Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CA Sigmoid colon with lung with liver metastasis - Coggle Diagram
CA Sigmoid colon with lung with liver metastasis
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ อายุ79ปี เตียง8 เชื้อชาติไทย
สัญชาติไทย สถานะภาพสมรส รูปร่างสมส่วน ผิวสีคล้ำ
on oxigen cannula 3lmp หายใจเหนื่อยหอบ
สีหน้าไม่สุขสบาย มีแผลกดทับเกรด2 ที่ก้นทั้งสองข้าง
รับรู้วันเวลาสถานที่และบุคคล
รับไว้ในโรงพยาบาลวันที่06/08/2565
รับไว้ในความดูแลของนักศึกษาวันที่08/08/2565
อาการสำคัญ
CC:หายใจเหนื่อยมากขึ้น 5hr.
PTA PI:5hr. PTA หายใจเหนื่อยมากขึ้นขณะอยู่เฉยๆ
ไม่มีเจ็บหน้าอก นอนราบได้ ไม่มีไข้ ทาอาหารได้เล็กน้อย
Underlying disease
-CA Cervix
-HT
CA sigmoid colon มะเร็งลำไส้ส่วนปลาย
สาเหตุ
ประวัติรับประทานอาหารไขมันและโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์สูง แต่รับประทาน อาหารที่มีกากใยน้อยเป็นประจำ ทำให้มีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นาน ชอบดื่มสุรา เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบบ่อยๆ ได้รับการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน ครอบครัว มีประวัติเป็นเนื้องอกชนิด Familial adenomatous polyposis มักพบในคนที่ มีอายุมากกว่า 85 ปี มีมะเร็งของ Endometrial, Ovarian หรือเต้านม (ในหญิง) มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นโรคกลุ่ม Inflammatory bowel disease ได้แก่ Ulcerative colitis, Crohn's disease การออกกำลัง กายจะช่วยให้มีความเสี่ยงน้อย การดื่มสุราร่วมกับการสูบบุหรี่ จะทำให้มีความ เสี่ยงสูงขึ้น
พยาธิสรีรภาพ
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นชนิด Adenocarcinoma มากกว่าชนิดอื่น อาจเริ่มด้วย ติ่งเนื้อชนิดไม่ใช่เนื้อร้าย (Benign polyp) แต่อาจกลายเป็นเนื้อร้าย (Malignant) มะเร็งลำไส้มีขนาดโต ลุกลามเป็นวงแหวนและทำลายเนื้อเยื่อปกติรอบๆ ลำไส้ ใหญ่ ทำให้ลำไส้อุดตันได้เร็ว ที่ผิวอาจเป็นแผล ก้อนมะเร็งเบียดทางออกของ อุจจาระ ก้อนอุจจาระจะเป็นลำลีบเล็กลงเหมือนแท่งดินสอ ไม่มีผายลม ปวดท้อง รุนแรงเหมือนลำไส้ถูกบิด อาจมีอาการปวดเบ่ง และอาจมีอาการท้องผูกสลับกับ ท้องเดิน ถ่ายไม่เป็นเวลาเนื่องจากบางส่วนของลำไส้มีการอุดกั้น อาจมีอุจจาระ เป็นเลือด มีมูกปนเลือด ก้อนเนื้อยิ่งโตมากเท่าไรจะมีการขับถ่ายยากขึ้น หรืออาจ ถ่ายไม่ออกเลย ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นอึดอัดท้องมาก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เนื่อง จากการเสียเลือด เซลล์มะเร็งอาจจะแพร่กระจายจากเนื้องอกและไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ง่าย เช่น ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด ต่อมน้ำเหลือง กระแส เลือด และกระจายเข้าช่องท้อง อวัยวะที่พบมากที่สุด คือ ตับ
อาการ
ซีด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีเลือดออกทางทวารหนัก ท้องผูกสลับ กับท้องเดิน ลักษณะอุจจาระเล็กกว่าปกติคล้ายแท่งดินสอ อุจจาระอาจมีสีคล้ำ ดำแดง แดงสด อาจมีมูกปน หากเป็นมะเร็งที่ปากทวาร มักถ่ายเป็นเลือด สีแดงสด คลำได้ก้อนในช่องท้อง ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกปวดเบ่งตลอดเวลาหรือรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด และยังมีการลุกลามไปยังตำแหน่งต่างๆ
การรักษา
รักษาโดยการผ่าตัด โดยตัดเอาก้อนมะเร็งออก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน และ ระงับอาการ ติดต่อมน้ำเหลืองและบริเวณใกล้เคียงออก หากไม่สามารถตัดมะเร็ง ออกได้ จะรักษาโดยการทําโคลอสโตมีย์ (Colostomy) ซึ่งเป็นการผ่าตัดเปิด ลำาไสให้อุจจาระออกทางหน้าท้อง หรือรักษาตามอาการ เช่น ให้เลือดเพื่อทดแทน การเสียเลือด ให้ยาแก้ปวด ยาเคมีบำบัดเพื่อให้เนื้องอกยุบลง เป็นต้น
