Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) - Coggle Diagram
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
(Zika virus disease)
Zika virus
ค้นพบครั้งแรกในลิง Rhesus ในป่า Zika ประเทศยูกันดา ในปีพ.ศ. 2490
มียุงลายเป็นแมลงนำโรค เช่น Aedes - Aedes aegypti, Aedes africanus, Aedes apicoargenteus, Aedes furcifer, Aedes luteocephalus and Aedes vitattus.
ระยะฟักตัว 3-12 วัน (เฉลี่ย 4-7 วัน) ในคน และ 10 วัน ในยุง
มีลิงเป็นแหล่งรังโรค
ปัจจุบันพบการระบาดในสามทวีป ได้แก่ ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา
การวินิจฉัย : viral culture, PCR, PRNT, (IgM มี cross reaction มาก กับ flavivirus ตัวอื่น จึงไม่นิยมใช้)
ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ microcephaly ในทารกแรกเกิด ที่มารดามีประวัติติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ที่ประเทศบราซิล โดยพบผู้ติดมากกว่า 1.5 ล้านคน พบ birth defect 3,000 คน ในปี 2015
สาเหตุ
Zika virus อยู่ในกลุ่มของ Flavivirus
ระยะฟักตัว
3 - 12 วัน โดยเฉลี่ย 4 - 7 วัน
พาหะนำโรค
ยุงลาย (Aedes aegypti)
การติดต่อ
การติดต่อที่สำคัญที่สุด คือ การถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด
การติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทาง Intrauterine และ Perinatal
ช่องทางอื่นๆ คือ ทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์การสัมผัสเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
ช่องทางอื่นๆ ที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี คือ Organ หรือ tissue
transplantation นมแม
ระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อ Zika virus ในแต่ละส่วนของร่างกาย
เลือด : 5 – 7 วัน
น้ำลาย : 5 – 7 วัน
ปัสสาวะ : < 30 วัน
น้ำอสุจิ : อย่างน้อย 2 เดือน
น้ำไขสันหลัง : ในช่วงแรกของผู้ที่มีอาการ meningoencephalitis
น้ำคร่ำ : ถึงคลอด
ทารกตายในครรภ์: พบในการผ่าศพทารก
น้ำนมแม่ : ติดเชื้อในช่วงคลอด
อาการ
อาการคล้ายกับโรคที่เกิดจากฟาวิไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีแมลง
เป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง
และโรคไข้เลือดออก
ผื่น ไข้ เยื่อบุตาอักเสบ
ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ
อาการป่วยจะปรากฏอยู่เพียง 4-5 วัน และมักจะมีอาการไม่เกิน
1 สัปดาห์
อาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลพบได้น้อย
อาการผิดปกติที่พบในทารก
ทารกศีรษะเล็ก
พบแคลเซียมเกาะในสมองทารก
ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์
ทารกตายในครรภ์
การมองเห็นผิดปกติ
สามารถแพร่เชื้อสู่เด็กในครรภ์ได้ในทุกไตรมาส
GBS (Guillain-Barre Syndrome)
เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเส้นประสาท โดยมีสาเหตุจากภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำให้แขน ขา อ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง และอาจมีอาการชาร่วม รวมทั้งมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า การกลืน การเคลื่อนไหวลูกตา และบางรายปรากฏอาการในสมองด้วย แต่กลุ่ม GBS ดังกล่าวยังมีสาเหตุอื่นๆได้
ความรุนแรงและการตอบสนองต่อการรักษา GBS
การรักษาด้วย IVIG จะได้ผลดีกว่าใน placebo
ต้องให้ใน 10 วันแรกหลังเริ่มมีอาการอ่อนแรง
ถึงแม้ได้IVIG แล้ว อาการยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆระยะหนึ่ง
และอาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
ใน GBS ทั่วๆไป การตอบสนองต่อ IVIG ประมาณ 2 ใน 3 ราย
แต่ในโรคซิกา มีแนวโน้มว่าการตอบสนองจะน้อยกว่านี้
ในสถานการณ์ที่ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด อัตราตายยังมีถึง 5%
การรักษา
ไม่มียารักษาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองการตรวจวินิจฉัยไวรัสซิกาทางห้องปฏิบัติการทำได้โดยการตรวจสารพันธุกรรมได้ 2 วิธี
In-house (US-CDC) protocol
Altona kit (RealStar Zika Virus RT-PCR Kit 1.0)
ในช่วง 5 วัน หลังเริ่มมีอาการป่วย เก็บ Serum หรือพลาสมาที่ใช้ EDTA เป็นสารกันเลือดแข็ง ปริมาตร 1-3 มิลลิลิตร และปัสสาวะ
ในช่วง 5-14 วัน หลังเริ่มมีอาการป่วยสามารถเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
หน่วยงานที่สามารถส่งตัวอย่าง เพื่อตรวจสารพันธุกรรมได้ ดังนี้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันบำราศนราดูร
การป้องกันควบคุมโรค
ด้านการสื่อสารความเสี่ยง
จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ และคำแนะนำต่างๆ เผยแพร่คำแนะนำในการป้องกันควบคุมโรค
การกำจัดลูกน้ำ
ใช้สารเคมีเป็นหลัก ร่วมกับวิธีอื่นๆตามความจำเป็น
ในช่วงแรกของการควบคุมโรค ต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของทรายฯ
(อย่างง่ายคือดูว่าใส่แล้วลูกน้ำตายเกือบหมดใน 1 ชั่วโมง)
หากพบว่าทรายฯ มีปัญหา ให้เปลี่ยนไปให้ทรายยี่ห้อเดียวกับ ศตม.
เนื่องจากผ่านการทดสอบคุณภาพมาแล้ว
ให้แน่ใจว่าทีมงานรู้วิธีคำนวณขนาดทรายในแต่ละภาชนะ
กรณีที่ใช้การคว่ำภาชนะ เหมาะกับภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ถ้าพบว่า
ยังต้องใช้อยู่ ต้องอธิบายเจ้าของบ้านว่าให้ทำยังไงต่อ
การเทลูกน้ำทิ้ง ต้องไม่เทใกล้คูระบายน้ำ
การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่
ใช้แบบสะพายหลังในจุดที่สำคัญ เช่น รัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วยยืนยัน หรือ PUI หรือที่ที่ผู้ป่วยเดินทางไปบ่อยๆ หลังเริ่มมีอาการ
กรณีพ่นหมอกควันต้องปิดประตูหน้าต่างก่อนพ่น
ให้มีการประชุมวางแผนร่วมกัน ระหว่างทีมพ่นและทีมสอบสวน/
ข้อมูล
การป้องกันการแพร่เชื้อในผู้ป่วยและการเฝ้าระวังเชิงรุก
แจกยาทากันยุงและพ่นกำจัดยุงตัวแก่
ในผู้ป่วย ผู้ที่มีผื่นอาการเข้าเกณฑ์ PUI ในระหว่างรอผลตรวจ
ทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ที่มีอาการไข้ในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
ในระหว่างรอสังเกตอาการว่าจะเข้านิยามฯ หรือไม่
การจัดระบบเพื่อติดตามผู้สัมผัส และหญิงตั้งครรภ์ในระยะที่อยู่ระหว่างการควบคุมโรค
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
ใช้ยากำจัดแมลง หรือ ยาทาป้องกันยุง
สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ที่สามารถ
คลุมผิวหนังและร่างกายได้
อาศัย และนอนในห้องที่มีมุ้งลวดประตู
และหน้าต่าง หรือนอนกางมุ้ง
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยทำความสะอาด การเทน้ำทิ้ง และขัดล้างแจกันหรือปิดฝาภาชนะที่บรรจุน้ำกิน หรือน้ำใช้ต่างๆ
สำหรับผู้ที่จะบริจาคโลหิต ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นผู้ที่ไม่มีอาการไข้ หรือผื่น ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ภายใน 4 สัปดาห์ก่อนบริจาคโลหิต
ไม่ได้อยู่ในครอบครัวเดียวกัน และ /หรือ ไม่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีอาการไข้หรือผื่น ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว อ่อนเพลีย ภายใน 4 สัปดาห์ก่อนบริจาคโลหิต
ไม่มีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาด ภายใน 4 สัปดาห์ก่อนบริจาคโลหิต
หลังจากบริจาคโลหิตแล้วมีอาการไข้ หรือผื่น ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หลังจากบริจาคโลหิตแล้วภายใน 2 สัปดาห์ ต้องรีบแจ้งกลับมายังศูนย์บริจาคโลหิต
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด
ผู้เดินทางระมัดระวังป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด และใช้ยาทาป้องกันยุงกัด
หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง การเดินทางไปยังประเทศที่มีรายงาน
การระบาด หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ และระมัดระวังไม่ให้ถูกยุงกัด