Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไข้ปวดข้อยุงลาย Chikungunya - Coggle Diagram
ไข้ปวดข้อยุงลาย Chikungunya
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
เป็นโรคติดต่อนำโดยยุงลายมีรายงานการระบาดครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศแทนซาเนียในทวีปแอฟริกาในปีพ.ศ.2495 เกิดจากเชื้อไวรัส Chikungunyavirus (ย่อว่า CHIK V) ซึ่งเป็นไวรัสในตระกูล Togaviridae
คำว่า ชิคุนกุนยา มาจากภาษาถิ่นอาฟริกา ที่หมายความถึงอาการบิดเบี้ยวของข้อ ทั้งนี้เพราะโรคนี้ มีอาการสำคัญ คือ ข้อบวม และข้ออักเสบ จนเกิดการผิดรูป
ชิคุนกุนยาไวรัส เป็นไวรัสชนิดมีแมลงเป็นพาหะโรค (Arbovirus) โดยรังโรค คือ ลิง หนู นก และอาจเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสัตว์อะไรอีกบ้าง แต่ในช่วงมีการระบาดของโรค รังโรค คือ คน
เป็นโรคพบได้ในทุกทวีป ทั้ง แอฟริกา เอเชีย ยุโรป และ อเมริกา ในเอเชียพบได้บ่อยใน อินเดีย และในประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย
ในประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2501 ที่กรุงเทพมหานคร แยกเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้จากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเด็ก ต่อมายังพบผู้ป่วยเด็กบ้างบางราย พบมีการระบาดได้บ่อยในภาคใต้
การแพร่ติดต่อโรค
ยุงลายบ้าน Aedes aegypti ซึ่งมักเป็นสาเหตุการระบาดในเขต
เมือง ส่วนในเขตอบอุ่นและเขตหนาวมักเกิดจากยุงลายสวน Aedes albopictus ซึ่งมักเป็นสาเหตุของโรคในเขตชนบท
เนื่องจากเป็นโรคเกิดจากยุงลายชนิดเดียวกันเป็นพาหะ จึงพบทั้ง 2 โรค พร้อมๆกันได้ ซึ่งอาการของโรคทั้ง 2 ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย แต่โรคไข้เลือดออกมักจะรุนแรงกว่า ดังนั้นบ่อยครั้งจึงไม่มีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลาย แต่วินิจฉัยว่าเป็นเพียงโรคเดียว คือโรคไข้เลือดออก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความชุกที่แท้จริงของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จึงยังไม่แน่ชัด
ระยะฟักตัวของโรค
2-12 วัน (โดยทั่วไป 4-7 วัน)
อาการของโรค
ไข้เฉียบพลัน (มักมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส แต่บางรายก็เป็นไข้ต่ำได้)
ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ (ซึ่งอาจเป็นหลายข้อ ทั้ง 2ข้าง) ข้อบวมแดงอักเสบและเจ็บ
หลังจากนั้นจะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา (คล้ายในไข้เดงกี่) มักไม่คัน หรือ อาจมีผื่นขึ้นที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
ไข้อาจจะหายในระยะนี้ (ระยะ 2-3 วันหลังเริ่มป่วย) ผื่นนี้จะลอกเป็นขุยและหายได้เองภายใน 7-10 วัน
พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตได้บ่อย
อาการปวดข้อจะหายภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานหลายสัปดาห์ และบางรายอาจเป็นเรื้อรังอยู่หลายเดือนได้
อาจมีอาการแทรกซ้อนไม่รุนแรงที่ตา ระบบประสาท หัวใจ และทางเดินอาหาร
ผู้ติดเชื้อบางส่วนมีอาการอ่อนๆ แต่ในผู้สูงอายุอาการอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรค
Enzyme-linked immunosorbent assays
(ELISA) เพื่อตรวจหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG ต่อเชื้อ genus Alphavirus ซึ่งระดับ IgM มักจะสูงสุดช่วง 3-5 สัปดาห์หลังเริ่มป่วยและคงอยู่นานประมาณ 2 เดือน
แยกเชื้อไวรัสจากเลือดผู้ป่วยระยะเริ่มมีอาการในช่วง 2-3 วันได้ โดยการเพาะเชื้อในลูกหนูไมซ์แรกเกิด ในยุง หรือในเซลล์เพาะเลี้ยง
RT-PCR (Reverse transcriptase–polymerase
chain reaction) มีการใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน
การรักษา
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
ห้ามกินยาแอสไพริน รวมถึง NSAID อื่น เช่น Ibuprofen เนื่องจากอาจทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น
เช็ดตัวด้วยน้ำสะอาดเป็นระยะเพื่อช่วยลดไข้ รวมทั้งให้ผู้ป่วยดื่มน้ำและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
มาตรการป้องกันโรค
สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และให้สุขศึกษาแก่ชุมชน
สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน เพื่อประเมินความชุกชุมของยุงพาหะ จำแนกชนิดของแหล่งเพาะพันธุ์์ และเพื่อแนะนำวิธีการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลายแก่ประชาชน เช่น
ปิดฝาโอ่ง
เปลี่ยนน้ำในจานรองขาตู้ แจกัน ฯลฯ ทุก ๆ 7 วัน
ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างบัว ขัดด้านในภาชนะที่อาจมีไข่ยุงติดอยู่ คว่ำกะลา กวาดเก็บใบไม้ (ตามพื้น หลังคาบ้าน ท่อน้ำฝน ฯลฯ) กำจัดยางรถยนต์เก่า หรือนำไปแปรสภาพและใช้ประโยชน์ ฯลฯ
การป้องกันยุงกัด
นอนในห้องมุ้งลวด หรือนอนกางมุ้ง
เปิดพัดลม
การใช้ยากันยุง ยาทากันยุง ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง
ในเวลากลางวันและโพล้เพล้ อย่าอยู่ในบริเวณที่มืด อับชื้น อับลม เพราะยุงลายมักออกหากิน
มาตรการควบคุมการระบาด
สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันตามความเหมาะสม เช่น
การปกปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
การหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำ (เช่น ทุก ๆ 7 วัน)
การใส่ปลากินลูกน้ำ
การใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำ เป็นต้น
ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแบบพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละออง เพื่อช่วยลดความชุกชุมของยุง โดยต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
แนะนำประชาชนให้ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
แนะนำประชาชนในครัวเรือนที่มีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในบ้าน ต้องให้ผู้ป่วยนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายไปกัดและแพร่เชื้อได้ ซึ่งเชื้อโรคนี้จะแพร่ขณะที่มีไข้สูง (ในระยะ 2-3วันหลังเริ่มป่วย)