การพยาบาล การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดแผลเปื่อย รอบๆ ช่องเปิดลำไส้ ส่งเสริมการปรับตัวและให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลำไส้บีบตัวเพิ่มขึ้น (เช่น มะขาม สับปะรด เป็นต้น) อาหาร รสจัด สะตอ น้ำอัดลม ของหมักดอง เป็นต้น แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานผัก ผลไม้ รับประทานอาหารเป็นเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และดื่มน้ำให้เพียงพอ
ผู้ป่วยรายนี้มีอาการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัวญาติNR ปฏิเสธการรักษา
CA lung มะเร็งปอด
ความหมาย เนื้องอกหรือเนื้อร้ายของปอด
สาเหตุ มะเร็งปอด
เกิดจาก 1) การสูบบุหรี่มากกว่า 20 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 4 โอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 18-24 เท่า ผู้สูบบุหรี่มากจะตาย จากโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้สูบบุหรี่น้อย ภรรยาที่ไม่สูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่มี ความเสี่ยงจะเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าภรรยาที่ไม่สูบบุหรี่ของผู้ไม่สูบบุหรี่ ประมาณ 2-3 เท่า อัตราตายของโรคมะเร็งปอดในผู้ชายสูบบุหรี่จะเป็น 2 เท่าของผู้ชายไม่สูบบุหรี่ ส่วนผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะตายมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 67
2) การสัมผัสสารพิษในอุตสาหกรรม เช่น อาร์เซนิก (Arsenic) ยูเรเนียม (Uranium) แอสเบสตอส (Asbestos) โครเมียม (Chromium) แคดเมียม (Cadmium) น้ำมันดิน (Tars) เป็นต้น ผู้สัมผัสสารพิษและสูบบุหรี่ร่วมด้วย จะมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดสูงขึ้น
พยาธิสรีรภาพ
ส่วนใหญ่จะพบโรคมะเร็งปอดในหลอดลม (Bronchi) จึงอาจเรียกว่า Bronchogenic carcinoma มะเร็งปอดเกิดจากการได้รับการกระตุ้นจาก สารก่อมะเร็ง เช่น สารที่ก่อความระคายเคืองในควันยาสูบ เป็นต้น ทำให้เกิด การอักเสบระคายเคืองของเนื้อเยื่อซ้ำๆ จนดีเอ็นเอของเซลล์ในทางเดินหายใจ ถูกทำลาย ทำให้เซลล์เจริญอย่างไม่เป็นระเบียบ มีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นเป็น จำนวนมาก หากเกิดที่หลอดลมใหญ่ก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่จะอุดตันหลอดลม และแพร่กระจายไปยังผนังหลอดลม เนื้อปอด ขั้วปอด และต่อมน้ำเหลือง พยาธิสรีรภาพ ช่องทรวงอก
อาการ มีอาการไอหรือไอเป็นเลือด หายใจลำบาก หายใจตื้น มีเสียงผิดปกติที่ปอด ข้างเดียว อาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือหายใจลึกๆ อาจมีอาการ ปวดไหล่ แขน หรืออก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บวมที่หน้า คอ มีอาการเหนื่อย มีนิ้วปุ่ม ในระยะท้ายๆ จะมีน้ำหนักลด หากมะเร็งกระจายไปที่สมองจะมีความ ดันในสมองสูง ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด เดินเซ อ่อนแรง ชัก หากมะเร็ง แพร่กระจายไปในช่องอกจะกดหลอดอาหาร กลืนลำบาก เสียงแหบ ทางเดิน หายใจอุดตัน อาจเกิดภาวะหายใจล้มเหลว
การพยาบาล
ลดความไม่สุขสบาย ลดความวิตกกังวลและความกลัว ป้องกันการพร่องออกซิเจน ส่งเสริมให้ได้รับสารอาหารและน้ำเพียงพอ และป้องกันภาวะเสียสมดุลน้ำและอิเล็กโตรไลต์
ผู้ป่วยรายนี้ อ่อนแรง มีอาการไอเพิ่มขึ้น หายใจลำบาก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์ทำการรักษาโดยเจาะปอด
ON Lef ICD Number 24 2ขวด วันที่09/08/2565
ยาแก้ไอและละลายเสมหะให้เป็น Bromhexine Flumucil
on oxigen cannula 3lmp
CA liver มะเร็งตับ
สาเหตุ มีความสำพันธ์กับโรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี อัฟลาทอกซิน และแอลกอฮอล์
ความหมาย เป็นโรคมะเร็งที่มีจุดกำเนิดในเซลล์ตับ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นก้อน อาจมีก้อนเดี่ยวหรือหลายๆก้อนกระจายไปทั่ว
พยาธิสรีระภาพ เซลล์มะเร็งตับจะมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ตับปกติ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมี ลักษณะคล้ายนิ้วมือ ระหว่างแถวของเซลล์จะมีเส้นเลือดฝอยค่อนข้างมาก เซลล์ มะเร็งจะอยู่ล้อมรอบหลอดเลือด เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนขึ้นแย่งอาหารและ ออกซิเจนจากเซลล์ปกติ ทำให้ก้อนมะเร็งตับมีขนาดใหญ่ขึ้นตับจึงโต เซลล์มะเร็ง จะกดเชลล์ปกติที่อยู่รอบๆ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ นอกจากนั้นยังมีการแพร่ กระจายแทรกเข้าไปในเส้นเลือดของตับ ทำให้เซลล์ปกติขาดเลือดและเกิดการตาย ของเนื้อเยื่อและมีเลือดออก เซลล์มะเร็งจะมีการแพร่กระจายแทรกไปยังบริเวณรอบๆ ตับ เช่น ถุงน้ำดี เยื่อบุช่องท้อง กะบังลม เป็นต้น ทำให้การทำงานของอวัยวะ ดังกล่าวผิดปกติ อาจลุกลามไปยังปอด ต่อมหมวกไต ม้าม กระดูกสันหลัง ได รังไข่ ตับอ่อน ลักษณะของก้อนมะเร็ง จะมีแบบหลายก้อน ก้อนเดียว เป็นก้อนนูน เป็นเฉพาะบางกลีบ เป็นทุกส่วนของตับ หรือเป็นแบบแพร่กระจายไปทั่ว การเติบโตของ เซลล์มะเร็งตับจะรวดเร็ว มักไม่พบอาการทำให้มีชีวิตไม่ยืนยาวหลังการวินิจฉัยโรค
อาการ ระยะแรกมักจะไม่พบอาการ ต่อมาจะพบก้อนหรือปวดท้อง จุกแน่น ท้องอืด เบื่อ อาหาร น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย เริ่มมีอาการเหลือง คลำดับได้เป็นก้อนแข็ง มี เลือดออก ซีด มีน้ำในช่องท้อง อาจมีอาการตับแข็งและตับวายร่วมด้วย การตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ เจาะเลือดพบค่า Bilirubin และ Alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
การพยาบาล ลดความไม่สุขสบาย ส่งเสริมการดูแลตนเอง ลดความวิตกกังวล ความกลัว และ ความเศร้าเสียใจ ดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำเพียงพอ ป้องกันภาวะเสียสมดุล น้ำและอิเล็กโทรไลต์ ป้องกันการติดเชื้อและเลือดออก ให้ไอ หายใจลึกๆ และเปลี่ยน ท่าบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ปอดและการไหลเวียน หากมีการผ่าตัดต้อง ดูแลท่อที่ต่อจากทรวงอกด้วย
ผู้ป่วยรายนี้ ญาติNR ปฏิเสธการรักษา
CA Metastasis การแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic cancer) หมายถึง มะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นในร่างกายรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณที่ไกลจากมะเร็งปฐมภูมิ ซึ่งเซลล์มะเร็งมักไปยังส่วนอื่นทางกระแสเลือด หรือทางเดินน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยมะเร็งที่สามารถแพร่กระจายได้นั้น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ การออกจากก้อนมะเร็งปฐมภูมิและเข้าสู่กระแสเลือดหรือทางเดินน้ำเหลืองเพื่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย จากนั้นเซลล์มะเร็งจะแนบติดกับผนังของหลอดเลือดหรือท่อน้ำเหลืองเพื่อผ่านไปยังอวัยวะอื่น ซึ่งเป็นที่ที่มะเร็งจะเจริญเติบโตขึ้นได้ในที่สุดจึงได้มีความพยายามคิดค้นวิธีที่จะยับยั้งกระบวนการเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ขึ้น
อวัยวะที่มักพบการแพร่กระจายของมะเร็ง ได้แก่ ปอด กระดูก ตับ และสมอง ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดมักมีลักษณะของการแพร่กระจายแตกต่างกันออกไป จากการศึกษาพบว่ามีสารพันธุกรรมหรือสารบางอย่างบนผิวของเซลล์มะเร็งที่เป็นตัวกำหนดว่าเซลล์มะเร็งนั้นจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะใด เช่น มะเร็งปอดมักแพร่กระจายไปที่สมองหรือกระดูกมะเร็งลำไส้ใหญ่มักแพร่กระจายไปที่ตับ มะเร็งต่อมลูกหมากมักแพร่กระจายไปที่กระดูก และมะเร็งเต้านมมักแพร่กระจายไปที่กระดูก ปอด ตับ และสมอง