อ ทำให้รถเสียหายก็ดี หรือสิ่งของในรถของลูกหนี้เสียหายก็ดี ดำต้องร่วมต่อเขียวลูกค้า
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวการรับผิดชอบกับตัวแทนในผลละเมิด ซึ่งตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429
ex.เจ้าของรถยนต์ขับรถยนต์ไม่เป็น จึงให้แดง ขับเรือไปรับของ โดยเจ้าของรถยนต์นั่งไปด้วย ดังนี้แดงเป็นตัวแทน เจ้าของรถยนต์ต้องรับผิดร่วมกับแดงที่ขับรถยนต์ชนโจทย์เสียหาย
ลักษณะตัวการตัวแทน เหตุที่ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติของตัวแทน
มาตรา 427 จึงบัญญัติให้นำมาตรา 425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งแล ะเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
พึงสังเกตุถ้าไม่ใช่เป็นการตั้งตัวแทน เช่น วานให้คนรู้จักกันขับรถยนต์พาภริยาไปซื้อของ ดังนี้มิใช่ตัวแทนเพราะไม่ใช่เป็นกิจการที่ผู้รับวานทำแทนตัวต่อบุคคลที่สาม
ความรับผิดของนายจ้าง
นายจ้างกับลูกจ้างคือบุคคล 2 ฝ่าย ตามมาตรา 425 บังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ซึ่งได้ทำการละเมิดบุคคลภายนอก
โจทย์จะเลือกฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้าง หรือลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
สิทธิไล่เบี้ย
การให้จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างตามมาตรา 426
โดยเหตุละเมิดเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเพียงลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างทำละเมิดนั้น
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามรถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ ยังคงต้องรับผิดเพราะการละเมิดคือการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ ซึ่งผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตอาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม
มาตรา 429 กล่าวคือแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดที่ตนทำละเมิด
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ และเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามรถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มา่ตรา 430 มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุถคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว หากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่หรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
-ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ความรับผิดตามมาตรา 430 นี้ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 429 คือ 429 ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นความรับผิด แต่มาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ดูแล ถ้าไม่สืบผู้ดูแลไม่ต้องรับผิด
-สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์ หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให่แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช่